สงครามนครเวียงจันทน์ ของ เจ้าพระตา

ปี พ.ศ. 2314 พระเจ้าสิริบุญสารเห็นว่าหนองบัวลุ่มภูไม่สามารถตีแตกได้ จึงแต่งคณะทูตนำสาส์นพร้อมเครื่องราชบรรณาการไปหาพระเจ้ามังระแห่งหงสาวดีที่ปกครองอยู่นครเชียงใหม่ยกทัพลงมาช่วยตีหนองบัวลุ่มภู เมื่อเจ้าพระวราชปิตาทราบข่าวการส่งสาร์นของพระเจ้าสิริบุญสาร พระองค์ก็ได้จัดแจงแต่งค่ายคูประตูเมืองให้มั่นคงหาทางหนีทีไล่พร้อมสรรพ จึงมีรับสั่งให้เจ้าคำสู เจ้าคำขุย เจ้าคำสิงห์ แลท้าวอินทิสารยกไพร่พลกองครัวส่วนหนึ่งลงมาสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ หากพ่ายแพ้สงครามก็จะได้อพยพลงมาสบทบ โดยเจ้าคำสูได้พากลุ่มไพร่พลมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามลำพะเนียงต่อลำน้ำพองตามแม่น้ำชีลงมาถึงดงใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำชี เรียกว่า ดงผีสิงห์ เจ้าคำสูพาไพร่พลตั้งบ้านแปงเมืองขึ้น เรียกว่า บ้านสิงห์ท่า และเจ้าคำขุยพาไพร่พลส่วนหนึ่งขึ้นไปตั้งบ้านเมืองที่ดงโต่งโต้น เรียกว่า บ้านสิงห์โคก (ต่อมาคือเมืองยศสุนทรประเทศราช) ส่วนเจ้าพระวรราชปิตาได้เกณฑ์เอากำลังไพร่พลจากเมืองผ้าขาว เมืองพันนา เมืองภูเวียง เมืองนาด้วง มาร่วมต้านข้าศึก เมืองทัพนครเวียงจันทน์และทัพสนับสนุนจากพม่ามายั้งทัพตั้งค่ายล้อมเมืองหนองบัวลุ่มภูไว้ด้านหนึ่ง เจ้าพระวรราชปิตา แลเจ้าอุปราชได้นำกำลังไพร่พลออกมารบ เมื่อข้าศึกมีจำนวนมาก ประกอบกับเจ้าพระวรราชปิตามีพระชนม์สูงวัยจึงอ่อนกำลังลง และเจ้าพระวรราชปิตาถูกพระแสงปืนข้าศึกจนตกม้าถึงแก่ทิวงคต บริเวณช่องน้ำจั่นใต้น้ำตกเฒ่าโต้ เทือกเขาภูพาน และทัพนครเวียงจันทน์จึงสามารถตีหนองบัวลุ่มภูแตกได้

ใกล้เคียง

เจ้าพระตา เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)