การพัฒนาในอนาคต ของ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก

อนาคตของจานสายอากาศในเครือข่ายอวกาศห้วงลึกไม่ใช้การเพิ่มขนาดของจานสานอากาศให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หากแต่เป็นการเครือข่ายอาร์เรย์ของจานสายอากาศขนาดเล็กแทน แต่การเพิ่มความถี่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญอยู่

การทำเครือข่ายอาร์เรย์

ในอนาคตมีการวางแผนที่จะสร้างเครือข่ายอาร์เรย์จานสายอากาศขนาด 12 เมตรจำนวน 400 จุดลงบนสถานีทั้งสามแห่ง โดยใช้ย่านความถี่ X-Band และ Ka-Band เป้าหมายเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากกว่าเครือข่ายในปัจจุบันกว่า 10 เท่าตัว[21]

การสื่อสารทางแสง

นอกจากเป้าหมายในการเพิ่มความถี่ใช้งานของเครือข่ายแล้ว เป้าหมายต่อไปคือการใช้งานที่ความถี่แสง (optical frequency) โดยเมื่อเทียบกับย่าน Ka-Band แล้ว ความแรงของสัญญาณที่ได้จากคลื่นแสงที่ความยาวคลื่น 1 ไมโครเมตร จะมีค่ามากกว่า 1,000 เท่า เนื่องจากการกระจายของสัญญาณที่น้อยกว่า ทำให้สามารถออกแบบจานส่งสัญญาณที่จะติดตั้งบนยานอวกาศได้ขนาดเล็กลง

ปัญหาของสัญญารบกวนเนื่องจากชั้นบรรยากาศของโลกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ มีการเสนอให้ติดตั้งรับเลเซอร์ไว้บนวงโคจรโลกเพื่อทำการสื่อสารกับยานอวกาศ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก นอกจากนี้ปัญหาอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เช่น กำลังของเลเซอร์ ความแม่นยำ การมอดูเลตที่เหมาะสมและการตรวจสอบสัญญาณ ขั้นตอนในการส่งสัญญาณใหม่ในกรณีที่มีการถูกปิดกั้น และปัญหาด้านความปลอดภัยของการใช้เลเซอร์อีกด้วย [22]

ใกล้เคียง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือข่ายบิตคอยน์ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือเบทาโกร เครือข่ายไผ่ เครือจักรภพแห่งอังกฤษ เครือรัฐเอกราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครือข่ายอวกาศห้วงลึก http://archive.wikiwix.com/cache/?url=http://www.i... http://deepspace.jpl.nasa.gov/dsn/history/dsn43.ht... http://www.jpl.nasa.gov/news/fact_sheets/DSN-0203.... http://www.ioag.org/ioag6_nasajpl_dsn_status.pdf //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://eyes.nasa.gov/dsn/dsn.html https://deepspace.jpl.nasa.gov/