เศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค

เศรษฐศาสตร์มหภาค

[ต้องการอ้างอิง]เศรษฐศาสตร์มหภาค (จาก มห- แปลว่า "ใหญ่" + เศรษฐศาสตร์) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถ โครงสร้าง พฤติกรรม และการตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งประกอบไปด้วยเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับโลก[1][2] นักเศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาดัชนีรวม อาทิ จีดีพี อัตราการว่างงาน รายได้ประชาชาติ ดัชนีราคา และความสัมพันธ์ระหว่างกันของแต่ละภาคในระบบเศรษฐกิจเพื่อทำความเข้าใจถึงการทำงานของเศรษฐกิจ พวกเขายังพัฒนาแบบจำลองที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ อาทิ รายได้ประชาชาติ ผลผลิต การบริโภค การว่างงาน เงินเฟ้อ การออม การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และการเงินระหว่างประเทศแม้ว่าเศรษฐศาสตร์มหภาคจะเป็นศาสตร์ที่กว้าง แต่มันก็ประกอบด้วยสองส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของศาสตร์นี้ คือการศึกษาสาเหตุและผลลัพธ์ของความผันผวนในระยะสั้นในรายได้ประชาชาติ (วัฏจักรธุรกิจ) และการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเศรษฐกิจ (การเพิ่มรายได้ประชาชาติ) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มหภาคและการพยากรณ์มักจะถูกใช้โดยรัฐบาลเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาและการประเมินนโยบายเศรษฐกิจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐศาสตร์มหภาค http://apeconreview.com http://www.dictionaryofeconomics.com/article?id=pd... http://www.dictionaryofeconomics.com/article?id=pd... http://www.inflateyourmind.com/ http://www.econ.ucla.edu/workingpapers/wp165.pdf http://www.econ.yale.edu/smith/econ510a/notes99.pd... //doi.org/10.1057%2F9780230226203.0855 //doi.org/10.1057%2F9780230226203.1009 https://books.google.com/books?id=OJM2mqWI-cYC&pri... https://archive.org/details/economicsofmoney00fred