เสาแห่งการก่อกำเนิด
เสาแห่งการก่อกำเนิด

เสาแห่งการก่อกำเนิด

เสาแห่งการก่อกำเนิด (อังกฤษ: Pillars of Creation) เป็นภาพที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของเสาอันเกิดจากแก๊สและฝุ่นระหว่างดวงดาวในเนบิวลาอินทรีซึ่งก่อขึ้นเป็นรูปเสา ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 และขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสิบภาพที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากล้องฮับเบิลโดยสเปซ.คอม[2] นักดาราศาสตร์ที่รับผิดชอบการถ่ายภาพดังกล่าวคือ เจฟ เฮสเตอร์ และ พอล สโกเวน จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต เสาที่สูงที่สุด (เสาซ้ายสุดในภาพ) มีความสูงประมาณ 4 ปีแสง ดาวฤกษ์ในส่วนนี้ของเนบิวลาอินทรีก่อตัวขึ้นจากดาวฤกษ์ดวงอื่นที่กำลังกัดกร่อนที่ส่วนที่แก๊สยื่นออกมา ซึ่งทำให้ก่อตัวเป็นรูป"ไข่" หรือ"เม็ดก๊าซกลมทีกำลังระเหย" (อังกฤษ: Evaporating Gaseous Globules - EGGs) ออกจากส่วนที่ยื่นออกมานี้ "ไข่" แต่ละฟองมีขนาดราวกับระบบสุริยะและเป็นที่พักของดาวฤกษ์เกิดใหม่ ดาวที่เห็นบริเวณกลางภาพค่อนข้างไปทางซ้ายเป็นดาวมวลมากที่เกิดใหม่ ซึ่งจะใช้ชีวิตไปอีกไม่กี่ล้านปีก่อนที่จะระเบิดเป็นซุเปอร์โนวาส่งธาตุที่ผลิตขึ้นใหม่ไปทั่งบริเวณ[3] อาจเป็นสาเหตุให้โครงสร้างเสาได้ถูกทำลายลงด้วยซุเปอร์โนวาแห่งหนึ่งภาพนี้ได้จากภาพถ่าย 32 ภาพนำมาติดกัน[4] จากกล้องสี่ตัว[5] ในกล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2 ที่ติดตั้งอยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล[6] ภาพถ่ายประกอบด้วยแสงที่ปลดปล่อยออกมาจากธาตุที่อยู่ในเมฆ และมองเห็นได้เป็นสีแตกต่างกันในภาพถ่าย: สีเขียวสำหรับไฮโดรเจน สีแดงสำหรับกำมะถันที่ถูกแปลงให้เป็นไอออนครั้งเดียว และสีฟ้าสำหรับออกซิเจนที่ถูกแปลงให้เป็นไอออนสองครั้ง[7]ส่วนที่หายไปตรงมุมขวาบนเป็นเพราะกล้องหนึ่งในสี่ตัวได้พบขยายในบริเวณดังกล่าว ซึ่งทำให้นักดาราศาสตร์มองเห็นรายละเอียดที่ดีกว่าส่วนอื่น ดังนั้น ภาพจากกล้องนี้จึงได้ถูกปรับลดขนาดลงให้เป็นสัดส่วนเหมาะสมกับภาพที่ได้จากกล้องอีกสามตัวที่เหลือ[8]

เสาแห่งการก่อกำเนิด

ประเภท เนบิวลาเปล่งแสง
เดคลิเนชัน -13° 49′[1]
ระยะห่าง 7,000 ly
ชื่ออื่น เมสสิเยร์ 16, เอ็นจีซี 6611,[1], ชาร์ปเลสส์ 49, อาร์ซีดับเบิลยู 165, กัม 83
ไรต์แอสเซนชัน 18h 18m 48s[1]
กลุ่มดาว กลุ่มดาวงู