ภาค ของ เศรษฐกิจไทย

เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง

ดูบทความหลักที่: เกษตรกรรมในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้กำหนดให้พื้นที่ของประเทศ 25% เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์และอีก 15% เพื่อการผลิตไม้อย่างเป็นทางการ ป่าเพื่อการอนุรักษ์ถูกจัดตั้งสำหรับการรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและการพักผ่อน ในขณะที่ป่าเพื่อการผลิตเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมป่าไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ระหว่าง พ.ศ. 2535 และ 2544 การส่งออกท่อนซุงและไม้แปรรูปเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ลูกบาศก์เมตรเป็น 2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

การระบาดของไข้หวัดนกในประเทศทำให้ภาคเกษตรกรรมหดตัวระหว่างปี พ.ศ. 2547 ประกอบกับคลื่นสึนามิซึ่งถล่มภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันหลังจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ได้สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมประมงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2548-2549 ภาคเกษตรกรรมมีจีดีพีลดลงถึง 10%[43]

ในปี พ.ศ. 2558 มีเกษตรกรไทย จำนวน 25.07 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 38.14 ของประชากรทั้งประเทศ[44]

ในปี พ.ศ. 2559 เกษตรกรรม การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมงสร้างรายได้ให้กับประเทศคิดเป็นเพียง 8.33% ของจีดีพี ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นผู้ส่งออกกุ้งหลัก พืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ มะพร้าว ข้าวโพด ยางพารา ถั่วเหลือง อ้อยและมันสำปะหลัง[45]ปัจจุบัน ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับ 3 ของโลก อุตสาหกรรมประมงจ้างงานกว่า 3 แสนคน[46] ในปี พ.ศ. 2552 การประมงทำมูลค่าร้อยละ 1.6 ของจีดีพี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการกำลังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปและส่งออก เนื่องจากทางการไทยได้แก้ไขระเบียบหรือกฎหมายต่างๆ ของภาคประมงตามระเบียบของต่างประเทศ[47]ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านการประมง โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ให้ ใบเขียว กับประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดย พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

การทำเหมืองแร่และถ่านหิน

แร่ธาตุหลักที่พบในประเทศไทย รวมไปถึง ฟลูออไรต์ ยิปซัม ตะกั่ว ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ แทนทาลัม ดีบุกและทังสเตน อุตสาหกรรมเหมืองดีบุกได้ลดลงอย่างรุนแรงหลังจาก พ.ศ. 2528 ประเทศไทยจึงกลายมาเป็นประเทศผู้นำเข้าดีบุกตั้งแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2551 แร่ธาตุที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุด คือ ยิปซัม

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยิปซัมรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากแคนาดา ถึงแม้ว่านโยบายของรัฐบาลจะจำกัดการส่งออกยิปซัมเพื่อป้องกันการตัดราคาก็ตาม ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยมีผลผลิตแร่ธาตุมากกว่า 40 ชนิด ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละประมาณ 740 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มากกว่า 80% ของแร่ธาตุนี้บริโภคภายในประเทศ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 เพื่อที่จะกระตุ้นการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ รัฐบาลได้ผ่อนปรนข้อจำกัดอันเข้มงวดในการทำเหมืองโดยบริษัทต่างชาติ[43]

ในปี พ.ศ. 2552 การทำเหมืองแร่และเหมืองหินทำมูลค่าร้อยละ 2.3 ของจีดีพี[48]

ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีการทำเหมืองถ่านหินทั่วประเทศ จำนวน 341 โรงงาน[49]

อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมการผลิต

สำนักงานเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม แบ่ง ประเภทภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไว้ 18 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร[50]

ในปี พ.ศ. 2550 อุตสาหกรรมสร้างรายได้ถึง 43.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แต่มีแรงงานทำงานอยู่เพียง 14% ของแรงงานทั้งหมด สัดส่วนดังกล่าวตรงกันข้ามกับสัดส่วนของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 3.4% ต่อปีระหว่าง พ.ศ. 2538-2548 ภาคย่อยที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม คือ การผลิต ซึ่งสร้างรายได้คิดเป็น 34.5% ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2547

ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในตลาดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ในปี พ.ศ. 2547 ประมาณการผลิตรถยนต์แตะระดับที่ 930,000 คัน มากกว่าสองเท่าของประมาณการผลิตในปี พ.ศ. 2544 ค่ายผู้ผลิตรถยนต์หลักที่ดำเนินการในประเทศ ได้แก่ โตโยต้าและฟอร์ด การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ทำให้ปริมาณการผลิตเหล็กกล้าในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่สามารถผลิตรถยนต์ในประเทศเพื่อคนไทยใช้ได้เลย[51]อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเผชิญกับการแข่งขันจากมาเลเซียและสิงคโปร์ ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอเผชิญการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม [43]ในปี พ.ศ. 2552 การทำยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ครัวเรือน ทำรายได้ร้อยละ 14.0 ของจีดีพี

สถิติอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทย[ต้องการอ้างอิง]
ปียอดผลิคผลิตเพื่อมูลค่าส่งออก
สำเร็จรูป
(ล้านบาท)
ส่งออก
สำเร็จรูป
ต่อจีดีพี
จำหน่าย
ในประเทศ
ส่งออก
ต่างประเทศ
2548 1,125,316690,409434,907203,025.362.86%
2549 1,188,044646,838541,206240,764.093.07%
2550 1,287,379598,287689,092306,595.203.88%
2551 1,394,029610,317783,712351,326.973.87%
2552 999,378447,318552,060251,342.992.79%
2553 1,645,304750,614894,690404,659.374.00%
25541,457,795723,845733,950343,383.923.26%
2555 2,453,7171,432,0521,021,665490,134.744.31%
2556 2,457,0861,335,7831,121,303512,186.404.30%
2557 1,880,007757,8531,122,154527,423.434.02%
2558 1,913,002712,0281,200,974592,5504.41%
2559 1,944,417776,8431,167,574631,845
2560 1,988,823862,3911,126,432603,037
2561 2,167,6941,041,7391,140,640948,397.83

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ในปี พ.ศ. 2552 ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีแรงงาน จำนวน 1045205 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย มีมูลค่าการส่งออก 144594 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของจีดีพี[52]

วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม

ในปี พ.ศ. 2557 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs มีจำนวนกว่า 2736744 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงาน 10501166 คนคิดเป็นร้อยละ 80.3 ของการจ้างงานทั้งหมด และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 5212004 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.6 ของจีดีพี [53]อยู่ในการควบคุมของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

พลังงาน

ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคพลังงานทั้งหมดของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 3,400 ล้านล้านบีทียู ซึ่งคิดเป็นราว 0.7% ของปริมาณการบริโภคพลังงานของทั้งโลก ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายสำคัญ แต่รัฐบาลกำลังสนับสนุนการใช้เอธานอลเพื่อลดการนำเข้าปิโตรเลียมและสารเติมแต่งน้ำมัน เมทิล เทอร์เทียรี บิวทิล อีเธอร์ (MTBE)

ในปี พ.ศ. 2548 ปริมาณการใช้น้ำมันต่อวันอยู่ที่ 133,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 48,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โรงกลั่นน้ำมันสี่แห่งของไทยมีความสามารถทำงานได้ 111,780 ลิตรต่อวัน รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการขนส่งน้ำมันในภูมิภาค รองรับความต้องการของจีนตอนกลางและตอนใต้ ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 2.99 × 1010 ลูกบาศก์เมตร เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 2.2 × 1010 ลูกบาศก์เมตร

ในปี พ.ศ. 2547 อีกเช่นกัน ปริมาณการบริโภคถ่านหินที่ประมาณกันไว้อยู่ที่ 30.4 ล้านตันขนาดเล็ก เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 22.1 ล้านตันขนาดเล็ก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ปริมาณน้ำมันสำรองที่มีการพิสูจน์อยู่ที่ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองอยู่ที่ 420 ลูกบาศก์กิโลกรัม ในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณถ่านหินสำรองหมุนเวียอยู่ที่ 1,492.5 ล้านตันขนาดเล็ก[43]

ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยบริโภคไฟฟ้าอย่างน้อย 117,700 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง การบริโภคไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี พ.ศ. 2549 เป็น 133,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

บริการ

ในปี พ.ศ. 2550 ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน สร้างมูลค่าคิดเป็น 44.7% ของจีดีพีและมีสัดส่วน 37% ของกำลังแรงงาน[43]ในปี พ.ศ. 2557 ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน สร้างมูลค่าคิดเป็น 52% ของจีดีพีและมีสัดส่วน 49% ของกำลังแรงงาน[54] ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทยเปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2560 อัตราการเจริญเติบโตของสินเชื่อ มีอัตราเจริญเติบโตที่ 4.6%[55]

การศึกษา

บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการธุรกิจ “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์” รวม 5 แห่งทั่วประเทศได้เข้าทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2561[56]คนจีนส่วนหนึ่งย้ายเข้ามาประเทศไทยเพื่อนำลูกเข้ามาเรียนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย[57]

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าประเทศอื่นใดในทวีปเอเชียในปี พ.ศ. 2559 ทำรายได้ 2.51 ล้านล้านบาท คิดเป็น 17.7% ของจีดีพี[58] นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม กรุงเทพมหานครมีการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีสายการบินแบบประจำตลอดทั้งปีรวม 110 สายการบิน สายการบินขนส่งอากาศยาน ขนส่งสินค้าอย่างเดียว 10 สายการบิน สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าของผู้โดยสารจำนวน 100 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำระหว่างประเทศ 4 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำภายในประเทศ ไปกลับ สนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวมมากถึง 115 สายการบิน โดยมาจาก 55 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้มี ประเทศโปแลนด์ เท่านั้นที่ทำการบินแบบสายการบินเช่าเหมาลำ ที่ทำการบินมายัง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใน ตลอดปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ต รับผู้โดยสารรวม 25 ประเทศทั่วโลก ท่าอากาศยานดอนเมือง รับผู้โดยสารรวมทั้งหมด 15 ประเทศทั่วโลก และ ท่าอากาศนานาชาติกระบี่ รับผู้โดยสาร รวม 11 ประเทศทั่วโลก จำนวนประเทศที่กล่าวทั้งหมด ไม่นับรวม ประเทศไทย ไม่รวม ฮ่องกง มาเก๊า แซ็ง-เดอนี (เรอูว์นียง)

ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสารจากต่างประเทศมายังประเทศไทยมีทั้งหมด 11 ท่าอากาศยาน โดย ท่าอากาศยานหัวหินเป็นท่าอากาศยานล่าสุดที่ให้บริการในเส้นทางระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ด้านทางเรือ ท่าเรือแหลมฉบัง รับผู้โดยสารจาก ประเทศสิงคโปร์ เพียงประเทศเดียว ด้านการรถไฟ รับผู้โดยสารจาก ประเทศมาเลเซีย เพียงประเทศเดียว

การเพิ่มขึ้นอย่างมากของนักท่องเที่ยวจากชาติในทวีปเอเชียด้วยกันได้สร้างรายได้อย่างมากให้กับประเทศไทย ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ. 2561 นักท่องเที่ยวราว 38.27[59] ล้านคนเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเดินทางมาประเทศไทยมากที่สุด รองลงมาคือประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศมาเลเซีย ด้านนักท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าประเทศมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศรัสเซีย และ ประเทศมาเลเซีย[60] ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานดอนเมือง ทำการบินระหว่าง บริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ ทวีปออสเตรเลีย กับ กรุงเทพมหานคร อีกครั้ง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่กำลังฟื้นตัว การกลับมาเติบโตของเศรษฐกิจจีน วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีผลกระทบน้อยกว่าที่กังวลล่วงหน้า ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองของการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 16% ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 แต่ในช่วงสี่เดือนสุดท้ายของปี นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้กลับมาจนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศของ พ.ศ. 2552 จึงอยู่ที่ 14 ล้านคน ลดลงเพียง 4% เมื่อเทียบกับตัวเลขของปี พ.ศ. 2551

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐกิจไทย http://journals.cluteonline.com/index.php/IBER/art... http://infocraftic.com/international-tourist-thail... http://www.nytimes.com/2010/07/19/world/asia/19tha... http://www.standardandpoors.com/ratings/sovereigns... http://thailand-business-news.com/ http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Thailand.pdf http://www.komchadluek.net/news/crime/108750 http://www.adb.org/sites/default/files/poverty-inc... http://web.archive.org/20090611003823/www.culture.... http://www.doingbusiness.org/data/exploreeconomies...