ประวัติ ของ เศรษฐกิจไทย

การเติบโตของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปี 2504–2558

ในช่วงสงครามเวียดนาม (2508–2518) เงินช่วยเหลือจากสหรัฐหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย มีการพัฒนาชนบทอย่างกว้างขวาง มีการลงทุนจากเอกชนต่างประเทศในโครงสร้างพื้นฐานและมีการขยายอุดมศึกษาเพื่อสร้างนักวิชาการเพื่อรองรับเศรษฐกิจดังกล่าว ในช่วงนี้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ ประมาณปีละ 7% ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไปเป็นแบบอุตสาหกรรม ประเทศไทยมีการกลายเป็นเมือง ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบทสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเติบโตของประชากรอย่างก้าวกระโดด[36]:22–4

ระหว่างปี พ.ศ. 2529 - 2539 เป็นยุคของการเปิดเสรีครั้งใหญ่และการเติบโตแบบเศรษฐกิจฟองสบู่ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจทุนนิยมโลกปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลสำคัญ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบเงินเยนญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ โยกย้ายการลงทุนมาไทยและเอเชียอาคเนย์เพิ่มมากขึ้น การส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลที่มาจากนักธุรกิจ ข้าราชการ และชนชั้นกลางก็เปิดเสรีทางการเงิน การค้า การลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตสูงเฉลี่ยราวร้อยละ 8 - 10 ต่อปี[37]

อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ประชากรหลายล้านคนตกงาน และจนกระทั่ง พ.ศ. 2544 ที่ประเทศไทยสามารถควบคุมค่าเงินและเศรษฐกิจได้อีกครั้งหนึ่ง

นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ทักษิณ ชินวัตร รับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ด้วยเจตนาจะเพิ่มกิจกรรมภายในประเทศและลดการพึ่งพาการค้าและการลงทุนต่างประเทศ นับแต่นั้น การบริหารประเทศเป็นไปตามนโยบายเศรษฐกิจ "รางคู่" (dual track) ซึ่งรวมกิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นกับการสนับสนุนตลาดเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศของไทย นโยบายดังกล่าวเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า ทักษิโณมิค อุปสงค์การส่งออกที่อ่อนทำให้อัตราเติบโตของจีดีพีใน พ.ศ. 2544 อยู่ที่ 2.2% แต่ในสามปีต่อมา กิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นและการฟื้นฟูการส่งออกทำให้สมรรถนะของประเทศกลับคืนอีกครั้ง โดยมีอัตราการเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ 5.3%, 7.1% และ 6.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2548 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและการขาดดุลการค้า ภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรง ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงขึ้นถึงที่สุด อนาคตที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลทักษิณ และผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเหลือ 4.5%

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

หลังปี 2555

ในปี 2555 ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวจากอุทกภัยร้ายแรงเมื่อปีกลาย รัฐบาลยิ่งลักษณ์วางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ตั้งแต่ระบบจัดการน้ำระยะยาวจนถึงลอจิสติกส์

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ครึ่งปีแรก สำนักข่าวทั่วโลกเอเอฟพีจัดพิมพ์บทความซึ่งอ้างว่าประเทศไทยอยู่บน "ขอบภาวะเศรษฐกิจถดถอย" หัวเรื่องหลักของบทความคือการที่ชาวกัมพูชาเกือบ 180,000 คนออกจากประเทศไทยด้ยวเกรงการปราบปรามการเข้าเมือง

หลังปี 2560

ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกประมาณ 70-75% ของจีดีพี[38] ส่วนใหญ่ฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของไทยมาจากนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก[39] จากสาเหตุดังกล่าวรัฐบาลจึงมักมีแนวคิดให้ค่าแรงในประเทศนั้นต่ำที่สุดและให้ราคาสินค้าในประเทศนั้นต่ำที่สุดเพื่อให้ราคาสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง[40]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐกิจไทย http://journals.cluteonline.com/index.php/IBER/art... http://infocraftic.com/international-tourist-thail... http://www.nytimes.com/2010/07/19/world/asia/19tha... http://www.standardandpoors.com/ratings/sovereigns... http://thailand-business-news.com/ http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Thailand.pdf http://www.komchadluek.net/news/crime/108750 http://www.adb.org/sites/default/files/poverty-inc... http://web.archive.org/20090611003823/www.culture.... http://www.doingbusiness.org/data/exploreeconomies...