เหตุขัดแย้งกับนครเวียงจันทน์ ของ เจ้าพระตา

ในปี พ.ศ. 2302 พระเจ้าสุวรรณปางคำทิวงคตลง ส่วนเจ้าพระตา แลเจ้าพระวอ ผู้ปกครองอยู่ที่บ้านหินโงม (ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปทางอำเภอโพนพิสัย ประมาณ 1 กิโลเมตร) ซึ่งเป็นที่รักใคร่ของไพร่พลจนใผู้สมัครใจมาร่วมอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าสิริบุญสารเกรงว่ากลุ่มเจ้าพระตาจะก่อการกบฎต่อพระราชสำนักนครเวียงจันทน์ จึงคิดหาอุบายขอพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดาของเจ้าพระตาไปไว้ในพระราชสำนักนครเวียงจันทน์ ซึ่งในพงศาวดารกล่าวถึง เจ้านางแสนสีชาติ ไปเป็นนางห้าม (นางสนม) ทางเจ้าพระตาไม่พอใจเป็นอันมาก และเจ้าพระตาตอบปฏิเสธไม่ให้พระราชธิดาแก่พระเจ้าสิริบุญสาร จึงเป็นชนวนเหตุเกิดความขัดแย้ง เจ้าพระตา เจ้าพระวอจึงได้ชักชวนแม่ทัพนายกองที่ไม่สมัครใจจะทำราชการกับพระเจ้าสิริบุญสารด้วย คือ เจ้าผ้าขาว (ต้นกำเนิดเมืองกาฬสินธุ์) หลวงราชโภชนัย ท้าวชม ท้าวนาม ท้าวเซียง แลท้าวสูนได้อพยพไพร่พลกองครัวญาติพี่น้องลงมาพร้อมกับเจ้าพระตา จากบ้านหินโงมมายังหนองบัวลำภู อันมีพระราชบิดาปกครองอยู่

ใกล้เคียง

เจ้าพระตา เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)