เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจกำลังพัฒนาแบบผสมและเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[23] เมื่อปี 2561 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในรูปตัวเงิน (ราคาตลาด) เป็นอันดับที่ 25 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (พีพีพี) เป็นอันดับที่ 20 ของโลก นับว่าใหญ่สุดเป็นอันดับสองของอาเซียน มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.1%[4]ภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นภาคหลักในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย โดยภาคอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วน 39.2% ของจีดีพี ภาคเกษตรกรรมเป็นสัดส่วน 8.4% ของจีดีพี น้อยกว่าภาคการขนส่งและการค้า ตลอดจนการสื่อสาร ซึ่งเป็นสัดส่วน 13.4% และ 9.8% ของจีดีพีตามลำดับ ภาคก่อสร้างและเหมืองแร่เป็นสัดส่วน 4.3% ของจีดีพี ภาคอื่น (ซึ่งรวมภาคการเงิน การศึกษา โรงแรมและร้านอาหาร) เป็นสัดส่วน 24.9% ของจีดีพี[3] โทรคมนาคมและการค้าบริการกำลังกำเนิดเป็นศูนย์กลางการขยายอุตสาหกรรมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ[24][25]ในปี 2551 ประเทศไทยส่งข้าวออกคิดเป็นประมาณ 33% ของการค้าข้าวทั่วโลก[26] ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ที่สุดของโลก[27] และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก[28] ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก และมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 25 ของโลก ประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและเกาหลีใต้[29]ธนาคารโลกรับรองประเทศไทยว่าเป็น "นิยายความสำเร็จการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง" (one of the great development success stories) จากตัวชี้วัดทางสังคมและการพัฒนา[30] แม้รายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัวต่ำ คือ 5,210 ดอลล่าร์สหรัฐ[31] และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) อยู่ที่อันดับที่ 89 แต่ประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลงจาก 65.26% ในปี 2531 เหลือ 8.6% ในปี 2559 ตามเส้นฐานความยากจนใหม่ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)[32] ในไตรมาสแรกของปี 2556 อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 0.7% ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศกัมพูชา โมนาโกและกาตาร์[33]ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ค่าแรงขั้นต่ำทางการทุกจังหวัดเป็น 300 บาท[34] ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยถือว่าสูงสุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครัวเรือนที่รวยที่สุด 20% มีรายได้ครัวเรือนเกินครึ่ง ดัชนีจีนีของรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ 0.51 ครอบครัวรายได้น้อยและยากจนกระจุกอยู่ในภาคเกษตรกรรมอย่างมาก[35]

เศรษฐกิจไทย

สกุลเงิน บาท
รายรับ 2.397 ล้านล้านบาท (ปีงบฯ 2561)[18]
FDI US$205,500 ล้าน (2560)[15]
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ไม่มี
สินค้าส่งออก คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ผลิตภัณฑ์โลหะ, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม [13]
อันดับทางเศรษฐกิจ 20 (PPP) (IMF, 2561)
25 (ราคาตลาด) (IMF, 2561)
มูลค่าส่งออก US$251,338 ล้าน (2562)[10][11][12]
ปีงบประมาณ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
แรงงาน 37.78 ล้านคน (2562)[7]
หนี้ต่างประเทศ US$148.9 พันล้าน (ไตรมาสที่สี่ 2560)[16]
ประเทศส่งออกหลัก  สหรัฐ 11.4%
 จีน 11%
 สหภาพยุโรป 10.3%
 ญี่ปุ่น 9.6%
 ฮ่องกง 5.3%
อื่น ๆ 52.4% (2559)[14]
หนี้สาธารณะ ร้อยละ 40.78 ของจีดีพี (พฤษภาคม 2561) [17]
จีดีพีต่อหัว $20,474 (PPP, 2562)
$7,607 (ราคาตลาด, 2562) [1]
เงินเฟ้อ (CPI) 1.1% (ทั่วไป) (2561) [4] [5]
0.7% (พื้นฐาน) (2561) [4]
รายจ่าย 2.686 ล้านล้านบาท (ปีงบฯ 2561)[19]
ภาคจีดีพี เกษตรกรรม (8.4%) อุตสาหกรรม (39.2%) บริการ (52.4%) (2555)[3]
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ 21[9]
อุตสาหกรรมหลัก
  • ยานยนต์และชิ้นส่วน (11%)
  • บริการทางการเงิน (9%)
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (8%)
  • การท่องเที่ยว (6%)
  • ซีเมนต์
  • อุตสาหกรรมหนักและเบา
  • เครื่องใช้ในครัวเรือน
  • คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน
  • เฟอร์นิเจอร์
  • พลาสติก
  • สิ่งทอและเสื้อผ้า
  • การแปรรูปเกษตร
  • ยาสูบ
ประชากรยากจน 7.2% (2558)[6]
ทุนสำรอง US$236,020 ล้าน (10 ส.ค. 61)[22]
อันดับความเชื่อมั่น สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส:[20]
A- (ในประเทศ)
BBB+ (ต่างประเทศ)
A (T&C Assessment)
การคาดการในอนาคต: มีเสถียรภาพ[21]
  • มูดีส์:[21]
    Baa1
    การคาดการในอนาคต: มีเสถียรภาพ
  • ฟิทช์:[21]
    BBB
    การคาดการในอนาคต: มีเสถียรภาพ
จีดีพี US$11,310,573 ล้าน (PPP, 2561)
US$490,120 ล้าน (ราคาตลาด, 2561)[1]
ภาคีการค้า WTO, APEC, IOR-ARC, ASEAN
สินค้านำเข้า น้ำมันดิบ, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, เหล็กและเหล็กกล้า, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, เคมีภัณฑ์, ยานยนต์[13]
มูลค่านำเข้า US$222,760 ล้าน (2560) [10][11][12]
ประเทศนำเข้าหลัก  จีน 21.6%
 ญี่ปุ่น 15.8%
 สหภาพยุโรป 9.3%
 สหรัฐ 6.2%
 มาเลเซีย 5.6%
อื่น ๆ 41.5% (2559)[14]
จีนี 0.484 (รายได้) (2554)[6]
0.375 (รายจ่าย) (2554)[6]
ว่างงาน 0.7% (2555)[8]
จีดีพีเติบโต 3.9% (2560) [2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐกิจไทย http://journals.cluteonline.com/index.php/IBER/art... http://infocraftic.com/international-tourist-thail... http://www.nytimes.com/2010/07/19/world/asia/19tha... http://www.standardandpoors.com/ratings/sovereigns... http://thailand-business-news.com/ http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Thailand.pdf http://www.komchadluek.net/news/crime/108750 http://www.adb.org/sites/default/files/poverty-inc... http://web.archive.org/20090611003823/www.culture.... http://www.doingbusiness.org/data/exploreeconomies...