เส้นทางการค้าในประวัติศาสตร์ ของ เส้นทางการค้า

เส้นทางรวมทางทะเล-ทางบก

เส้นทางสายเครื่องหอม

ดูบทความหลักที่: เส้นทางสายเครื่องหอม
เศรษฐกิจของราชอาณาจักรคาตาบาน (น้ำเงินอ่อน) อยู่บนพื้นฐานของการปลูกและค้าเครื่องเทศและของหอมที่รวมทั้งกำยาน (frankincense) และ กำยานเมอรห์ (myrrh) สินค้าเหล่านี้ส่งออกไปยังบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน, อินเดีย และ อบิสสิเนีย ซึ่งเป็นบริเวณที่ค้าขายกันในราคาสูงโดยวัฒนธรรมต่างๆ การขนส่งทำโดยการบรรทุกบนหลังอูฐผ่านทางบกไปทางอาหรับและทางทะเลต่อไปยังอินเดีย

เส้นทางสายเครื่องหอมเป็นเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งและค้าขายสินค้าต่างที่มาจากและระหว่างอินเดีย, อาหรับ และเอเชียตะวันออก[21] การค้าขายของหอมรุ่งเรืองจากอาหรับตอนใต้ไปยังบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนระหว่าง 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2[22] การค้าขายสินค้าประเภทนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อเยเมน และต้นกำยานและต้นกำยานเมอรห์ก็ถือกันว่าเป็นที่มาของความมั่งคั่งโดยประมุขของบริเวณนั้น[23]

จักรพรรดิทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัสแห่งอียิปต์สมัยทอเลมีอาจจะทำสัญญาพันธมิตรกับลิห์ยาน (Lihyan) เพื่อจะใช้เส้นทางสายเครื่องหอมที่เดดาน (Al-`Ula) ที่ทำให้ทรงสามารถเปลี่ยนเส้นทางจากเดดานไปยังตามฝั่งทะเลแดงไปยังอียิปต์[24] ผู้เชี่ยวชาญทางอียิปต์วิทยาไอ. อี. เอส. เอ็ดเวิร์ดสเชื่อว่าสงครามไซโร-อีเฟรมไมท์ (Syro-Ephraimite War) มีสาเหตุมาจากความต้องการของชนอิสราเอลและชนอาราเมอัน (Aramaeans) ในการควบคุมเส้นทางทางตอนเหนือของเส้นทางสายเครื่องหอมที่แล่นขึ้นไปจากทางตอนใต้ของคาบสมุทรอาหรับซึ่งทำให้ควบคุมโดยอาณาจักรอีเมียร์ทรานสจอร์แดน (Emirate of Transjordan)[25]

เมืองเกอร์ฮา (Gerrha) ที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาลเดีย (Chaldea) ที่หนีภัยมาจากบาบิโลนควบคุมเส้นทางสายเครื่องหอมในบริเวณตั้งแต่อาหรับไปจนถึงเมดิเตอร์เรเนียนและควบคุมการค้าเครื่องหอมไปยังบาบิโลนในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[26] ชนนาเบเชียน (Nabataeans) ควบคุมบริเวณตามเส้นทางสายเครื่องหอมแต่ได้รับการพยายามยึดครองจากจักรพรรดิอันทิโกนัสที่ 1 โมนอฟธาลมัส (Antigonus I Monophthalmus) แห่งเปอร์เชีย และ ปาเลสไตน์ที่ไม่สำเร็จ[27] การควบคุมของชนนาเบเชียนทำให้เส้นทางการค้างเครื่องหอมขยายออกไปทุกทิศทาง[27]

การมาแทนที่กรีซโดยจักรวรรดิโรมันในการปกครองบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนเป็นการฟื้นฟูการค้าโดยตรงกับตะวันออกและเป็นการกำจัดภาษีที่เรียกเก็บโดยคนกลางทางตอนใต้ก่อนหน้านั้น[28] ไมโล เคียร์นีย์ (ค.ศ. 2003) กล่าวว่า “อาหรับใต้ประท้วงโดยการเป็นโจรสลัดในการโจมตีกองเรือค้าขายของโรมันในอ่าวอาเดน โรมันตอบโต้โดยการทำลายอาเดนและเปลี่ยนเส้นทางไปเดินตามริมฝั่งตะวันตกของอบิสสิเนียแทนที่การเดินทางตามริมฝั่งทะเลแดง”[29] การเดินทางของเรือสินค้าอินเดียไปยังอียิปต์ทางทะเลมิได้อยู่ในการควบคุมโดยเอกสิทธิ์ของผู้ใด[28]

การค้าขายสมัยพรี-โคลัมเบีย

เครือข่ายเส้นทางอินคา (El Camino Inca) ของเปรูซึ่งเป็นเครือข่ายอันใหญ่โตที่ข้ามไปมาในบริเวณเทือกเขาแอนดีสที่บางแห่งสูงถึง 5,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ความคล้ายคลึงระหว่างอารยธรรมเมโสอเมริกา (Mesoamerica) และ อันเดอันทำให้สันนิษฐานได้ว่าภูมิภาคสองบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโลกที่กว้างกว่าที่เป็นผลมาจากการติดต่อค้าขายตั้งแต่ราวพันปีก่อนคริสต์ศักราช.[30] ทัศนคติของนักวิชาการในปัจจุบันเห็นว่าการเคลื่อนย้ายสินค้าบริเวณเนินเขาแอนดีสควบคุมโดยสถาบันต่างๆ ที่มอบที่ตั้งให้แก่กลุ่มต่างๆ ในท้องถิ่น ผู้ที่มีอิสระในการใช้ในการทำการค้าขาย[31] การค้าขายตามบริเวณเนินเขาแอนดีสที่บางครั้งก็เรียกว่า “การค้าขายแนวดิ่ง” (vertical trade) อาจจะรุ่งเรืองกว่าการค้าขายทางไกลระหว่างชนของเทือกเขาแอนดีสและผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในป่าในบริเวณนั้น[31] ผู้ใช้สมุนไพรชาวคาลลาวายาแลกเปลี่ยนสมุนไพรมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ขณะที่การค้าขายทองแดงทำโดยพ่อค้าเฉพาะทางในหุบเขาชินชาของเปรู[31] การควบคุมการค้าขายทางไกลอาจจะเป็นการแก่งแย่งระหว่างชนชั้นปกครองในท้องถิ่นต่างๆ[31]

ก่อนที่อารยธรรมอินคาจะเข้ามามีอิทธิพล พ่อค้าที่เดินทางค้าขายระยะไกลจะนำสินค้าเช่นก้อนทอง (gold nuggets), ทองแดง โคโค เกลือ และอื่นๆ ไปขายให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูง พ่อค้าเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในด้านการเมืองในบริเวณที่ทำการค้าขาย[32] เงินแลกเปลี่ยนที่ทำด้วยทองแดงเป็นรูปขวานผลิตโดยชนเปรูเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสิ่งมีค่าจากเอกวาดอร์ในสมัยพรี-โคลัมเบีย[32] การค้าขายทางทะเลก็เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเม็กซิโกไปยังทางใต้สุดของเปรูโดยการค้าหอยสพอนไดลัส (Spondylus) เกือบทั้งหมด เพราะเป็นหอยที่เป็นสัญลักษณ์ของฝน ความอุดมสมบูรณ์ และถือว่าเป็นอาหารหลักของเทพโดยชนของจักรวรรดิอินคา[32] สพอนไดลัสใช้ในพิธีสำคัญๆ และการค้าขายอย่างมีประสิทธิภาพของสินค้านี้ก็มีผลทางการเมืองต่อแอนดีสระหว่างสมัยก่อนการรุกรานของสเปน[32]

เส้นทางการค้าขายทางบกที่สำคัญ

เส้นทางสายไหม

ดูบทความหลักที่: เส้นทางสายไหม
เส้นทางการค้าที่ใช้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 มีศูนย์กลางอยู่บนเส้นทางสายไหม

เส้นทางสายไหมเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าขายเส้นแรกที่เชื่อมโลกตะวันออก และ โลกตะวันออกเข้าด้วยกัน[33] According to Vadime Elisseeff (2000):[33]

“เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยี ความคิด มิตรภาพ และความเข้าใจกันระหว่างตะวันออกและตะวันตก ที่เป็นประสบการณ์อันกว้างขวางที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ชาวตะวันออกได้เห็นได้รับความคิด และการดำรงชีวิตของชาวตะวันตก และชาวตะวันตกก็มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันออกและปรัชญาความคิดเห็นทางจิตวิญญาณต่างๆ พุทธศาสนาในฐานะของศาสนาตะวันออกได้รัความสนใจในระดับนานาชาติโดยการค้าขายบนเส้นทางสายไหม”

การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมักจะได้รับการอุปถัมภ์โดยจักรพรรดิผู้มีอำนาจเช่นพระเจ้ากนิษกะ ที่เป็นการนำไปสู่การวิวัฒนาการของศิลปะที่มาจากการได้พบได้เห็นอิทธิพลอังงดงามต่างๆ บนเส้นทาง[33] เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเผยแพร่พุทธศาสนาที่อาจจะมาจากการผสมผสานระหว่างการค้าและคุณค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้งที่พำนักที่ปลอดภัยเป็นระยะๆ ทั้งสำหรับผู้แสวงบุญและพ่อค้า[34] ในบรรดาเส้นทางไหมที่ใช้กันเส้นทางพม่าที่เริ่มตั้งแต่พโม (Bhamo) และเป็นเส้นทางที่ใช้โดยมาร์โค โปโลเมื่อเดินทางไปยูนนาน และโดยผู้เผยแพร่พุทธศาสนาชาวอินเดียไปยังกว่างโจวเพื่อไปก่อตั้งสำนักสงฆ์[35] เส้นทางสายนี้ที่มักจะประสบกับชนกลุ่มที่ไม่เป็นมิตรต่างๆ ได้รับการกล่าวถึงในงานเขียนของ เราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี[35]

เส้นทางการค้าขายสายหลัก

ดูบทความหลักที่: เส้นทางการค้าขายสายหลัก
เส้นทางการค้าขายสายหลักเป็นเส้นทางหลักสำหรับการเดินทางค้าขายทางตอนเหนือของอินเดียเป็นเวลาหลายร้อยปี ภาพจากที่ตั้งที่อัมบาลาในสมัยบริติชราช

เส้นทางการค้าขายสายหลักที่เชื่อมระหว่างโกลกาตาในอินเดียกับเปชวาร์ในปากีสถานมีมาเป็นเวลากว่าสองพันห้าร้อยปี[36] เส้นทางการค้าขายเส้นที่สำคัญที่สุดในโลกเป็นเส้นทางทางยุทธศาสตร์ที่เป็นที่ตั้งของป้อม สถานีพักสินค้า บ่อน้ำ ไปรษณีย์ หลักกิโลเมตร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ[36] บางส่วนของเส้นทางในปากีสถานเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางสายไหม[36]

เส้นทางการค้าขายเส้นนี้มีความเกี่ยวข้องกับจันทรคุปต์ โมริยะและจักรพรรดิเชอร์ ชาห์ สุรี (Sher Shah Suri) ผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนและการบำรุงรักษาถนนให้อยู่ในสภาพดี[37] จักรพรรดิเชอร์ทรงขยายถนนให้กว้างขวางขึ้นและทรงปรับเส้นทางให้ประสานกับเส้นทางอื่น และทรงเป็นผู้ก่อตั้งโรงแรมข้างทางราว 1700 ตลอดทั่วพระราชอาณาจักรของพระองค์[37] These inns provided free food and lodgings to the travelers regardless of their status.[37]

การยึดครองของเส้นทางสายนี้ของอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญของบริติชราชในอินเดีย[38] สะพาน ทางผ่าน และโรงแรมข้างทางใหม่ๆ ได้รับการก่อสร้างโดยอังกฤษระหว่างสามสิบเจ็ดปีแรกของการยึดครองปัญจาบในปี ค.ศ. 1849[38] เส้นทางของอังกฤษตามเส้นทางการค้าเดิมและในบางที่ที่มีการสร้างเส้นทางใหม่ก็สร้างขึ้นให้ขนานกับเส้นทางเดิม[38]

วาดิม เอลิสเซเอฟฟ์ (ค.ศ. 2000) ให้ความเห็นเกี่ยวกับเส้นทางการค้าขายสายหลักว่า:[39]

“บนเส้นทางสายนี้ ไม่แต่กองทัพอันเรืองอำนาจของผู้พิชิตเท่านั้นที่ได้เดินผ่าน แต่ยังเป็นเส้นทางของขบวนคาราวานขนส่งสินค้าของพ่อค้า ผู้คงแก่เรียน ศิลปิน และคนธรรมดา พร้อมกับผู้เดินทางเหล่านี้ ความคิดอ่าน ภาษา ประเพณี และ วัฒนธรรมก็ร่วมเดินทางไปด้วยและไม่แต่เพียงทางเดียวแต่ในทางกลับกันด้วย จุดที่เป็นจุดพบปะทั้งที่ถาวรและชั่วคราว ผู้คนมาจากเบื้องหลังต่างๆ นับถือศาสนาหรือมีความเชื่อต่างๆ กินอาหารต่างๆ กัน แต่งกายกันคนละแบบละอย่าง และพูดภาษาต่างๆ ด้วยสำเนียงต่างๆ กัน มาพบปะกันด้วยความสันติสุข ผู้คนต่างๆ เหล่านี้ต่างก็มีความเข้าใจในอาหาร การแต่งกาย กิริยา และวัฒนธรรมของผู้ที่มาพบปะกันและบางครั้งก็มีการยืมคำ วลี อีเดียม และบางครั้งก็ภาษาทั้งภาษาจากผู้อื่น”

เส้นทางสายอำพัน

เส้นทางสายอำพันแม่แบบ:Imagefact
ดูบทความหลักที่: เส้นทางสายอำพัน

เส้นทางสายอำพันเป็นเส้นทางการค้าของยุโรปที่ใช้ในการค้าและการขนส่งอำพัน[3] อำพันเหมาะกับการเป็นสินค้าสำหรับการค้าขายทางไกลเพราะมีน้ำหนักเบาและเป็นที่ต้องการในการใช้ตกแต่งในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน.[3] ก่อนที่โรมันจะมามีอำนาจควบคุมในบริเวณเช่นแพนนาโนเนีย เส้นทางสายอำพันก็แทบจะเป็นเส้นทางสายเดียวสำหรับการค้าขายทางไกล[3]

เมืองตามเส้นทางสายอำพันเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 แม้ว่าจะมีการเดินทัพโดยจักรพรรดิเวสเปเซียนและพระราชโอรสจักรพรรดิโดมิเชียน[40]ภายในรัชสมัยของจักรพรรดิไทบีเรียสเส้นทางสายอำพันก็ได้รับการสร้างให้ตรงขึ้นและลาดให้แข็งตามมาตรฐานของถนนในเมือง[41] เมืองโรมันเริ่มปรากฏขึ้นตามเส้นทาง เริ่มด้วยการสร้างเมืองใกล้ที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์[41]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 แม่น้ำดานูบก็กลายมาเป็นเส้นทางหลักในการค้าขายและมาแทนเส้นทางสายอำพันและเส้นทางการค้าอื่นๆ[3] การเปลี่ยนการลงทุนมาเป็นการสร้างป้อมตามฝั่งแม่น้ำดานูบทำให้ความเจริญของเส้นทางสายอำพันช้าลงแต่กระนั้นเมืองต่างๆ เหล่านี้ก็ยังคงมีความมั่งคั่งอยู่[42] แต่ความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างโรมันกับอนารยชนมีผลกระทบกระเทือนต่อเมืองบนเส้นทางสายอำพัน[43]

เส้นทางสายทะเล

ดูบทความหลักที่: เส้นทางสายทะเล
เส้นทางสายทะเล (สีม่วง), เส้นทางสาย (แดง) และเส้นทางการค้าโบราณอื่นๆ ในบริเวณลว้านราว 1300 ก่อนคริสต์ศักราช

เส้นทางสายทะเล (Via Maris) ในภาษาลาตินแปลตรงตัวว่า “เส้นทางแห่งทะเล”[44] เป็นเส้นทางการค้าขายสายโบราณที่ใช้โดยโรมันและนักรบครูเสด[45] รัฐต่างๆ ที่ควบคุม “เส้นทางสายทะเล” อยู่ในภาวะที่มอบสิทธิในการค้าขายให้แก่ประชาชนของตนเอง และเก็บค่าธรรมเนียมจากบุคคลภายนอกเพื่อรักษาเส้นทางการค้า[46] ชื่อ “เส้นทางสายทะเล” เป็นชื่อภาษาลาตินที่แปลมาจากวลีภาษาฮิบรูที่เกี่ยวกับพระธรรมอิสยาห์[45] เพราะความสำคัญที่เกี่ยวกับพระคัมภีร์ไบเบิลของเส้นทางสายนี้ ทำให้มีการพยายามหาตำแหน่งที่แท้จริงของเส้นทางโดยนักแสวงบุญคริสเตียนขึ้นหลายครั้ง[45] ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 นักเดินทางและนักแสวงบุญเบอร์ชาร์ดแห่งเมานท์ไซออนกล่าวถึง “เส้นทางสายทะเล” ว่าเป็นเส้นทางที่เลียบฝั่งทะเลกาลิลี[45]

เส้นทางสายทรานสซาฮารา

ดูบทความหลักที่: เส้นทางสายทรานสซาฮารา
แผนที่แสดงตำแหน่งและที่ตั้งของชนทัวเร็ก (Tuareg) ผู้มีอิทธิพลต่อเส้นทางสายทรานสซาฮารา[47]

บันทึกของมุสลิมยุคแรกยืนยันว่าชนแอฟริกาตะวันตกมีระบบเส้นทางการค้าขายที่ซับซ้อนที่โดยทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของประมุขผู้เรียกเก็บภาษีเป็นการแลกเปลี่ยนกับการพิทักษ์ทางทหารในราชอาณาจักร[48] การวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและการปกครองในบริเวณแอฟริกามีรากฐานมาก่อนที่ศาสนาอิสลามจะก่อตัวขึ้น ที่เป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่การค้าขายและรัฐบาลในแอฟริกาตะวันตก[48] เมืองหลวง ราชสำนัก และการพาณิชย์ได้รับการกล่าวถึงในงานเขียนของนักเขียนอาหรับสเปนอบู อุบัยดะห์ อับดุลลาห์ อับ อัล-บัคริ (أبو عبيد عبدالله بن عبد العزيز بن محمد البكري‎- Abū 'Ubayd 'Abd Allāh al-Bakrī) จากคริสต์ศตวรรษที่ 11 สินค้าสำคัญของเส้นทางสายทรานสซาฮาราคือทองและเกลือ[48]

ชนเบอร์เบอร์ผู้มีอำนาจผู้ต่อมารับนับถือศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอาหรับควบคุมการค้าขายไปทั่วแอฟริกาตะวันตกโดยการใช้รถที่ลากด้วยม้าและการบรรทุกสินค้าบนหลังสัตว์ในการขนส่ง[48] ชนซองไฮมีความขัดแย้งในการควบคุมการค้าขายบนเส้นทางสายทรานสซาฮารากับราชวงศ์ซาดีของโมร็อกโก ที่ทำความเสียหายให้แก่ทั้งสองฝ่ายและทำให้ชัยชนะของโมร็อกโกเป็นชัยชนะที่ไม่มั่นคง ที่เป็นผลทำให้เกิดการแทรกแซงจากชนซาฮารากลุ่มอื่นที่ไม่มีบทบาทในเส้นทางนี้มาก่อน[48] ความขัดแย้งและการโจมตีดำเนินเรื่อยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 จนเมื่อพ่อค้ามันเดเข้ามาทำการค้าขายกับฮัวซา (Hausa people) ระหว่าง ทะเลสาบแชด และ ไนเจอร์[48] การสร้างเส้นทางการค้าใหม่ก็สร้างเพิ่มขึ้นตามไปกับการขยายตัวของการค้าขาย[48]

เส้นทางสายฮันเซียติค

ดูบทความหลักที่: สันนิบาตฮันเซียติก
เส้นทางการค้าหลักของสันนิบาตฮันเซียติก

ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพียงไม่นานเยอรมนีก็มีบทบาทบ้างในทางการค้าขายในยุโรปตอนเหนือ[49] แต่มาเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการวิวัฒนาการทางการค้าของฮันซา ซึ่งเป็นผลทำให้พ่อค้าชาวเยอรมันกลายมามีบทบาทสำคัญในบริเวณทะเลบอลติกและทะเลเหนือ[50] หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเอริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก กองทัพเยอรมันก็เข้าโจมตีปล้นสดมเดนมาร์ก และนำช่างฝีมือและพ่อค้าเข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารในระบบใหม่ที่ควบคุมบริเวณฮันซา[51] ในช่วงหลังกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 การค้าในบริเวณฮันซาก็ประสบปัญหาสองประการ: ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจกับฟลานเดอร์ส และความเป็นปฏิปักษ์กับเดนมาร์ก[5] สาเหตุนี้นำไปสู่การก่อตั้งกลุ่มเมืองฮันเซียติคที่มาแทนกลุ่มสหพันธ์พ่อค้าเยอรมันที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น[5] สหพันธ์เมืองต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นมีจุดประสงค์ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของพ่อค้าและสินค้าและกลายเป็นกลุ่มการพาณิชย์ที่มีอิทธิพลต่อมาอีกร้อยห้าสิบปี[5]

ฟิลลิป ดอลลิงเจอร์ให้เหตุผลถึงความตกต่ำของฮันซาว่ามีสาเหตุมาจากการสร้างพันธมิตรระหว่างลือเบ็ค, ฮัมบวร์ค และ เบรเมน ที่มามีอิทธิพลเหนือสถาบันเดิม[52] ดอลลิงเจอร์กล่าวต่อไปว่าความตกต่ำของฮันซาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1630[52] และสรุปว่าฮันซาแทบจะลืมกันไปจนหมดสิ้นเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18.[53] นักวิชาการจอร์จ ฟรีดริช ซาร์โทเรียส (Georg Friedrich Sartorius) พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับกลุ่มนี้ในสมัยแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19[53]

เส้นทางการค้าทางทะเลที่สำคัญ

เส้นทางสายโรมัน-อินเดีย

โรมันค้าขายกับอินเดียตามที่บรรยายใน “บันทึกเส้นทางการเดินเรือในอีริทเธรียน“ (Periplus Maris Erythraei) ของคริสต์ศตวรรษที่ 1

ราชวงศ์ทอเลมีเป็นผู้ริเริ่มการติดต่อทางการค้าขายทางทะเลของกรีก-โรมันกับอินเดียโดยการใช้เมืองท่าในทะเลแดง[54] นักประวัติศาสตร์โรมันสตราโบกล่าวถึงการค้าที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่โรมันผนวกอียิปต์ที่ทำให้ทราบได้ว่ามีการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือค้าขายมาตั้งแต่ยุคนั้น[55] เมื่อมาถึงสมัยของออกัสตัส ก็มีเรือถึง 120 ลำต่อปีที่เดินทางระหว่างเมืองท่าไมยอสฮอร์โมส (Myos Hormos) ในทะเลแดงไปยังอินเดีย[56] เพื่อทำการค้าขายสินค้าต่างๆ หลายชนิด[57] อาร์ซิโน,[58] แบเรนิเชโทรโกลดิทิคา (Berenice Troglodytica) และไมยอสฮอร์โมสกลายเป็นเมืองท่าสำคัญของโรมันที่อยู่ในระบบเครือข่ายของการค้าขายทางทะเล[59] ขณะที่ทางอินเดียมีเมืองท่าเช่นบาร์บาริคร (Barbarikon), บารุค (Bharuch), มูซิริส (Muziris) และ อริคาเมดู (Arikamedu)[57]


การค้าขายติดต่อกันทำให้มีชาวอินเดียไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอเล็กซานเดรีย[60] และชาวคริสเตียนและยิวจากโรมที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอินเดียเป็นเวลานานก่อนที่โรมันจะล่มสลาย[61] ที่เป็นผลทำให้โรมันสูญเสียเมืองท่าในทะเลแดง[62] ที่เคยใช้ในการเป็นที่มั่นในการเดินทางทำการค้าขายกับอินเดีย[58]

เส้นทางสายเครื่องเทศ

ดูบทความหลักที่: การค้าขายเครื่องเทศ
ภาพแสดงเส้นทางที่วาสโก ดา กามาใช้เดินทางไปอินเดียครั้งแรก (ดำ) เส้นทางของเปโร ดา โควิลฮา (Pêro da Covilhã) (ส้ม) และ อัลฟอนโซ เดอ ไพวา (Afonso de Paiva) (น้ำเงิน) เส้นทางร่วมกันสีเขียว

เมื่อการค้าขายระหว่างอินเดียและกรีก-โรมันขยายตัวเพิ่มขึ้น[63] เครื่องเทศกลายมาเป็นสินค้าขาเข้าสำคัญจากอินเดียไปยังโลกตะวันตก[64] แทนที่ไหมและสินค้าอื่นๆ [65] การติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้อินเดียมีความสำคัญต่อพ่อค้าอาหรับและเปอร์เชียระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 และที่ 8[66]

อับบาซียะห์ใช้อเล็กซานเดรีย, ดามิยัตตา, อาเดน และ ซิราฟ เป็นเมืองท่าสำหรับการเดินทางไปอินเดียและจีน[67] พ่อค้าที่มาจากอินเดียยังเมืองท่าอาเดนต้องจ่ายบรรณาการด้วยมัสค์ (musk), การบูร, ไขวาฬ (ambergris) และ ไม้จันทน์แก่อุบัยด-อัลลอฮ์ อิบุน ซิยัด ( عبيد الله بن زياد‎ - Ubayd-Allah ibn Ziyad) สุลต่านแห่งเยเมน[67] สินค้าจากโมลุกกะได้รับการขนส่งข้ามเมืองท่าของอาหรับไปยังตะวันออกไกล้โดยผ่านทางเมืองท่าของอินเดียและศรีลังกา[68] เครื่องเทศที่เป็นสินค้าขาออกของอินเดียได้รับการกล่าวถึงในงานเขียนของอิบุน คูร์ดาห์เบห์ (Ibn Khurdadhbeh) (ค.ศ. 850), อัล-กาฟิคิ (ค.ศ. 1150), อิสหัค บิน อิมาราน (Ishak bin Imaran) (ค.ศ. 907) และ อัล คาลคาชานดิ (คริสต์ศตวรรษที่ 14)[68] เมื่อเครื่องเทศมาถึงเมืองท่าในอินเดียหรือศรีลังกา บางครั้งก็ได้รับการส่งต่อไปยังแอฟริกาตะวันออกเพื่อใช้ในจุดประสงค์หลายอย่างที่รวมทั้งประเพณีการทำศพ[68]

วาสโก ดา กามานำกองเรือสี่ลำตามพระบรมราชโองการในสมเด็จพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสเดินทางรอบแหลมกูดโฮพไปทางฝั่งตะวันออกของแอฟริกาไปยังมาลินดี (Malindi) เพื่อข้ามมหาสมุทรอินเดียไปยังคาลิคัต (Calicut (Kozhikode))[69] จักรวรรดิโปรตุเกสจึงเป็นจักรวรรดิยุโรปจักรวรรดิแรกที่ได้รับผลประโยชน์จากการค้าขายเครื่องเทศ[69]

ใกล้เคียง

เส้นทางการค้า เส้นทางสายไหม เส้นทางธารน้ำตา เส้นทางฝันของสาวน้อยขนมหวาน เส้นทางแชมเปียนส์ภายในประเทศยูฟ่ายูธลีก ฤดูกาล 2017–18 เส้นทางทะเลเหนือ เส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศส เส้นทางการเดินทางในเพชรพระอุมา เส้นทางจิงโจ้ เส้นทางดาว

แหล่งที่มา

WikiPedia: เส้นทางการค้า http://www.bartleby.com/65/ga/Gama-Vas.html http://www.bp.com/genericarticle.do?categoryId=900... http://www.ciolek.com/owtrad.html http://www.botschaft-jemen.de/Geschichte.htm http://www.fordham.edu/halsall/ancient/periplus.ht... http://africa.si.edu/exhibits/tuareg/who.html http://penelope.uchicago.edu/Thayer/E/%E0%B9%82%E0... http://www.bartelby.org/65/fr/freetrad.html http://whc.unesco.org/en/list/1107 http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_%E0%B9%80%E0%B8%A...