เบื้องหลัง ของ เบร็กซิต

การลงประชามติ ค.ศ. 1975

ใน ค.ศ. 1975 สหราชอาณาจักรได้มีการลงประชามติว่าสหราชอาณาจักรควรอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อหรือไม่ ในครั้งนั้นทุกพรรคการเมืองต่างสนับสนุนการอยู่ต่อ อย่างไรก็ตาม ก็มีความขัดแย้งบางส่วนในพรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เมื่อที่ประชุมพรรคในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1975 มีมติ 2 ต่อ 1 ว่าควรออกจากประชาคม คณะรัฐมนตรีจึงแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายสนับสนุนยุโรปและฝ่ายต่อต้านยุโรป รัฐมนตรี 7 คนจาก 23 คนคัดค้านการดำรงสมาชิกภาพในประชาคม[2]

ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1975 ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนได้ลงคะแนนโดยมีหัวข้อการประชามติว่า "ท่านคิดว่าสหราชอาณาจักรควรอยู่ในประชาคมยุโรป (ตลาดร่วม) หรือไม่?"[3] ซึ่งได้รับเสียงข้างมากว่า "เห็นควร" ท้ายที่สุด สหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป[4]

เห็นควร(%)ไม่เห็นควร(%)ผู้มาใช้สิทธิ์ (%)
17,378,58167.28,470,07332.864.5

การลงประชามติ ค.ศ. 2016

ใน ค.ศ. 2013 นายกรัฐมนตรีเดวิด แคเมอรอน ได้ปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้มีการลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป แต่แคเมอรอนก็แนะนำว่าการลงประชามติอาจจะมีขึ้นได้ในอนาคตหากประชาชนต้องการ[5][6] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 นายกรัฐมนตรีแคเมอรอนประกาศว่า รัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมอาจจะจัดให้มีการลงประชามติว่าจะออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2017 บนเงื่อนไขว่าหากเขายังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีต่อในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2015[7]

พรรคอนุรักษนิยมชนะการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2015 ไม่นานหลังจากนั้น รัฐสภาก็ได้ออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการลงประชามติ แม้ว่านายกรัฐมนตรีแคเมอรอนจะอยากให้สหราชอาณาจักรยังอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไปก็ตาม[8] แต่แคเมอรอนก็ได้ประกาศให้อิสระแก่รัฐมนตรีและส.ส.ของพรรคอนุรักษนิยมในการตัดสินใจตามวิจารณญาณของแต่ละคน[9] และเขายังได้อนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถจัดกิจกรรมสนับสนุนหรือคัดค้านการออกจากสหภาพยุโรปตามอัธยาศัย[10] ตามถ้อยปราศรัยต่อสภาล่างในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 นายกรัฐมนตรีแคเมอรอนประกาศให้การลงประชามติมีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2016 และประกาศกรอบระยะเวลาขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะทำต่อหากการประชามติมีผลว่าให้ออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดสองปีเป็นระยะเวลาในการเจรจาต่อรองและข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป

การลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2016 มีหัวข้อว่า "สหราชอาณาจักรควรจะยังคงเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรือถอนตัวจากสหภาพยุโรป?" ซึ่งได้รับเสียงข้างมากว่า "ถอนตัว"


การลงประชามติสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2016
ผลระดับชาติ
ทางเลือกเสียง%
ออกจากสหภาพยุโรป17,410,74251.89%
เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อ16,141,24148.11%
คะแนนที่สมบูรณ์33,551,98399.92%
คะแนนที่ไม่สมบูรณ์หรือว่าง25,3590.08%
คะแนนทั้งหมด33,577,342100.00%
ผู้ออกเสียงที่ลงทะเบียนและผู้ออกมาใช้สิทธิ46,500,00172.21%
ประชากรที่มีอายุถึงขั้นออกเสียงและผู้มาใช้สิทธิ51,356,76865.38%
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง
แถบผลคะแนนจากการลงประชามติ
ออก:
51.9 (17,410,742)
อยู่ต่อ:
48.1 (16,141,241)
ผลลัพธ์แบ่งตามประเทศ/ภูมิภาคของอังกฤษ (ซ้าย) และแบ่งตามเขตสภาและเขตเลือกตั้งรัฐสภาสหราชอาณาจักร (ขวา)
  ออก
  อยู่ต่อ

หลังการประกาศผล

นายกรัฐมนตรี เดวิด แคเมอรอน ประกาศลาออกหลังผลประชามติให้ "ถอนตัว"

เช้าวันรุ่งขึ้นหลังประกาศผล นายกรัฐมนตรีเดวิด แคเมอรอน ได้กล่าวแถลงลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้มีผู้นำคนใหม่ซึ่งจะดำเนินการตามกฎหมายในการออกจากสหภาพยุโรป ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ได้ออกมากล่าวว่าเป็นวันที่แสนเศร้าของประเทศชาติ

การเจรจากับสหภาพยุโรปจะเริ่มขึ้นภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ผมคิดว่ามันถูกแล้วที่นายกคนใหม่จะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ข้อ 50 แล้วก็เริ่มขั้นตอนตามระเบียบและกฎหมายในการออกจากอียู [11]—  นายกรัฐมนตรี เดวิด แคเมอรอน 24 มิ.ย. 2016

ยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังประกาศผล ค่าเงินปอนด์เทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 11% ส่วนเงินยูโรเทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 3.3%[12] ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงอย่างหนักโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์โตเกียว

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบร็กซิต http://derstandard.at/2000046722023/Juncker-warnt-... http://edition.cnn.com/2017/09/21/europe/uk-may-br... http://eureferendum.com/documents/1975referendum1.... http://quotes.euronews.com/topic/brexit http://www.newstatesman.com/politics/staggers/2017... http://www.theguardian.com/world/video/2016/jan/05... http://www.thehindu.com/todays-paper/tp-internatio... http://www.zeit.de/news/2017-06/23/eu-merkel-lobt-... http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-6851_en... http://data.consilium.europa.eu/doc/document/XT-21...