เคลฟเวอร์แฮนส์
เคลฟเวอร์แฮนส์

เคลฟเวอร์แฮนส์

เคลฟเวอร์แฮนส์ (อังกฤษ: Clever Hans) หรือ แดร์คลูเกอฮันส์ (เยอรมัน: der Kluge Hans)เป็นม้าพันธุ์รัสเซีย (Orlov Trotter) ตัวหนึ่ง ที่มีการอ้างว่า มันสามารถคิดเลขง่าย ๆ และแก้ปัญหาใช้สติปัญญาอื่น ๆ บางอย่างได้แต่ว่าหลังจากได้ทำการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบแล้วในปี ค.ศ. 1907 นักจิตวิทยาชาวเยอรมันออสคาร์ พฟุงสท์ ก็ได้แสดงหลักฐานว่า เจ้าม้าไม่ได้ทำงานทางสติปัญญาเหล่านั้นได้จริง ๆ คือ มันเพียงแต่สังเกตปฏิกิริยาของพวกมนุษย์ที่กำลังดูมันทำงานอยู่เท่านั้น เพราะการตรวจสอบม้า พฟุงสท์จึงได้ค้นพบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุระเบียบวิธีวิจัย คือเจ้าม้ามีการตอบสนองต่อปฏิกิริยาที่ไม่ได้ตั้งใจ (และควบคุมไม่ได้) ของมนุษย์ที่เป็นคนฝึกม้า ที่จริง ๆ แล้วเป็นผู้แก้ปัญหาที่ต้องใช้สมองเหล่านี้ และตัวผู้ฝึกเองก็ไม่รู้จริง ๆ ว่า ตัวเองกำลังให้คำตอบแก่ม้า[1] ตั้งแต่นั้นมา เพื่อให้เกียรติกับงานของพฟุงสท์ ปรากฏการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้ก็ได้ชื่อว่า "ปรากฏการณ์เคลฟเวอร์แฮนส์" (อังกฤษ: Clever Hans effect) และได้กลายเป็นความรู้ความเข้าใจที่สำคัญ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ความคาดหมายของผู้สังเกตการณ์ (observer-expectancy effect) และต่องานวิจัยอื่น ๆ เกี่ยวกับประชานของสัตว์ นอกจากพฟุงสท์แล้ว นักปราชญ์และนักจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้มีชื่อเสียงคือคาร์ล ชตุมพฟ์ยังได้ทำงานศึกษาเกี่ยวกับม้าตัวนี้ด้วย คือชตุมพฟ์ได้สังเกตเห็นเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์เกี่ยวกับเจ้าม้า ซึ่งมีอิทธิพลต่องานทางปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) ของเขา