ประเภท ของ เรือบรรทุกอากาศยาน

เรือบรรทุกเครื่องบินเซาเปาลูของบราซิลเรือบรรทุกเครื่องบินคาวัวร์ของอิตาลีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด็อกโดของเกาหลีใต้

(with US Hull classification symbol)

ประเภทแบ่งตามบทบาท

กองเรือบรรทุกเครื่องบินมักจะออกปฏิบัติการพร้อมกับกองเรือหลักและมีบทบาทในเชิงรุก เรือเหล่านี้คือเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถทำความเร็วสูงได้ เมื่อเทียบกันแล้ว เรือบรรทุกอากาศยานคุ้มกันนั้นถูกออกแบบเพื่อให้การป้องกันกับขบวนเรือมากกว่า เรือเหล่านั้นเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกว่าและเคลื่อนที่ช้ากว่าพร้อมกับบรรทุกเครื่องบินในจำนวนน้อยกว่าเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วเรือพวกนี้จะถูกสร้างจากโครงเรือพาณิชย์ ในกรณีที่ต้องการเรือพาณิชย์บรรทุกอากาศยาน หรือสร้างจากเรือบรรทุกสินค้าโดยการเสริมลานบินเข้าไปที่ดาดฟ้าเรือ ส่วนเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเบาเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีความเร็วพอที่จะออกปฏิบัติการพร้อมกับกองเรือขนาดเล็กและใช้อากาศยานในจำนวนน้อย ปัจจุบันเรือบรรทุกอากาศยานของโซเวียตที่ใช้โดยรัสเซียจะเรียกกันว่าเรือลาดตระเวนการบิน เรือชนิดนี้มีขนาดเทียบเท่ากับเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ที่สามารถออกปฏิบัติการเพียงลำพังหรือพร้อมกับเรือคุ้มกัน และสามารถให้การสนับสนุนเชิงรุกและเชิงรับที่เทียบเท่าได้กับเรือลาดตระเวนติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี ซึ่งบทบาทนี้มีเพื่อสนับสนุนเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์

ประเภทแบ่งตามองค์ประกอบ

เรือบรรทุกอากาศยานมีทั้งหมด 3 ประเภทเมื่อแบ่งตามลักษณะของเรือโดยใช้กับกองทัพเรือทั่วโลก โดยแบ่งด้วยวิธีที่ใช้ในการส่ง-รับเครื่องบิน

  • ส่งด้วยเครื่องดีดและรับด้วยสายรั้งหรือคาโทบาร์ (CATOBAR): เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มักจะบรรทุกอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หนักที่สุด และติดอาวุธจำนวนมาก แม้ว่าเรือที่มีขนาดเล็กลงมาในประเภทนี้อาจมีข้อจำกัดอื่นอีก (เช่น น้ำหนักที่ลิฟท์ขนเครื่องบินจะรับได้) มีสามประเทศที่ใช้เรือประเภทนี้ คือ สหรัฐอเมริกา 10 ลำ ฝรั่งเศส 1 ลำ และบราซิล 1 ลำ
  • บินขึ้นด้วยระยะสั้นและรับด้วยสายรั้งหรือสโตบาร์ (STOBAR): เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่บรรทุกอากาศยานปีกนิ่งขนาดเบาแต่มีอาวุธมากกว่า เครื่องบินที่ใช้บนเรือประเภทนี้อย่างซุคฮอย ซู-33 และมิโคยัน มิก-29เคที่ใช้บนเรือบรรทุกอากาศยานพลเรือเอกคุซเนตซอฟมักทำหน้าที่สร้างความเป็นเจ้าอากาศและการป้องกันกองเรือมากกว่าหน้าที่ในการเข้าโจมตี ซึ่งต้องมีอาวุธขนาดหนัก (เช่น ระเบิดและขีปนาวุธอากาศสู่พื้น) ปัจจุบันมีเพียงรัสเซียเท่านั้นที่มีเรือประเภทนี้ในครอบครอง จีนได้สร้างเรือบรรทุกอากาศยานเหลียวหนิงขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเรือพี่น้องของเรือพลเรือเอกคุซเนตซอฟ พร้อมกับสร้างเครื่องบินเลียนแบบซู-33 เรือลำนี้ปัจจุบันมีหน้าที่ในการเป็นตัวทดลองและใช้ในการฝึก รัสเซียเองก็กำลังเตรียมที่จะสร้างเรือแบบที่คล้ายกันให้กับอินเดียโดยใช้แบบของเรือชั้นเคียฟ
  • บินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่งหรือเอสโทฟล์ (STOVL): เรือประเภทที่สามารถบรรทุกได้เพียงอากาศยานแบบเอสโทฟล์เท่านั้น เช่น เครื่องบินตระกูลแฮร์ริเออร์จัมพ์เจ็ทและยาโกเลฟ ยัค-38 ซึ่งมีอาวุธจำกัด ศักยภาพต่ำ และใช้เชื้อเพลิงมากกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องบินแบบปกติ อย่างไรก็ตามเครื่องบินเอสโทฟล์แบบใหม่อย่างเอฟ-35 ไลท์นิง 2ก็มีศักยภาพที่มากขึ้นกว่าเดิม เรือประเภทนี้ประจำการอยู่ในกองทัพเรือของอินเดียและสเปนประเทศลำหนึ่งลำ อิตาลีมีสองลำ สหราชอาณาจักรและไทยมีประเทศละหนึ่งลำแต่ทั้งสองประเทศไม่ได้ใช้เครื่องบินเอสโทฟว์ต่อไปแล้ว เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกของสหรัฐที่ทำหน้าที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กก็สามารถจัดได้ว่าเป็นเรือประเภทนี้เช่นกัน

ประเภทแบ่งตามขนาด

ใกล้เคียง

เรือบรรทุกอากาศยาน เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือบรรทุกอากาศยานชินาโนะ เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง เรือบรรทุกอากาศยานชั้นควีนเอลิซาเบธ เรือบรรทุกเครื่องบินคางะ เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเอสเซ็กซ์ เรือบรรทุกเครื่องบินโชกากุ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรือบรรทุกอากาศยาน http://www.airforce-magazine.com/MagazineArchive/P... http://www.bartleby.com/61/84/A0158400.html http://www.bharat-rakshak.com/NAVY/Ships/Future/18... http://navigatus.exteen.com/20130105/entry http://navigatus.exteen.com/20130323/entry http://www.foxnews.com/world/2012/11/25/china-land... http://www.freewebs.com/jeffhead/worldwideaircraft... http://www.freewebs.com/jeffhead/worldwideaircraft... http://ibnlive.in.com/news/aircraft-carrier-ins-vi... http://www.livemint.com/Politics/7YSe7KF2UkZUdZK2p...