ลำดับเหตุการณ์ ของ เบร็กซิต

ต่อไปนี้เป็นลำดับเหตุการณ์หลักเกี่ยวกับเบร็กซิต[13]

ค.ศ. 2016

  • 23 มิถุนายน: ผลการลงประชามติว่าด้วยการออกจากสหภาพยุโรปปรากฏว่า ผู้ออกเสียง 51.9% ออกเสียงให้ออก
  • 24 มิถุนายน: เดวิด แคเมอรอนลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 13 กรกฎาคม: เทรีซา เมย์ตอบรับคำเชิญของสมเด็จพระราชินีให้ตั้งรัฐบาล เดวิด เดวิสได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกจากสหภาพยุโรปเพื่อควบคุมดูแลการเจรจาการออก
  • 27 กรกฎาคม: คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอชื่อไมเคิล บาร์เนียร์ นักการเมืองฝรั่งเศส เป็นหัวหน้านักเจรจายุโรปสำหรับการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร
  • 7 ธันวาคม: สภาสามัญชนสหราชอาณาจักรออกเสียง 461 ต่อ 89 เห็นชอบแผนของเทรีซา เมย์ให้ใช้ข้อ 50 เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2017

ค.ศ. 2017

  • 24 มกราคม: ศาลสูงสุดสหราชอาณาจักรวินิจฉัยในคดีมิลเลอร์ว่ารัฐสภาต้องผ่านกฎหมายเพื่อให้อำนาจการใช้ข้อ 50
  • 26 มกราคม: รัฐบาลสหราชอาณาจักรเสนอร่างกฎหมายในรัฐสภาเพื่อให้อำนาจเทรีซา เมย์ให้เริ่มกระบวนการเบร็กซิตโดยการใช้ข้อ 50 เจเรมี คอร์บิน หัวหน้าพรรคแรงงานสั่งให้ ส.ส. พรรคออกเสียงสนับสนุน
  • 16 มีนาคม: ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับพระบรมราชานุญาต (เป็น "พระราชบัญญํติสหภาพยุโรป (การแจ้งความถอนตัว) ค.ศ. 2017")
  • 29 มีนาคม: มีการมอบจดหมายจากเทรีซา เมย์ต่อประธานสภายุโรป ดอนัลต์ ตุสก์ให้ใช้ข้อ 50 เริ่มกระบวนการสองปีซึ่งสหราชอาณาจักรมีกำหนดออกจากสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2019
  • 18 เมษายน: เทรีซา เมย์ประกาศกำหนดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 8 มิถุนายน
  • 8 มิถุนายน: มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พรรคอนุรักษนิยมยังเป็นพรรคเดี่ยวใหญ่สุดในสภาสามัญชนแต่เสียฝ่ายข้างมาก ทำให้เกิดการตั้งรัฐบาลฝ่ายข้างน้อยโดยร่วมรัฐบาลกับพรรคเดโมแครติกยูเนียนนิสต์ (DUP) แห่งไอร์แลนด์เหนือ
  • 19 มิถุนายน: เริ่มการเจรจาเบร็กซิต

ค.ศ. 2018

  • 6 กรกฎาคม: มีการสรุปเอกสารขาวของสหราชอาณาจักรว่าด้วยความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป
  • 8 กรกฎาคม: เดวิสลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการออกจากสหภาพยุโรป วันรุ่งขึ้นโดมินิก ราบได้รับแต่งตั้งให้สืบตำแหน่ง
  • 21 กันยายน: สหภาพยุโรปปฏิเสธเอกสารขาวของสหราชอาณาจักร
  • 14 พฤศจิกายน: มีการเผยแพร่ความตกลงการถอนตัวเบร็กซิต
  • 15 พฤศจิกายน: ราบลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการออกจากสหภาพยุโรป วันรุ่งขึ้นสตีเฟน บาร์เคลย์ได้รับแต่งตั้งให้สืบตำแหน่ง
  • 25 พฤศจิกายน: รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น 27 ประเทศรับรองความตกลงการถอนตัวฯ

ค.ศ. 2019

  • 15 มกราคม: มีการจัดการออกเสียงมีความหมายครั้งแรกต่อความตกลงการถอนตัวในสภาสามัญชนสหราชอาณาจักร รัฐบาลแพ้ 432 ต่อ 202 เสียง
  • 12 มีนาคม: การออกเสียงมีความหมายครั้งที่สองเรื่องความตกลงการถอนตัว รัฐบาลแพ้อีกครั้ง 391 ต่อ 242 เสียง
  • 14 มีนาคม: ญัตติรัฐบาลสหราชอาณาจักรผ่าน 412 ต่อ 202 เสียงให้ขยายระยะข้อ 50
  • 20 มีนาคม: เทรีซา เมย์ขอให้สหภาพยุโรปขยายเวลาข้อ 50 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2019
  • 21 มีนาคม: คณะมนตรียุโรปเสนอให้ขยายเวลาข้อ 50 จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2019 หากความตกลงการถอนตัวผ่านก่อนวันที่ 29 มีนาคม 2019 แต่หากไม่ผ่าน สหราชอาณาจักรจะมีเวลาจนถึงวันที่ 12 เมษายน 2019 ในการหาหนทางไปต่อ มีการตกลงการขยายเวลาอย่างเป็นทางการในวันรุ่งขึ้น
  • 29 มีนาคม: การสิ้นสุดดั้งเดิมของระยะเวลาข้อ 50 และวันตามกำหนดเดิมสำหรับเบร็กซิต การออกเสียงครั้งที่สามต่อความตกลงการถอนตัวแยกจากปฏิญญาการเมือง รัฐบาลแพ้อีกครั้ง 344 ต่อ 286 เสียง
  • 5 เมษายน: เทรีซา เมย์ขอให้สหภาพยุโรปขยายระยะเวลาข้อ 50 เป็นครั้งที่สองจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2019
  • 10 เมษายน: คณะมนตรียุโรปให้ขยายเวลาข้อ 50 อีกจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2019 หรือวันแรกของเดือนหลังจากความตกลงถอนตัวผ่าน ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อน อย่างไรก็ดี สหราชอาณาจักรต้องจัดการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในเดือนพฤษภาคม 2019 มิฉะนั้นจะต้องออกในวันที่ 1 มิถุนายน 2019
  • 24 พฤษภาคม: เทรีซา เมย์ประกาศว่าจะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม มีผลวันที่ 7 มิถุนายน เนื่องจากไม่สามารถผ่านแผนเบร็กซิตของตนผ่านรัฐสภาและการออกเสียงไม่ไว้วางใจหลายครั้ง โดยจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างมีการเลือกหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมคนใหม่
  • 18 กรกฎาคม: สำนักงานความรับผิดชอบงบประมาณประเมินว่าเบร็กซิตแบบไม่มีความตกลงจะทำให้บริเตนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเศรษฐกิจจะหดตัว 2%[14]
  • 18 กรกฎาคม: ส.ส. อนุมัติการแก้ไขกฎหมายซึ่งยับยั้งการชะลอรัฐสภาระหว่างวันที่ 9 ตุลาคมถึง 18 ธันวาคม ยกเว้นมีการตั้งฝ่ายบริหารไอร์แลนด์เหนือ โดยมีคะแนนเสียงข้างมาก 41 เสียง[15]
  • 24 กรกฎาคม: บอริส จอห์นสันตอบรับคำเชิญของสมเด็จพระราชินีให้ตั้งรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบร็กซิต http://derstandard.at/2000046722023/Juncker-warnt-... http://edition.cnn.com/2017/09/21/europe/uk-may-br... http://eureferendum.com/documents/1975referendum1.... http://quotes.euronews.com/topic/brexit http://www.newstatesman.com/politics/staggers/2017... http://www.theguardian.com/world/video/2016/jan/05... http://www.thehindu.com/todays-paper/tp-internatio... http://www.zeit.de/news/2017-06/23/eu-merkel-lobt-... http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-6851_en... http://data.consilium.europa.eu/doc/document/XT-21...