ความเห็นของนักวิชาการในการกำหนดอายุเวลาของเจดีย์จุลประโทน ของ เจดีย์จุลประโทน

ความเห็นของ พิริยะ ไกรฤกษ์

ภาพเล่าเรื่องทั้งหมดที่เจดีย์จุลประโทนนี้สร้างขึ้นพร้อมกัน ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง กลางพุทธศตวรรษที่ 13 หรือ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ภาพเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณคดีในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า “อวทาน” ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการกระทำอันรุ่งโรจน์และกล้าหาญ ของพระพุทธองค์และพระสาวกบางองค์ ที่เคยปฏิบัติในอดีตชาติ ในนิกายสรรวาสติวาท ซึ่งเป็นลัทธิหินยานที่ใช้ภาษาสันสกฤต

ความเห็นของ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล

หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล มีความเห็นด้วยหลายประการกับ พิริยะ ไกรฤกษ์ ในส่วนของการตีความหมายของรูปภาพ แต่มีบางประการที่ไม่เห็นด้วย คือ ให้ความเห็นว่าในช่วงการสร้างผลงานทางศิลปกรรมในขณะนั้น ที่เจดีย์จุลประโทนประชาชนส่วนใหญ่อาจจะนับถือพุทธศาสนาลัทธิหีนยาน นิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี แต่ก็มีการใช้ภาษาสันสกฤตสำหรับทางราชการและในศาสนาพราหมณ์ โดยที่อาจจะมีการหยิบยืมเรื่องราวในการสร้างภาพมาจากคัมภีร์อวทานของนิกายมูลสรรวาสติวาท รวมทั้งยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าไม่จำเป็นต้องมีพุทธศาสนาลัทธิหินยาน นิกายมูลสรรวาสติวาทที่ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่ที่นครปฐม เหมือนกับที่ประเทศอินโดนีเซียก็เป็นได้ เพราะจารึกที่พบส่วนใหญ่ในจังหวัดนครปฐมนั้นก็เป็นภาษาบาลีมากกว่าภาษาสันสกฤต

ความเห็นของ นันทนา ชุติวงศ์

พระพุทธศาสนานิกายต่างๆ ในอินเดีย ได้ร่วมกันใช้นิทานเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของลัทธิของตนมาแต่โบราณ ส่วนพุทธศาสนนิทานที่พบที่จุลประโทนนั้น สมควรอย่างยิ่งที่จะเรียกว่า “ชาดก” โดยที่ทุกเรื่องเป็นเรื่องพระอดีตชาติขององค์พระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี มิใช่เรื่องราวของผู้อื่นนอกเหนือไปจากของพระองค์ ถึงแม้ว่าเรื่องเหล่านี้จะมีแพร่หลายอยู่ในวรรณคดีที่เรียกตัวเองว่า “อวทาน”

ความเห็นอื่นๆ

ความเห็นของ พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่แสดงหลักฐานอ้างอิงในการอธิบายภาพที่เป็นลายละเอียดเล็กๆ ที่ผู้ที่ให้ความสนใจท่านอื่นได้มองข้ามไป คือตรงจุดที่มีการกล่าวถึงการใช้สีตัดเส้นในการสร้างภาพของนิกายมูลสรรวาสติวาทที่เป็นลักษณะเด่นเฉพาะโดยที่ใช้สีตัดเส้นเป็นสีแดงที่บริเวณสถูป ซึ่งปรากฏ ที่ถ้ำอชัญฏา ประเทศอินเดีย

การตีความของภาพโดยใช้หลักการของประติมานิรมานวิทยา และวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆของตัวงานเพื่อเป็นการแยกแยะส่วนประกอบต่างๆเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบที่น่าพึงพอใจ แม้ว่าอาจจะมีความขัดแย้งในทางทฤษฎีกับนักวิชาการบางท่านที่เคยแสดงความคิดเห็นไว้ก่อนหน้านี้ในบทความต่างๆก็ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญเพื่อที่จะเป็นการชี้แนะแนวทางที่มีประโยชน์ในการหาข้อมูลมาอ้างอิง รวมทั้งการใช้ข้อเสนอคิดเห็นส่วนตัวที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้คตินิยมของทิศคชะ รองรับสถูปที่มุมทั้งสี่ที่ ได้รับความนิยม ในแคว้นคันธาระ ประเทศอินเดีย

การกำหนดอายุเวลาการสร้างในระยะแรกของเจดีย์จุลประโทนนั้นได้กำหนดจากกการเปรียบเทียบลักษณะทางสถาปัตยกรรมระหว่างที่เจดีย์จุลประโทนกับปราสาทสมโบร์ไพรกุกที่ประเทศเขมร โดยอาศัยการเปรียบเทียบจากลักษณะเฉพาะของบริเวณฐานหน้าท้องไม้เหนือฐานปัทม์บัวลูกแก้วของทั้ง 2 แห่ง และปรากฏว่าลักษณะของบริเวณฐานปัทม์หน้าท้องไม้ของทั้ง 2 สถานที่นั้นมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน จึงพอจะสรุปได้ว่า เจดีย์จุลประโทน ที่จังหวัดนครปฐม และที่ปราสาทสมโบร์ไพรกุก ที่ประเทศเขมร นั้นมีรูปแบบทางศิลปกรรมในการก่อสร้างที่น่าจะอยู่ในยุคสมัยเดียวกันคือในช่วง พุทธศตวรรษที่ 10 – 11

อีกส่วนหนึ่งในการเปรียบเทียบลักษณะทางศิลปกรรมสมัยที่ 1 เจดีย์จุลประโทนจากการศึกษาในครั้งนี้ ได้ข้อสังเกตจากบริเวณฐานที่มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับตัวมกรของที่สมโบร์ไพรกุกรุ่นถาลาบริวัตสมัยแรกน่าจะสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 12 เพราะเปรียบเทียบจาก ตัวมกรที่ประดับมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้เทียบได้กับ ทับหลังถาราบริวัต สมัยสมโบร์ไพรกุก

ต่อมาในช่วงสมัยที่ 2 ก็ไม่น่าเป็นลัทธิมหายานในช่วงที่ 2 ปลายพุทธศตวรรษ 12 เพราะเทียบได้กับ ลวดลายก้านต่อดอก ที่ปราสาทเขาน้อย จังหวัดสระแก้ว สมัยสมโบร์ไพรกุกตอนปลาย หรือ ตอนต้นศิลปะแบบไพรกะเม็ง ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ 12 ต้นพุทธศตวรรษ 13 อายุเวลาของทั้ง 2 สมัย ระหว่าง 1,2 นั้นไม่น่าจะกินเวลา เกิน 25 ปี

เจดีย์จุลประโทนจึงน่าจะมีพื้นฐานการสร้างหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากพุทธศาสนานิกาย มูลสรรวาสติวาท อันดับแรกในการเห็นด้วยกับแนวคิดของ พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่ให้อธิบายไว้ในหนังสือพุทธศาสนนิทานเจดีย์จุลประโทน ว่าเทคนิคที่ใช้ในการตกแต่ง ของนิกายมูลสรรวาสติวาทนี้จะนิยมใช้สีแดงในการตัดเส้นที่สถูป ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับภาพจิตรกรรมในฝาผนังถ้ำ อชัญฎา ประเทศอินเดีย ก็ปรากฏว่าเทคนิคที่ใช้ในลักษณะนี้ก็มีการนำมาใช้ที่เจดีย์จุลประโทนซึ่งจากหลักฐานชั้นต้นดังกล่าวที่ได้กล่าวมานี้ จึงสามารถที่จะพอสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวนี้ โดยที่ไม่มีลักษณะเทคนิคในการก่อสร้างที่คล้ายคลึงกัน[16]