รอบโลก ของ เบเกิล

เวซิรินเกลี (Vesirinkeli) จากประเทศโปแลนด์

ในประเทศโปแลนด์ เบเกิลได้มีวางจำหน่ายในเบเกอรีที่ตลาดในเมืองเคลซ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี โดยเบเกิลแบบโปแลนด์ส่วนใหญ่จะโรยหน้าด้วยงาขาวและงาดำ

ในประเทศรัสเซีย, ประเทศเบลารุส และประเทศยูเครน บลูบลิก (รัสเซีย: bublik) เป็นเบเกิลที่มีขนาดใหญ่ และมีรูขนาดใหญ่ ส่วนขนมปังอื่น ๆ ที่คล้ายกันที่รู้จักกันของชาวสลาฟตะวันออก คือ บารันกิ (รัสเซีย: baranki) ซึ่งมีลักษณะแห้งและเล็กกว่า และ ซุชกิ (รัสเซีย: sushki) ซึ่งมีลักษณะแห้งและเล็กกว่าเช่นกัน

ในประเทศลิทัวเนีย เบเกิลถูกเรียกว่า "เรียสเทเนีย" (ลิทัวเนีย: riestainiai) และบางครั้งก็เรียกกันในภาษาสลาวิกว่า "บารอนกอส" (สลาวิก: baronkos)

ในประเทศฟินแลนด์ "เวซิรินเกลี" (vesirinkeli) หรือขนมปังแบบฟินแลนด์ เป็นขนมปังที่ทำมาจากแป้งสาลีและยีสต์ มีลักษณะเป็นวงแหวน โดนจะนำไปต้มในน้ำเกลือก่อนจะนำมาอบ มักจะทานเป็นอาหารเช้าโดยการทาเนย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ต โดยจะมีทั้งรสหวานและเผ็ด

ที่ประเทศเยอรมนี "เบรตเซิล" (เยอรมัน: Bretzel) จะมีลักษณะนุ่มและอาจมีรูปร่างเป็นวงแหวนหรือเป็นแท่งก็ได้ ซึ่งเนื้อของขนมปังจะมีลักษณะคล้ายกับเบเกิล สิ่งสำคัญที่สุดคือเนื้อด้านนอกจะมีผิวมันวาวจากการนำไปชุบน้ำด่าง นอกจากนี้ "โมนเบิร์ทเชน" (เยอรมัน: Mohnbrötchen) จะเป็นเบเกิลแบบที่โรยหน้าด้วยงาดำ คล้ายกับเบเกิลทั่วไป แต่จะมีความหวานน้อยและเนื้อแน่น

ในประเทศโรมาเนีย "โคฟริกี" (โรมาเนีย: covrigi) จะโรยหน้าด้วยเมล็ดงาดำ, งาขาว หรือเกลือ โดยเฉพาะภาคกลางของประเทศ ซึ่งสูตรนี้จะไม่มีการเพิ่มความหวาน

ในบางส่วนของประเทศออสเตรีย ขนมอบรูปวงแหวนที่เรียกว่า "บอยเกิล" (เยอรมัน: beugel) จะถูกวางขายในสัปดาห์ก่อนอีสเตอร์ ซึ่งเหมือนกับเบเกิล บอยเกิลจะใช้แป้งข้าวสาลีและยีสต์ โรยด้วยยี่หร่า และจะต้มในน้ำเดือดก่อนนำไปอบ จะได้บอยเกิลที่มีความกรอบและเก็บไว้ได้นานหลายสัปดาห์ ตามธรรมเนียมนั้นเมื่อจะรับประทานต้องฉีกเป็นสองชิ้นก่อนจะทาน

"เกอร์เดห์" เป็นขนมปังที่มีหลุม (ไม่ได้เป็นรู) จากภัตตาคารมุสลิมในกวางโจว ประเทศจีน

ในประเทศตุรกี "อัคมา" (ตุรกี: açma) ขนมปังที่มีรูปร่างอวบและเค็ม อย่างไรก็ตาม ซีมิท (simit) ขนมปังรูปวงแหวนมักถูกเรียกว่าเบเกิลแบบตุรกี และมีเอกสารบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ซีมิท ได้ถูกผลิตในอิสตันบูล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1525[27] จากบันทึกของศาลอุสกูดาร์ ลงบันทึกที่ 1593[28] น้ำหนักและราคาของซีมิทถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานครั้งแรก เอฟลียา เซเลบี นักเดินทางชื่อดังในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้บันทึกเอาไว้ว่ามีร้านเบเกอรีขายซีมิท 70 ร้านในอิสตันบูลช่วงปี ค.ศ. 1630[29] ภาพวาดสีน้ำมันของ ฌ็อง บรินเดซี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็แสดงให้เห็นว่าร้านขายซีมิทมีให้เห็นบนถนนทั่วไปของอิสตันบูล[30] วอร์วิก โกเบล หนังสือภาพวาด ก็แสดงให้เห็นว่ามีร้านขายซีมิทในเมืองอิสตันบูล ในปี ค.ศ.1906 เช่นกัน[31] เป็นเรื่องที่น่าแปลก เพราะซีมิทมีลักษณะคล้ายกับเบเกิลงาดำในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

ชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน มีเบเกิลที่เรียกกันว่า "เกอร์เดห์นาน" (อุยกูร์: girdeh nan) มีรากศัพท์จากภาษาเปอร์เซีย หมายถึงขนมปังวงแหวน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของ "นาน" ขนมปังที่นิยมทานกันในซินเจียง[32]

ในประเทศญี่ปุ่น เบเกิลถูกนำเข้าครั้งแรกโดย เบเกิลเค (อังกฤษ: BagelK, ญี่ปุ่น: ベーグルK) จากนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ. 1989 โดยผลิตเบเกิลรสชาเขียว, ช็อคโกแลต, ถั่วเมเปิล และรสกล้วย-ถั่ว มีเบเกิลมากกว่า 3 ล้านชิ้นที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา โดยเบเกิลส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมักจะมีรสหวาน คล้ายกับในสหรัฐอเมริกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบเกิล http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNew... http://www.7dvt.com/2006/hole-truth http://homecooking.about.com/od/foodhistory/a/bage... http://foodwishes.blogspot.com/2012/08/san-francis... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/48756/ba... http://www.canada.com/montrealgazette/news/story.h... http://www.forbes.com/sites/nadiaarumugam/2012/04/... http://www.forward.com/articles/14502 http://hometownbagel.com/ http://www.huffingtonpost.com/2014/05/02/montreal-...