พระนามในประวัติศาสตร์ ของ เจ้าพระตา

ตำนานพื้นเมืองอุบน

อันว่า เมืองอุบลนี้ มีแต่คนเวียงเกี้ยงอ่อยฮ่อย แต่หากเป็นไพร่น้อย อยู่ตามบ้านเขตแขวง พระตามีเดชกล้า คนยอย้องว่าดี ได้เป็นนายกองนอก เป็นผู้ตุ้มไพร่น้อยนาขึ้นซ่อยเวียง พระก็สถิตย์แห่งห้อง หินโง่มเป็นบ้านใหญ่ เป็นผู้มีเดชกล้า คนสะดุ้งกระเดื่องดิน พระตานั้นได้ลูกเต้า ผู้จักสืบแทนแนว มีอยู่เพียงเจ็ดคน สะอาดตาปานแต้ม หากเป็นชายล้วน สามคนสิทธิเดช เหลือกว่านั้น เป็นหญิงแท้คนย้องฮูปงามˈ.........พร้อมว่าเจ้าคึดแล้ว จึงได้ฮ้องเฮียกเอิ้น ลูกฮักทั้งสามคน คือว่า พระวอ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรม ฮีบสั่งการเดี๋ยวนี้ ดูรา บุตรราชเจ้า ทั้งสามลูกพ่อเอย พวกเฮาอยู่บ่ได้ เมืองนี้ฝืดเคือง พ่อแล้ว.........

พงศาวดารอีสาน

หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) เป็นผู้เรียบเรียงในประชุมพงศาวดาร ภาค 4 เกี่ยวกับเรื่องราวของเจ้าพระตา และเจ้าพระวอ (หน้า 42-43) ว่า "เมื่อ พ.ศ. 2310 พระเจ้าองค์หล่อ ผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุตถึงแก่พิลาลัย ไม่มีโอรสสืบสกุล แสนท้าวพระยา และนายวอนายตา จึงพร้อมกันอันเชิญกุมารทั้งสอง ซึ่งเป็นเชื้อววงศ์ของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตองค์เก่า อันได้หนีไปอาศัยอยู่กับนายวอนายตา เมื่อครั้งพระเจ้าองค์หล่อยกกำลังมาจับพระยาเมืองแสนฆ่านั้น ขึ้นครองกรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วนายวอนายตาจะขอเป็นที่มหาอุปราชฝ่ายหน้า กุมารทั้งสองเห็นว่า นายวนายตามิได้เป็นเชื้อเจ้า"

เรื่องวินิจฉัยประวัติพระประทุมราชวงศา

ขุนวรรณรักษ์วิจิตร ในศิลปากร ปีที่ 1 เล่ม 1 หน้า 91 พ.ศ. 2580 ตอนหนึ่งว่า "...สรุปผลของการสอบสวนตอนนี้เป็นอันได้ความว่า เจ้าคำผงบุตรพระตา และพระตาก็เป็นเชื้อเจ้าหรือราชสกุลจริง..."

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

ใกล้เคียง

เจ้าพระตา เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)