การทำงาน ของ เปลือกสมองส่วนรู้รส

มีงานศึกษาเป็นจำนวนมากเพื่อตรวจดูหน้าที่ของเปลือกสมองส่วนรู้รสและโครงสร้างอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กัน โดยกระตุ้นด้วยสารเคมีและไฟฟ้า รวมทั้งการสังเกตคนไข้ที่มีรอยโรคที่เปลือกสมองส่วนรู้รส หรือชักโดยเริ่มจากเปลือกสมองส่วนรู้รสมีรายงานว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่เส้นประสาทลิ้น (lingual nerve), chorda tympani, และสาขาลิ้นของเส้นประสาทลิ้นคอหอย จะก่อศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ในส่วน frontal operculum[7]การกระตุ้น insula ด้วยไฟฟ้า ก็จะทำให้รู้สึกว่าได้รับรส

ข้อมูลการรู้รสจะส่งไปทาง orbitofrontal cortex ซึ่งเป็นเปลือกสมองส่วนรู้รสรองไปจาก AI/FO งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่าเซลล์ประสาท 8% ใน orbitofrontal cortex จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นรส[8]และเซลล์ประสาทเหล่านี้บางส่วนจะเลือกตัวกระตุ้นคือรสอย่างเฉพาะเจาะจง[9]งานวิจัยในลิงยังแสดงด้วยว่า การตอบสนองต่อรสของเซลล์ประสาทในส่วนนี้จะลดลงเมื่อลิงได้กินจนอิ่มแล้ว[10]ยิ่งกว่านั้น เซลล์ประสาทใน orbitofrontal cortex จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางตาหรือทางจมูกนอกเหนือไปจากรสผลงานเหล่านี้แสดงว่า เซลล์ประสาทรับรสใน orbitofrontal cortex อาจมีบทบาทสำคัญในการระบุและเลือกอาหาร

งานศึกษาในคนไข้รายงานว่า ความเสียหายในส่วนหน้า (rostral) ของ insula ทำให้เกิดความผิดปกติในการรู้รส ในการระบุรส และระดับการรับรู้รสที่น้อยผิดปกติ[11]มีรายงานว่าคนไข้ที่ชักเริ่มจากส่วน frontal operculum จะเกิดรสชาติที่ไม่น่าพึงใจเมื่อเกิดอาการชักสมองส่วน insula ยังทำงานเมื่อเห็นภาพเกี่ยวกับรสชาติคือ งานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งเทียบเขตสมองที่ทำงานเมื่อเห็นรูปอาหารและเมื่อเห็นรูปสถานที่พบว่า รูปอาหารจะทำให้ insula/operculum ด้านขวา และ orbitofrontal cortex ด้านซ้าย ทำงาน[12]

เซลล์ประสาทรับรู้สารเคมี

เซลล์ประสาทรับรู้สารเคมี (chemosensory neurons) ก็คือเซลล์ที่แยกแยะระหว่างรสต่าง ๆ และระหว่างการมีหรือไม่มีรสหนึ่ง ๆ ในเซลล์เหล่านี้ของหนู การตอบสนองต่อการเลียที่ได้รส จะมากกว่าการตอบสนองต่อการเลียที่ไร้รสนักวิจัยได้พบว่า 34.2% ของนิวรอนในเปลือกสมองส่วนรู้รสมีการตอบสนองแบบรับรู้สารเคมีโดยนิวรอนที่เหลือจะแยกแยะระหว่างการเลียที่มีรสหรือไม่มีรส หรือประมวลข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่กำลังทำ[13]

ความเข้มข้นของรส

เซลล์ประสาทรับรู้สารเคมีของเปลือกสมองส่วนรู้รส ตอบสนองโดยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นในงานศึกษาในหนูเมื่อกำลังเลียการเพิ่มความเข้มข้นของผงชูรสที่ลิ้น จะเพิ่มอัตราการยิงสัญญาณของเซลล์ประสาทใน GCเทียบกับการเพิ่มความเข้มข้นของซูโครส ซึ่งลดอัตราการยิงสัญญาณ[13]

เซลล์ประสาทใน GC ตอบสนองอย่างรวดเร็วและเฉพาะเจาะจงต่อรสต่าง ๆ โซเดียมคลอไรด์และซูโครสทำให้ GC ตอบสนองมากที่สุด เทียบกับกรดซิตริกที่เพิ่มการทำงานของเซลล์ ๆ เดียวบ้างเซลล์ประสาทรับรู้สารเคมีใน GC เลือกตัวกระตุ้นหลายอย่าง (broadly tuned) คือ มีเซลล์จำนวนมากกว่าที่ตอบสนองต่อรสชาติหลายอย่าง (4-5) เทียบกับเซลล์น้อยกว่าที่ตอบสนองต่อรสน้อยอย่าง (1-2)นอกจากนั้น จำนวนเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อรสหนึ่ง ๆ จะต่างกัน[13]งานศึกษาที่ซับซ้อนของการรู้รสของหนูแสดงว่า มีเซลล์ที่ตอบสนองต่อผงชูรส โซเดียมคลอไรด์ ซูโครส และกรดซิตริก (ทั้งหมดทำให้เซลล์ประสาทจำนวนคล้าย ๆ กันทำงาน) มากกว่าเทียบกับสารประกอบคือยาควินิน (QHCl) และน้ำ

เมื่อความเข้มข้นเปลี่ยน

งานศึกษา GC ในหนูได้แสดงว่า เซลล์ประสาทใน GC ตอบสนองอย่างซับซ้อนเมื่อความเข้มข้นของรสเปลี่ยนไปสำหรับรสหนึ่ง เซลล์ประสาทเดียวกันอาจเพิ่มอัตราการยิงสัญญาณ เทียบกับอีกรสหนึ่ง ที่มันอาจตอบสนองในระดับความเข้มข้นกลาง ๆ เท่านั้นในงานศึกษาเหล่านี้ มันชัดเจนว่า เซลล์ประสาทรับรู้สารเคมีใน GC น้อยเซลล์มากที่เพิ่มหรือลดอัตราการยิงสัญญาณในทางเดียว เมื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของรส (เช่น ผงชูรส โซเดียมคลอไรด์ และซูโครส)เพราะเซลล์มากกว่ามากตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นอย่างซับซ้อนในรสที่ทดสอบในระดับความเข้มข้นต่าง ๆความเข้มข้นกลาง ๆ อาจทำให้ตอบสนองในอัตราสูงสุด (เช่น ซูโครสที่ 0.1 M) หรือความเข้มข้นสูงสุดหรือต่ำสุดอาจทำให้ตอบสนองในอัตราสูงสุด (เช่น โซเดียมคลอไรด์) หรือเซลล์อาจตอบสนองที่ความเข้มข้นเดียว[13]