เศรษฐกิจญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่น

เศรษฐกิจญี่ปุ่น

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก[11][12] รองจาก สหรัฐอเมริกา และ ประเทศจีน ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว[13] ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในรัชสมัยโชวะ จักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก แม้ว่าจะพ่ายแพ้สงครามแต่ญี่ปุ่นก็สามารถไต่เต้าขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และครองตำแหน่งนี้ยาวนานกว่าสองทศวรรษจนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1990 ญี่ปุ่นก็กลายเป็นชาติเศรษฐกิจอันดับสองของโลกจนถึงปี 2009 จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อำนาจซื้อต่อหัวของญี่ปุ่นในเวทีโลก อยู่ที่ 35,855 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 22 ของโลก[14] การคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีการสำรวจเป็นรายไตรมาสที่เรียกว่า ทังกัง จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น[15]ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผลิตยานยนต์ได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก[16] นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่มักจะมีการจัดอันดับในบรรดาหมู่ประเทศนวัตตกรรมชั้นนำ[17] ซึ่งในระยะหลังมานี้ญี่ปุ่นต้องเผชิญการแข่งขันกับ จีน และ เกาหลีใต้[18] ที่เริ่มช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตเป็นหลัก ซึ่งใช้แรงงานคนน้อย และมีความแม่นยำมากกว่า จำพวก ยานยนต์ไฮบริด และหุ่นยนต์อัตโนมัติต่างๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในโรงงานในภูมิภาคคันโต[19][20][21][22] ทั้งนี้ภูมิภาคคันไซก็เป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมชั้นนำและศูนย์การผลิตสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น [23]

เศรษฐกิจญี่ปุ่น

สกุลเงิน เยน (JPY)
รายรับ $1.1 ล้านล้าน (2011 ปมก.)
FDI $161.4 พันล้าน (2010 ปมก.)
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ $9.7 พันล้าน (ODA. กุมภาพันธ์ 2007)
ภาคแรงงาน เกษตรกรรม: 3.9%, อุตสาหกรรม: 26.2%, บริการ: 69.8% (2010 ปมก.)
สินค้าส่งออก ยานยนต์ 13.6%; อุปกรณ์กึ่งตัวนำ 6.2%; เหล็กและโลหะภัณฑ์ 5.5%; ชิ้นส่วนยานยนต์ 4.6%; วัสดุพลาสติก 3.5%; เครื่องจักรกล 3.5%
อันดับทางเศรษฐกิจ 3 (ตัวเงิน)
4 (อำนาจซื้อ)
มูลค่าส่งออก $788 พันล้าน (2011 ปมก.)
ปีงบประมาณ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
แรงงาน 65.93 ล้านคน (2011 ปมก.)
หนี้ต่างประเทศ $2.719 ล้านล้าน (มิ.ย. 2011)
ประเทศส่งออกหลัก  จีน 18.1%
 สหรัฐ 17.8%
 เกาหลีใต้ 7.7%
 ไทย 5.5%
 ฮ่องกง 5.1% (2012 ปมก.) [5]
หนี้สาธารณะ $13.64 ล้านล้าน / 229.77% ของจีดีพี (2011 ปมก.)[7]
จีดีพีต่อหัว $46,736 (2012 ปมก.) (ตัวเงิน. 14 ของโลก)
$36,266 (2012 ปมก.) (อำนาจซื้อ. 23 ของโลก)
เงินเฟ้อ (CPI) 3.2% (พ.ค. 2014)[1]
รายจ่าย $1.157 ล้านล้าน (2011 ปมก.)
ภาคจีดีพี เกษตรกรรม: 1.2%, อุตสาหกรรม: 27.5%, บริการ: 71.4% (2012 ปมก.)
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ 24[4]
อุตสาหกรรมหลัก ยานยนต์และส่วนควบ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร, เหล็ก และ โลหะนอกลุ่มเหล็ก, เรือ, เคมีภัณฑ์, สิ่งทอ, อาหารแปรรูป
ประชากรยากจน 16% (2010)[2]
ทุนสำรอง US$1.154 ล้านล้าน (เมษายน 2011)[10]
อันดับความเชื่อมั่น สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส:[8]
AA- (ในประเทศ)
AA- (ระหว่างประเทศ)
AAA (T&C Assessment)
ภาพลักษณ์: มีเสถียรภาพ[9]
มูดดี้ส์:[9]
A1
ภาพลักษณ์: ดี
ฟิทซ์:[9]
A-
ภาพลักษณ์: ดี
จีดีพี $5.964 ล้านล้าน (2012 ประมาณการ) (ตัวเงิน) $4.628 ล้านล้าน (2012 ปมก.) (อำนาจซื้อ)
ภาคีการค้า APEC, WTO, OECD, G-20, G8 และอื่นๆ
สินค้านำเข้า ปิโตรเลียม 15.5%; ก๊าซธรรมชาติเหลว 5.7%; เสื้อผ้า 3.9%; อุปกรณ์กึ่งตัวนำ 3.5%; ถ่านหิน 3.5%; อุปกรณ์ภาพและเสียง 2.7%
มูลค่านำเข้า $808.4 พันล้าน (2011 ปมก.)
ประเทศนำเข้าหลัก  จีน 21.3%
 สหรัฐ 8.8%
 ออสเตรเลีย 6.4%
 ซาอุดีอาระเบีย 6.2%
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5.0%
 เกาหลีใต้ 4.6%
 กาตาร์ 4.0% (2012 est.) [6]
จีนี 38.1 (2002)
ว่างงาน 4.6% (2011 ปมก..)[3]
จีดีพีเติบโต 2.6% (ไตรมาส1/2014)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐกิจญี่ปุ่น http://www.bbc.com/news/business-27615551 http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601068&si... http://www.bloomberg.com/quote/TPX:IND http://www.finfacts.com/Private/curency/nikkei225p... http://www.standardandpoors.com/ratings/sovereigns... http://www.irs.gov/Individuals/International-Taxpa... http://www.wipo.int/ipstats/en/statistics/patents/ http://www.ritsumei.ac.jp/acd/re/k-rsc/ras/04_publ... http://pari.u-tokyo.ac.jp/policy/paper/IAMOT2010_j... http://www.bloomberg.co.jp/apps/news?pid=90003007&...