องค์ประกอบ ของ เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์

สมาชิกสามัญ

Knight Companion ในระหว่างการเดินสวนสนามไปยังวิหาร St George's Chapel สำหรับพิธีการ์เตอร์

จำนวนผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์นั้นจำกัดเพียงแค่พระมหากษัตริย์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และสำหรับผู้ได้รับพระราชทานอื่นๆ อีกไม่เกิน 24 สำรับ ซึ่งไม่รวมถึงสมาชิกประเภทพิเศษอีกจำนวนมาก โดยการพระราชทานนั้นขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย[5] โดยการออกพระนามสำหรับพระมหากษัตริย์นั้นจะเรียกว่า "Sovereign of the Garter" และเจ้าชายแห่งเวลส์เป็น "Royal Knight Companion of the Garter"[6]

ผู้ได้รับพระราชทานที่เป็นบุรุษจะเรียกว่า "Knights Companion" และสตรี "Ladies Companion" ในอดีต ธรรมเนียมการคัดเลือกผู้ได้รับพระราชทานนั้นจะมาจากการคัดเลือกตัวแทนจากสมาชิก โดยแต่ละสมาชิกจะเสนอชื่อจำนวนเก้าชื่อ โดยจะต้องมีผู้ที่ถือบรรดาศักดิ์เอิร์ลหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นบารอนหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน และผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน โดยพระมหากษัตริย์จะทรงเลือกเสนอชื่อจำนวนเท่าใดก็ได้เพื่อที่จะแทนตำแหน่งที่ว่างลง โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดในการเลือกผู้ที่จะพระราชทานให้ โดยมิจำเป็นจะต้องเลือกผู้ที่ได้รับเสียงมากที่สุดจากการเสนอชื่อ โดยการเสนอชื่อโดยสมาชิกนั้นกระทำครั้งสุดท้ายในปีค.ศ. 1860 และจากนั้นมาพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งโดยมิต้องมีการเสนอชื่อใดๆ โดยสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยเกณฑ์การพระราชทานนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรในปีค.ศ. 1953[7]:198

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์จะทรงเลือกผู้ได้รับพระราชทานโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยจากคำเสนอแนะของคณะรัฐบาล ในปีค.ศ. 1946 โดยการตกลงระหว่างคลีเมนต์ แอตลี นายกรัฐมนตรี และวินสตัน เชอร์ชิล ผู้นำฝ่ายค้าน ได้เสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดแต่เพียงพระองค์เดียวในการเลือกผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินที่มีลำดับเกียรติสูงสุดอีกคราหนึ่ง[8] ซึ่งรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทริสเติล และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญแพทริก (พ้นสมัยพระราชทาน) ดังนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงเลือก Knights Companion และ Ladies Companion โดยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์เอง[9]

สมาชิกพิเศษ

จักรพรรดิไทโช ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์เต็มยศ สืบเนื่องจากการเป็นพันธมิตรระหว่างอังกฤษและญี่ปุ่น

สมาชิกพิเศษแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ ซึ่งไม่ได้ถูกนับรวมใน 24 สำรับของสมาชิกสามัญ โดยผู้ที่ได้รับพระราชทานสมาชิกพิเศษนั้นหากเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์ จะเรียกว่า "Royal Knights and Ladies of Garter" ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1786 ในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 เพื่อที่จะได้มีปริมาณเพียงพอสำหรับพระราชทานแก่พระราชโอรสของพระองค์ ต่อมาในปีค.ศ. 1805 ได้ทรงให้สร้างเพิ่มสำหรับพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์สายพระเจ้าจอร์จที่ 2 และต่อมาในปีค.ศ. 1831 ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างเพิ่มสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์สายพระเจ้าจอร์จที่ 1[10]

ภายหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชย์ของจักพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียในปีค.ศ. 1813 สมาชิกพิเศษได้ถูกสร้างขึ้นเพิ่มเติมเพื่อพระราชทานให้แก่พระราชวงศ์ต่างประเทศ โดยออกพระนามผู้ที่ได้รับพระราชทานว่า "Stranger Knights and Ladies of the Garter"[11] โดยปกติแล้วการแต่งตั้งสมาชิกต่างประเทศนั้น หากเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินตระกูลที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะถือว่าได้รับบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินกิตติมศักดิ์

ตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์แห่งยุโรปทุกพระองค์จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น "Stranger Knights and Ladies of the Garter" แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ ก็ไม่ได้รับพระราชทานต่อจากพระราชบิดา เช่นกันกับสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม และสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยี่ยมเพียงสองพระองค์ที่มิได้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ อนึ่ง ในเวลาเดียวกัน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ และพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งรับราชสมบัติต่อ โดยทั้งสองพระองค์ได้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ในขณะที่พระราชมารดายังทรงพระชนม์ เช่นเดียวกับกรณีของสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน และสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องบินขับไล่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เครื่องคิดเลข เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ http://www.cokethai.com/forum/viewtopic.php?f=95&t... http://www.heraldicsculptor.com/Garters.html http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3... http://www.oknation.net/blog/inter/2008/06/17/entr... http://www.stgeorges-windsor.org/about-st-georges/... http://www.dailymail.co.uk/news/article-1025841/Pr... http://www.royal.gov.uk/OutPut/Page3210.asp http://www.parliament.uk/commons/lib/research/note... https://web.archive.org/web/20061016235112/http://... https://web.archive.org/web/20070927222251/http://...