ประวัติ ของ เรือบรรทุกอากาศยาน

ต้นกำเนิด

เรือบรรทุกเครื่องบินทะเลวากะมิยะของญี่ปุ่นซึ่งทำการโจมตีด้วยเครื่องบินจากเรือเป็นลำแรกของโลกเมื่อปีพ.ศ. 2457ภาพถ่ายจากอากาศของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่แสดงให้เห็นเรือบรรทุกอากาศยานโฮวโชวที่เสร็จสมบูรณ์ในเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2465

ไม่นานหลังจากที่มีการสร้างอากาศยานที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศขึ้นมาในปีพ.ศ. 2443 สหรัฐก็ได้ทำการทดลองใช้อากาศยานแบบดังกล่าวทำการบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือในปีพ.ศ. 2453 และตามมาด้วยการทดสอบการลงจอดในปีพ.ศ. 2454 ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เครื่องบินลำแรกที่ทำการบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือสำเร็จได้ทำการบินจากเรือเอชเอ็มเอส ฮิเบอร์นาของราชนาวีอังกฤษ

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ก็เกิดเรือบรรทุกเครื่องบินทะเลลำแรกขึ้นคือ เรือบรรทุกเครื่องบินทะเลวากะมิยะของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรือลำแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการเข้าโจมตีด้วยเครื่องบินจากทะเล[2][3] เรือลำดังกล่าวได้ต่อสู้กับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยบรรทุกเครื่องบินมัวริซ ฟาร์แมนสี่ลำ ซึ่งจะนำขึ้นลงดาดฟ้าเรือด้วยเครนยก ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2457 เครื่องบินมัวริซ ฟาร์แมนลำหนึ่งได้ทำการบินจากเรือวากะมิยะและเข้าโจมตีเรือลาดตระเวนไคเซอร์ริน อลิซาเบธของออสเตรียฮังการีและเรือปืนจากัวร์ของเยอรมนี แต่กลับพลาดเป้าทั้งสอง[4][5]

การพัฒนาเรือดาดฟ้าเรียบทำให้เกิดเรือขนาดใหญ่ลำแรกๆ ขึ้น ในปีพ.ศ. 2461 เรือเอชเอ็มเอส อาร์กัสได้กลายเป็นเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกของโลกที่สามารถนำเครื่องบินขึ้นและลงจอดได้[6] เมื่อถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 2463 การปฏิวัติเรือบรรทุกแบบต่างๆ ก็เป็นไปได้ด้วยดี ส่งผลให้เกิดเรืออย่าง เรือโฮวโชว (พ.ศ. 2465) เอชเอ็มเอส เฮอร์เมส (พ.ศ. 2467) และเรือเบียน (พ.ศ. 2470) เรอืบรรทุกอากาศยานลำแรกๆ นั้นเป็นเรือที่ดัดแปลงมาจากเรือหลายแบบ เช่น เรือบรรทุก เรือลาดตระเวน เรือลาดตระเวนประจัญบาน หรือเรือประจัญบาน สนธิสัญญาวอชิงตันในปีพ.ศ. 2465 มีผลต่อการสร้างเรือบรรทุก สหรัฐและราชอาณาจักรได้รับอนุญาตให้สร้างเรือบรรทุกที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 135,000 ตัน ในขณะที่บางกรณีที่มีข้อยกเว้นให้สามารถดัดแปลงเรือหลักขนาดใหญ่กว่าให้เป็นเรือบรรทุกได้ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเลกซิงตัน (พ.ศ. 2470)

ความสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2

The Royal Navy's HMS Ark Royal in 1939, with Swordfish biplane bombers passing overhead. The British aircraft carrier was involved in the crippling of the German battleship Bismarck in May 1941Shōkaku upon completion, 23 August 1941ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (CV-6), the most decorated U.S. warship of World War II

ในช่วงทศวรรษที่ 2456 กองทัพเรือมากมายเริ่มสั่งซื้อและสร้างเรือบรรทุกอากาศยานที่ทำการออกแบบเป็นพิเศษ นี่ทำให้การออกแบบนั้นตอบรับกับบทบาทในอนาคตและทำให้เกิดเรือที่ทรงอานุภาพ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือเหล่านี้ได้กลายมาเป็นกำลังสำคัญของกองเรือสหรัฐ อังกฤษ และญี่ปุ่น โดยเรียกเรือเหล่านี้ว่า กองเรือบรรทุกเครื่องบิน

เรือบรรทุกอากาศยานถูกใช้อย่างหนักในสงครามโลกครั้งที่สองและมีแบบที่หลากหลายตามมา เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน เช่น ยูเอสเอส โบกถูกสร้างขึ้นแต่ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าเรือบางลำจะถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์นั้นๆ แต่เรือส่วนมากเป็นเรือดัดแปลงจากเรือสินค้าเพราะว่าเป็นเรือที่มีระยะหยุดเหมาะที่จะให้การสนับสนุนทางอากาศแก่ขบวนเรือและการรุกสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เรือบรรทุกอากาศยานขนาดเบาที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐ เช่น ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์เป็นเรือที่นำแนวคิดเรือบรรทุกอากาศยานคุ้มกันมาทำเป็นเรือที่ใหญ่ขึ้นและมีศักยภาพทางทหารมากขึ้น แม้ว่าเรือบรรทุกขนาดเบามักจะบรรทุกกองบินที่มีขนาดเท่ากับกองบินบนเรือบรรทุกคุ้มกัน แต่เรือบรทุกขนาดเบามีความได้เปรียบด้วยความเร็วที่เหนือกว่าเพราะเรือเหล่านี้ถูกดัดแปลงมาจากเรือครุยเซอร์

ไฟสงครามทำให้เกิดการสร้างเรือและการดัดแปลงเรือที่ไม่ได้ทำตามแบบปกติ เรือแคม (CAM) เช่น เรือเอสเอส ไมเคิล อี เป็นเรือบรรทุกสินค้าที่สามารถส่งเครื่องบินขึ้นฟ้าด้วยเครื่องดีด แต่ไม่สามารถรับเครื่องบินลงจอดได้ เรือเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในภาวะฉุกเฉินในสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับเรือพาณิชย์บรรทุกอากาศยาน เช่น เรือเอ็มวี เอ็มไพร์ แมคอัลไพน์ เรือดำน้ำบรรทุกอากาศยาน เช่น เรือดำน้ำบรรทุกอากาศยานเซอร์คูฟของฝรั่งเศส และเรือดำน้ำชั้นI-400 ของญี่ปุ่นที่สามารถบรรทุกเครื่องบินไอชิ เอ็ม6เอได้สามลำ ซึ่งถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในทศวรรษที่ 2463 แต่ไม่ประสบความสำเร็จนักในสงครามโลกครั้งที่ 1

กองทัพเรือสมัยใหม่ที่ใช้เรือแบบดังกล่าวจะใช้เรือบรรทุกอากาศยานเป็นเรือหลักของกองเรือ ซึ่งเดิมที่เป็นหน้าที่ของเรือประจัญบาน ในขณะที่บางคนจดจำการที่เรือเหล่านี้เป็นเรือหลักดำน้ำพร้อมขีปนาวุธ แต่ที่จดจำกันได้มากคืออำนาจการยิงของเรือที่ใช้เป็นเครื่องขัดขว้างนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ มากกว่าหน้าที่ของเรือเหล่านี้ในกองเรือ[7] การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อตอบสนองกับการที่อำนาจทางอากาศเริ่มมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะศัตรู สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือเครื่องบินพิสัยไกล คล่องแคล่ว และมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติการเรือบรรทุกเครื่องบินยังคงดำเนินต่อไปภายหลังสงครามทั้งในด้านขนาดและความสำคัญ เรือบรรทุกอากาศยานขนาดหนักที่มีระวางขับน้ำ 75,000 ตันหรือมากกว่านั้น ได้กลายมาเป็นจุดสุดยอดของการพัฒนา บางลำใช้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นแหล่งพลังงานและเป็นแกนหลักของกองเรือที่ทำหน้าที่ระยะไกล เรือจู่โจมสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เช่น ยูเอสเอส ทาราวาและเอชเอ็มเอส โอเชียน มีหน้าที่บรรทุกและรับส่งนาวิกโยธินและยังใช้เฮลิคอปเตอร์จำนวนมากเพื่อทำปฏิบัติการดังกล่าว เรือเหล่านี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า"เรือบรรทุกเครื่องบินคอมมานโด"หรือ"เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์"ซึ่งมีบทบาทรองในการบรรทุกและใช้งานอากาศยานขึ้นลงในแนวดิ่ง

ด้วยสาเหตุที่เรือเหล่านี้ไม่มีอำนาจการยิงเท่าเรือแบบอื่น ทำให้เรือบรรทุกเครื่องบินตกเป็นเป้าของเรือ เครื่องบิน เรือดำน้ำ และขีปนาวุธของศัตรู ดังนั้นเรือบรรทุกอากาศยานจึงต้องร่วมเดินทางพร้อมกับเรือแบบอื่นๆ ในจำนวนมากเพื่อให้การป้องกัน ให้เสบียง และให้การสนับสนุนเชิงรุก โดยเรียกกองเรือแบบนี้ว่ากองยุทธการหรือกองเรือบรรทุกเครื่องบิน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สนธิสัญญาอย่างสนธิสัญญาวอชิงตัน สนธิสัญญาลอนดอน และสนธิสัญญาลอนดอนครั้งที่ 2 ได้จำกัดขนาดของเรือ เรือบรรทุกอากาศยานตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกสร้างอย่างไร้ข้อจำกัดโดยขึ้นอยู่กับงบประมาณและทำให้เรือสามารถบรรทุกเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ เรือบรรทุกเครื่องบินยุคใหม่ที่มีขนาดใหญ่อย่างเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของกองทัพเรือสหรัฐมีระวางขับน้ำมากกว่าเรือยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงสี่เท่า แต่กระนั้นก็ยังคงใช้อากาศยานที่ไม่เปลี่ยนไปมากนัก ซึ่งเป็นผลมาจากขนาดและน้ำหนักของเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นอย่างคงที่ตลอดหลายปี

ความสำคัญในยุคสมัยใหม่

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นอิโวจิมาทริโปลีของสหรัฐเรือบรรทุกเครื่องบินมินาส เกเรียสของบราซิลในปีพ.ศ. 2527

ปัจจุบันเรือบรรทุกอากาศยานเป็นเรือที่มีราคาแพงมากจนทำให้ชาติที่ครอบครองเรือชนิดดังกล่าวสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาทางการเมือง การเงิน และการทหารถ้าหากสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยานหรือนำพวกมันไปใช้ในสงครามก็ตาม ผู้สังเกตการณ์มองว่าอาวุธต่อต้านเรือสมัยใหม่ เช่น ตอร์ปิโดและขีปนาวุธ ทำให้เรือบรรทุกอากาศยานตกเป็นเป้าอย่างง่ายในการรบสมัยใหม่ อาวุธนิวเคลียร์สามารถสร้างภัยให้กับกองเรือได้ทั้งกองเรือหากทำการรบแบบเปิดเผย ในอีกทางหนึ่งบทบาทของเรือบรรทุกอากาศยานก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นเรือที่มีหน้าที่สำคัญในการสงครามไม่สมมาตรเหมือนอย่างนโยบายเรือปืนที่เกิดขึ้นในอดีต นอกจากนี้เรือบรรทุกอากาศยานยังช่วยสร้างอำนาจทางทหารเหนือฝ่ายศัตรูได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำโดยเฉพาะเมื่อต้องทำการรบนอกประเทศ[8]

พลเรือเอกเซอร์มาร์ค แสตนโฮป หัวหน้ากองทัพเรืออังกฤษได้กล่าวไว้ว่า "พูดง่ายๆ คือ ประเทศที่ต้องการมีอิทธิพลทางยุทธศาสตร์นานาชาติต่างมีเรือบรรทุกอากาศยานในครอบครองทั้งนั้น"[9]

เรือบรรทุกเครื่องบินในประจำการ

เรือบรรทุกเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ของแต่ละประเทศ

Most navies only operate one or two aircraft carriers, if any. The USA is a notable exception, having large numbers in service.

A total of 20 fleet carriers are in active service with ten navies. Additionally, the navies of Australia, Brazil, China, France, India, Italy, Japan, South Korea, Spain, Thailand, the United Kingdom, and the United States also operate ships capable of carrying and operating multiple helicopters and STOVL aircraft.

  • CATOBAR types are operated by Brazil, France and especially the USA, which has ten in service.
  • STOBAR type are operated by China, India and Russia.
  • STOVL types are operated by India, Italy, Spain and the USA.

Among helicopter-only types:

  • ASW ships are operated by Japan.
  • An offshore helicopter support ship is operated by Thailand.
  • Amphibious assault ships are operated by France, the Republic of Korea, the United Kingdom and especially the USA, which has nine in service.

ใกล้เคียง

เรือบรรทุกอากาศยาน เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือบรรทุกอากาศยานชินาโนะ เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง เรือบรรทุกอากาศยานชั้นควีนเอลิซาเบธ เรือบรรทุกเครื่องบินคางะ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเอสเซ็กซ์ เรือบรรทุกเครื่องบินโชกากุ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรือบรรทุกอากาศยาน http://www.airforce-magazine.com/MagazineArchive/P... http://www.bartleby.com/61/84/A0158400.html http://www.bharat-rakshak.com/NAVY/Ships/Future/18... http://navigatus.exteen.com/20130105/entry http://navigatus.exteen.com/20130323/entry http://www.foxnews.com/world/2012/11/25/china-land... http://www.freewebs.com/jeffhead/worldwideaircraft... http://www.freewebs.com/jeffhead/worldwideaircraft... http://ibnlive.in.com/news/aircraft-carrier-ins-vi... http://www.livemint.com/Politics/7YSe7KF2UkZUdZK2p...