เศรษฐกิจยุโรป

เศรษฐกิจยุโรป ประกอบด้วยผู้คนกว่า 731 ล้านคนในประเทศต่าง ๆ 48 ประเทศ เช่นเดียวกับทวีปอื่น ๆ ความร่ำรวยของรัฐในทวีปยุโรปมีความแตกต่างกันออกไป แม้ว่าคนยากจนที่สุดของทวีปนี้จะดีกว่าคนยากจนที่สุดของทวีปอื่น ๆ ในแง่ของจีดีพีและมาตรฐานการครองชีพก็ตาม การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ประเทศในยุโรปใกล้ชิดกันมากขึ้น ปิดท้ายในการก่อตัวสหภาพยุโรป (อียู) และในปี ค.ศ. 1999 ได้มีการนำสกุลเงินยูโรมาใช้ร่วมกัน ความแตกต่างของความมั่งคั่งทั่วทวีปยุโรปสามารถเห็นได้อย่างคร่าว ๆ ในช่วงก่อนสงครามเย็น กับบางประเทศที่บาดหมางเรื่องการแบ่งแยก (กรีซ, โปรตุเกส, สโลวีเนีย และสาธารณรัฐเช็ก) ขณะที่ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่มีค่าจีดีพีต่อหัวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกและมีการพัฒนาสูงมาก (ลิกเตนสไตน์, ลักเซมเบิร์ก, โมนาโก, อันดอร์รา, นอร์เวย์, สวีเดน, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์) แม้ตำแหน่งของพวกเขามากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก (ยกเว้นมอลโดวา) แต่บางเศรษฐกิจในยุโรป ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ (แอลเบเนีย, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, จอร์เจีย, มาซิโดเนีย, คอซอวอ, เซอร์เบีย, เบลารุส, ยูเครน) ก็ยังคงไล่ตามประเทศผู้นำของยุโรปตลอดบทความ"ทวีปยุโรป"นี้ และบางส่วนของคำจะรวมถึงรัฐซึ่งมีอาณาเขตเพียงบางส่วนในยุโรปเท่านั้น – เช่น ตุรกี (ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ – ทั้งประเทศหรือเพียงเธรซ), อาเซอร์ไบจาน (คอเคซัส) และสหพันธรัฐรัสเซีย (ส่วนยุโรปไปยังเทือกเขาอูราล) – และรัฐที่มีภูมิศาสตร์ในทวีปเอเชีย โดยอยู่ติดกับทวีปยุโรปและยึดมั่นวัฒนธรรมตามทวีปยุโรป – เช่น อาร์มีเนีย, จอร์เจีย และไซปรัสทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 2010 มีผลผลิตมวลรวมในประเทศอยู่ที่ 19.920 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (30.2% ของโลก) เศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปคือประเทศเยอรมนี ซึ่งอยู่ในอันดับที่สี่ของจีดีพีโลก และอันดับห้าในจีดีพีภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (พีพีพี)[2] ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร ในอันดับห้าของจีดีพีโลก, ฝรั่งเศส ในอันดับหกของจีดีพีโลก, อิตาลี ในอันดับเจ็ดของจีดีพีโลก, รัสเซีย ในอันดับสิบของจีดีพีโลก และสเปน ในอันดับสิบสามของจีดีพีโลก[3] ซึ่งทั้ง 6 ประเทศนี้ล้วนอยู่ใน 15 อันดับสูงสุดของโลก ดังนั้นเศรษฐกิจในยุโรปจึงมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของ 10 ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดเศรษฐกิจสหภาพยุโรปโดยรวมถือได้ว่าร่ำรวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เหนือกว่าสหรัฐที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงวิกฤตการณ์การเงิน[4] ในปี ค.ศ. 2009 ยุโรปยังคงเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่งที่สุดในโลก โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการจำนวน 33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวแทนของความมั่งคั่งมากกว่าหนึ่งในสามของโลก แตกต่างจากอเมริกาเหนือ (29.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ความมั่งคั่งทะลุยอดก่อนวิกฤติสิ้นปี[5]จาก 500 บริษัทรายใหญ่ที่สุดที่วัดโดยรายได้ (ฟอร์ชูนโกลบอล 500 ในปี ค.ศ. 2010) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ 184 รายในทวีปยุโรป แบ่งเป็น 161 รายตั้งอยู่ในสหภาพยุโรป, 15 รายในสวิตเซอร์แลนด์, 6 รายในรัสเซีย, 1 รายในตุรกี, 1 รายในนอร์เวย์[6]ตามที่ระบุไว้ในปี ค.ศ. 2010 โดยมานูเอล กัสเตลล์ ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยาชาวสเปน เผยว่า มาตรฐานการครองชีพเฉลี่ยของยุโรปตะวันตกนั้นสูงมาก กล่าวคือ: "ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตกยังคงมีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในโลก รวมถึงประวัติศาสตร์ของโลก"[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐกิจยุโรป http://money.cnn.com/magazines/fortune/global500/2... http://www.pr-inside.com/global-wealth-stages-a-st... http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2010/02/we... http://unstats.un.org/unsd/snaama/dnltransfer.asp?... https://books.google.com/books?id=1wDLJAGDRGYC&pg=... https://www.cia.gov/library/publications/the-world... https://www.cia.gov/library/publications/the-world... https://web.archive.org/web/20110520174617/http://...