ดาดฟ้าบิน ของ เรือบรรทุกอากาศยาน

เครื่องบินแฮร์ริเออร์กำลังเตรียมบินขึ้นจากเรือแบบคาโทบาร์ยูเอสเอส แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์การลงจอดของเครื่องบินไอพ่นลำแรกบนเรือบรรทุกเครื่องบินเอชเอ็มเอส โอเชียนเมื่อปีพ.ศ. 2488

ด้วยการที่เป็นเสมือนทางวิ่งที่ลอยอยู่กลางทะเล เรือบรรทุกอากาศยานสมัยใหม่จึงมีดาดฟ้าเรือที่แบบเรียบคอยทำหน้าที่เป็นลานบินให้กับเครื่องบินที่จะบินขึ้นหรือลงจอด เครื่องบินจะถูกดีดไปด้านหน้าของเรือและทำการลงจอดทางด้านท้ายเรือ เรือจะแล่นด้วยความเร็ว 35 นอท (65 กม./ชม.) เข้าหาลมเพื่อเพิ่มความเร็วลมบนดาดฟ้าให้อยู่ในระดับปลอดภัย การทำแบบนี้จะเพิ่มความเร็วลมที่มีประสิทธิภาพที่จำทำให้เครื่องบินที่บินขึ้นทำความเร็วได้มากขึ้นเมื่อถูกส่งออกไปแล้ว นอกจากนี้ยังทำให้ตอนลงจอดมีความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการลดความแตกต่างของความเร็วสัมพันธ์ของเครื่องบินและเรือ

สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบคาโทบาร์นั้น จะมีเครื่องยิงพลังไอน้ำที่คอยทำหน้าที่ส่งเครื่องบินเข้าสู่ความเร็วที่ปลอดภัย หลังจากเครื่องบินลำนั้นๆ ขึ้นสู่อากาศแล้วก็จะสามารถใช้ความเร็วจากเครื่องยนต์ของตัวเองได้ สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบเอสโทฟล์และสโบตาร์จะไม่ใช้เครื่องยิงแบบดังกล่าว แต่จะมีดาดฟ้าที่มีปลายทางมีลักษณะโค้งขึ้นด้านบนเพื่อช่วยส่งเครื่องบินเมื่อทำการวิ่งสุดรันเวย์ แม้ว่าเครื่องบินแบบเอสโทฟล์นั้นจะสามารถบินขึ้นได้โดยไม่พึ่งรันเวย์แบบดังกล่าวหรือด้วยเครื่องยิงโดยการลำเชื้อเพลิงและอาวุธลง บทบาทของเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องบินบนเรือและการออกแบบเรือ

เอฟ/เอ-18 ขณะทำการลงจอด

สำหรับเรือแบบคาโทบาร์และสโตบาร์จะใช้สายสลิงขนาดยาวที่พาดขวางลานบินสำหรับเครื่องบินใช้ขอเกี่ยวเกี่ยวสายสลิงขณะลงจอด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ราชนาวีอังกฤษได้ทำการวิจัยหาวิธีลงจอดที่ปลอดภัยกว่าซึ่งทำให้เกิดการสร้างพื้นที่สำหรับการลงจอดที่วางแนวเฉียงออกจากแกนหลักของเรือซึ่งทำให้เครื่องบินที่เกี่ยวสายสลิงพลาดสามารถเร่งเครื่องเพื่อบินให้พ้นจากเรือและป้องกันบินชนตัวเรือเอง สำหรับเฮลิคอปเตอร์และอากาศยานขึ้นลงในแนวดิ่งและระยะสั้นหรือวีเอสโทล (V/STOL) มักจะลงจอดเป็นแถวหน้ากระดานที่ด้านข้างของเรือและลงจอดได้โดยไม่ต้องใช้สายสลิง เครื่องบินที่ต้องใช้ขอเกี่ยวและสายสลิงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ให้สัญญาน ซึ่งจะคอยดูเครื่องบินที่กำลังบินเข้าเพื่อทำการลงจอดโดยตรวจทั้งแนวการร่อนลง ระดับความสูง และความเร็วลม จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลไปยังนักบิน ก่อนทศวรรษที่ 2493 เจ้าหน้าที่ให้สัญญาณใช้ป้ายสีเพื่อให้สัญญาณแก่นักบิน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2493 มีการใช้เครื่องส่งสัญญาณไฟและระบบลงจอดช่วยลงจอดที่คอยให้ข้อมูลในการลงจอดให้กับนักบิน แต่กระนั้นเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณก็ยังคงมีบทบาทในการส่งข้อมูลผ่านทางวิทยุแก่นักบิน

เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทบนดาดฟ้าบินของเรือยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของสหรัฐ

สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ กะลาสีจะสวมเสื้อสีที่บอกถึงหน้าที่ของแต่ละฝ่าย มีเสื้ออย่างน้อยทั้งหมด 7 สีที่กะลาสีเรือสหรัฐใส่ ประเทศอื่นๆ ก็มีการใช้สีที่คล้ายๆ กันนี้เช่นกัน

เจ้าหน้าที่ที่สำคัญบนดาดฟ้าเรือประกอบด้วยชูทเตอร์ (shooters) แฮนด์เลอร์ (handler) และแอร์บอส (air boss) ชูทเตอร์เป็นเจ้าหน้าที่การบินทางเรือ (Naval Flight Officer) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการส่งเครื่องบินสู่อากาศ แฮนด์เลอร์จะคอยทำหน้าที่จัดส่งเครื่องบินให้เข้าสู่ทำแหน่งบินขึ้นและคอยนำเครื่องบินเก็บเมื่อเสร็จจากการลงจอด แอร์บอสจะทำหน้าที่อยู่บนสะพานเดินเรือและคอยควบคุมการส่งเครื่องบิน การรับเครื่องบิน และให้คำสั่งเครื่องบินที่บินอยู่ใกล้กับเรือ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องบินบนดาดฟ้า[10] กัปตันเรือใช้เวลาส่วนใหญ่ที่สะพานเดินเรือนำร่องซึ่งอยู่ใต้สะพานเดินเรือควบคุมการบิน อีกชั้นลงมาคือสะพานเดินเรือส่วนที่มีไว้สำหรับพลเรือและนายทหาร

ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2493 เป็นที่รู้กันดีว่าเครื่องบินจะต้องลงจอดเป็นแนวเฉียงจากแกนหลักของตัวเรือ วิธีนี้ทำให้เครื่องบินที่เกี่ยวสลิงพลาดสามารถบินขึ้นสู่อากาศได้อีกครั้งและหลีกเลี่ยงการชินกับเครื่องบินที่จอดอยู่ ลานบินที่ทำมุมเฉียงยังช่วยให้สามารถส่งเครื่องบินและรับเครื่องบินได้พร้อมกันถึงสองลำ

โครงสร้างส่วนบนของเรือ (เช่น สะพานเดินเรือและหอควบคุมการบิน) จะอยู่ติดไปทางกราบขวาของดาดฟ้าเรือเช่นเดียวกับหอบัญชาการ รูปแบบการสร้างแบบดังกล่าวถูกใช้บนเรือเอชเอ็มเอส เฮอร์เมสเมื่อปีพ.ศ. 2466 มีเรือบรรทุกเครื่องบินไม่กี่ลำที่ออกแบบมาให้ไม่มีศูนย์บัญชาการ การที่ไม่มีส่วนบัญชาการหรือหอบัญชาการส่งผลเสียหลายอย่าง เช่น การนำร่องที่ยุ่งยาก ปัญหาในการควบคุมจราจรทางอากาศ และอีกมากมาย

Ski-jump on Royal Navy carrier HMS Invincible (R05)

สำหรับรูปแบบล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดยราชนาวีอังกฤษนั้นจะมีลานบินที่ส่วนปลายเป็นทางลาดเอียงขึ้น ส่วนนี้ถูกเรียกว่าสกีจัมพ์ (Ski jump) มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เครื่องบินประเภทบินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่งหรือสโทฟล์ปปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ง่ายขึ้น เครื่องบินประเภทสโตฟล์เช่นซีแฮร์ริเออร์สามารถบินขึ้นพร้อมน้ำหนักที่มากขึ้นได้เมื่อใช้ลานบินบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตบาร์ สกีจัมพ์ทำหน้าที่ด้วยการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวไปทางด้านหน้าของเครื่องบินให้เป็นแรงกระโดดเมื่อเครื่องบินถึงสุดปลายทางดาดฟ้า เมื่อแรงกระโดดรวมเข้ากับแรงไอพ่นที่ดันเครื่องบินขึ้นจะทำให้เครื่องบินที่บรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงในจำนวนมากสามารถสร้างความเร็วลมและยกตัวให้อยู่ในระดับการบินปกติได้ หากไม่มีสกีจัมพ์แล้วเครื่องบินแฮร์ริเออร์ที่บรรทุกอาวุธเต็มอัตราจะไม่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กได้ แม้ว่าเครื่องบินประเภทสโตฟล์จะสามารถขึ้นบินในแนวดิ่งได้ แต่การใช้สกีจัมพ์นั้นจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและให้การส่งที่ดีกว่าเมื่อต้องบรรทุกอาวุธขนาดหนัก การใช้เครื่องดีดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่มีสกีจัมพ์จึงสามารถลดน้ำหนัก ความยุ่งยาก และพื้นที่ที่ต้องใช้กับอุปกรณ์ไอน้ำหรือแม่เหล็กไฟฟ้าลงไปได้ อากาศยานที่ขึ้นลงในแนวดิ่งเองไม่จำเป็นต้องใช้สายสลิงเวลาลงจอดอีกด้วย เรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย จีน และอินเดียจะติดตั้งสกีจัมพ์เข้าไปแต่มีสายสลิงด้วยเช่นกัน

ข้อเสียของสกีจัมพ์คือขนาดของเครื่องบิน น้ำหนักอาวุธ และปริมาณเชื้อเพลิง เครื่องบินที่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไปจะไม่สามารถใช้สกีจัมพ์ได้เพราะมันจะต้องใช้ระยะทางที่ยาวกว่าดาดฟ้าเรือ หรือต้องใช้เครื่องดีดในการช่วยออกตัว ตัวอย่างเช่น เครื่องบินซู-33 ที่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน"คุตเนตซอฟ"แต่ต้องบรรจุอาวุธและเชื้อเพลิงในระดับน้อย อีกข้อเสียหนึ่งคือการผสมผสานปฏิบัติการ กล่าวคือบนดาดฟ้าจะมีเฮลิคอปเตอร์อยู่ด้วยจะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่หากมีสกีจัมพ์อยู่เพราะมันกินพื้นที่มากเกินไป ดาดฟ้าเรือแบบเรียบอาจจำกัดการบรรทุกเครื่องแฮรร์เออร์แต่ก็ชดเชยได้ด้วยการมีระยะวิ่งที่ยาวกว่าเมื่อเทียบกับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตฟล์

มีการคิดสร้างลานบินแบบไม่ธรรมดาคือมาเพื่อตอบรับกับเครื่องบินไอพ่น เช่น การใช้อุปกรณ์สกัดส์ (SCADS) สกายฮุค เครื่องบินทะเลขับไล่ หรือแม้กระทั่งดาดฟ้าที่ทำจากยาง ระบบป้องกันทางอากาศบนเรือหรือสกัดส์เป็นชุดอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งกับเรือบรรทุกสินค้าเพื่อให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตฟล์โดยใช้เวลาเพียงสองวันในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องบินไอพ่นได้สามสิบวัน อาวุธ ระบบป้องกันขีปนาวุธ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือดำน้ำ พื้นที่สำหรับลูกเรือ เรดาร์ และสกีจัมพ์ อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถยกเลิกการติดตั้งได้ มันเป็นเหมือนเรือพาณิชย์บรรทุกเครื่องบินแบบใหม่นั่นเอง สกายฮุค (Skyhook) เป็นความคิดของบริติชแอโรสเปซที่หวังจะใช้เครนที่มีส่วนปลายเป็นตัวเติมเชื้อเพลิง ส่งและรับเครื่องบินแฮร์ริเออร์[11] คอนแวร์ เอฟ2วาย ซีดาร์ทเป็นเครื่องบินทะเลเครื่องยนต์ไอพ่นที่ทำความเร็วเหนือเสียงซึ่งใช้สกีแทนล้อ เพราะกองทัพเรือสหรัฐเชื่อว่าเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงไม่สามารถลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ จึงใช้วิธีให้ลงจอดในทะเลและใช้เครนยกขึ้นมาบนเรือแทน เรือเอชเอ็มเอส วอร์ริเออร์เป็นเรือที่ได้ทดสอบการใช้ดาดฟ้าบินที่ทำจากยางโดยมีเครื่องบินขับไล่เดอร์ ฮาวิลแลนด์ แวมไพร์ทำการลงจอดโดยไม่ใช้ล้อหรือสายสลิง

ใกล้เคียง

เรือบรรทุกอากาศยาน เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือบรรทุกอากาศยานชินาโนะ เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง เรือบรรทุกอากาศยานชั้นควีนเอลิซาเบธ เรือบรรทุกเครื่องบินคางะ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเอสเซ็กซ์ เรือบรรทุกเครื่องบินโชกากุ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรือบรรทุกอากาศยาน http://www.airforce-magazine.com/MagazineArchive/P... http://www.bartleby.com/61/84/A0158400.html http://www.bharat-rakshak.com/NAVY/Ships/Future/18... http://navigatus.exteen.com/20130105/entry http://navigatus.exteen.com/20130323/entry http://www.foxnews.com/world/2012/11/25/china-land... http://www.freewebs.com/jeffhead/worldwideaircraft... http://www.freewebs.com/jeffhead/worldwideaircraft... http://ibnlive.in.com/news/aircraft-carrier-ins-vi... http://www.livemint.com/Politics/7YSe7KF2UkZUdZK2p...