พระประวัติ ของ เจ้าจอมนรินทร์

ชาติภูมิ

เจ้าจอมนรินทร์เดิมนามว่า ท้าวทองคำ บิดาตั้งนามให้พร้องกับนามบิดา บรรพบุรุษเป็นลาวเวียงจันทน์ กำเนิดที่นครหลวงเวียงจันทน์ราวสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ (สมเด็จพระเจ้าสิริบุนสาน, ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) แห่งนครหลวงเวียงจันทน์ เป็นบุตรพระนรินทรสงคราม (ท้าวจารย์คำ) เจ้าเมืองสี่มุมองค์แรกและอดีตกวานบ้านนารายณ์ บิดาอพยพไพร่พลตั้งรกรากที่บ้านนารายณ์ ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ท้าวจารย์คำจึงติดตามบิดามาด้วย[2]

ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสี่มุม

หลังสยามเสียอยุธยาแก่พม่า พระยาตากตั้งตนเป็นเจ้าเมืองธนบุรียกทัพปราบก๊กเจ้าพิมาย (เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์) ซึ่งร่วมมือกับกรมหมื่นเทพพิพิธราชวงศ์จากอยุธยาสถาปนาพิมายเป็นราชธานีใหม่ ท้าวจารย์คำบิดาและราษฎรบ้านนารายณ์ถูกบังคับให้สวามิภักดิ์ต่อพระยาตากและเกณฑ์ราษฎรบ้านนารายณ์ตีด่านจอหอแตก พระยาตากเห็นท้าวจารย์คำฝีมือรบดีมีวิชาความรู้ เมื่อปราบก๊กเจ้าพิมายสำเร็จจึงแต่งตั้งยศเป็นพระนรินทรสงครามเจ้าเมืองสี่มุมองค์แรกขึ้นเมืองนครราชสีมา แต่ปัจจุบันถูกลดฐานะเป็นบ้านสี่มุมในตำบลพลกรัง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พระนรินทร์สงคราม (จารย์คำ) มีบุตรคือท้าวทองคำเป็นคนมีความรู้เฉลียวฉลาดเช่นบิดาและเป็นกำลังสำคัญช่วยราชการงานเมืองปราบโจรผู้ร้าย เมื่อบิดาอนิจกรรมเวียงจันทน์จึงแต่งตั้งเป็น พระนรินทรสงคราม เจ้าเมืองสี่มุมองค์ที่ ๒ ต่อมาพระนรินทรสงคราม (ทองคำ) เห็นว่าชัยภูมิเมืองไม่เหมาะขยายเป็นเมืองใหญ่จึงปรึกษากรมการเมืองย้ายที่ตั้งห่างจากเมืองเดิมราว ๔๐ กม.[3]

เลื่อนเป็นพระยาและแม่ทัพใหญ่

พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์แห่งนครหลวงเวียงจันทน์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๔๗-๗๑) ชักชวนเจ้าเมืองหัวเมืองลาวฝั่งขวาร่วมทัพต่อต้านอำนาจปกครองสยาม พระนรินทรสงคราม (ทองคำ) เข้าร่วมสนับสนุนเต็มที่เนื่องจากเป็นลาวด้วยกัน จึงเลื่อนยศสูงขึ้นเป็น พระยานรินทรสงคราม กินตำแหน่งเจ้าเมืองหนองบัวลุ่มภูและแม่ทัพใหญ่รักษาค่ายหนองบัวลุ่มภู ทัพลาวกวาดต้อนครัวลาวที่ถูกสยามกวาดต้อนจากนครหลวงเวียงจันทน์แต่สมัยธนบุรีใน พ.ศ. ๒๓๒๑ ให้มาตั้งรกรากที่เมืองสระบุรี นครราชสีมา และหัวเมืองเมืองใกล้เคียงกลับคืนไปฝั่งซ้ายน้ำโขง เมื่อสยามทราบข่าวจึงยกทัพตามไป ลาวถอยทัพตั้งรับ ๒ พื้นที่ ได้แก่

๑. พื้นที่หลักคือบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบันโดยตั้งค่ายหลัก ๔ แห่งคือ ค่ายหนองบัวลุ่มภูมีพระยานรินทรสงคราม (ทองคำ) เป็นแม่ทัพ กำลังทหาร ๓,๐๐๐ นาย ค่ายช่องข้าวสารเจ้าอนุวงศ์ควบคุมด้วยพระองค์เอง กำลังทหาร ๒๐,๐๐๐ นาย ค่ายตำบลสนม (ต่อมาตั้งเป็นเมืองนครสนม) พระยาเชียงสาเป็นแม่ทัพ กำลังทหาร ๕,๐๐๐ นาย และค่ายซ่องงัวแตก (ช่องวัวแตก) นายกองคำเป็นแม่ทัพ กำลังทหาร ๔,๐๐๐ นาย รวมพื้นที่หลักมีกำลัง ๓๒,๐๐๐ คน

๒. พื้นที่รองคือพื้นที่ปีกขวาหรือลุ่มน้ำป่าสัก ตั้งทัพอยู่เมืองหล่ม (หล่มศักดิ์) สมเด็จเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) พระราชโอรสเป็นแม่ทัพใหญ่ พื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนล่างมี ๒ ค่ายคือ ค่ายเมืองร้อยเอ็ดและค่ายเวียงคุก เมืองยโสธร พื้นที่ลุ่มน้ำมูลเดิมมี ๓ ค่ายคือ ค่ายนอกเมืองโคราช (นครราชสีมา) ค่ายมูลเค็งเมืองพิมาย และค่ายเมืองสุวรรณภูมิ ภายหลังเจ้าอนุวงศ์ถอนกำลังกลับจึงโปรดฯ ให้เผาค่ายนี้

เมื่อทัพสยามทราบว่ากองทัพนครหลวงเวียงจันทน์ถอยจากสระบุรีและนครราชสีมา จึงเริ่มแผนโจมตีโดยแบ่งกำลังเป็น ๓ ทัพ กองทัพหลวงประชุมตั้งที่ท่าเรือพระพุทธบาทเมืองสระบุรีแล้วเดินทัพผ่านดงพระยาไฟและดงพระยากลางมุ่งสู่นครราชสีมา ตีขึ้นเหนือทางเมืองชัยภูมิ ช่องสามหมอเมืองภูเวียง เข้าสู่ค่ายหนองบัวลุ่มภู โดยกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นแม่ทัพ เมื่อเข้าสู่ค่ายหนองบัวลุ่มภูพระยานรินทรสงคราม (ทองคำ) ต่อสู้กับสยามเป็นสามารถ[4]

ใกล้เคียง

เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมก๊กออ เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาจีน เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมนรินทร์