เส้นโค้งคีลิง
เส้นโค้งคีลิง

เส้นโค้งคีลิง

เส้นโค้งคีลิง (อังกฤษ: Keeling Curve) เป็นกราฟซึ่งลงจุดการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของโลกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2501 กราฟนี้อาศัยการวัดอย่างต่อเนื่อง ณ หอดูดาวเมานาลัวในรัฐฮาวาย ภายใต้การกำกับดูแลของชาลส์ เดวิด คีลิง การวัดของคีลิงแสดงหลักฐานสำคัญว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นชิ้นแรก นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากยกย่องกราฟของคีลิงว่าเป็นผู้แรกที่ทำให้โลกสนใจการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบัน[1]ชาลส์ เดวิด คีลิง แห่งสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปปส์ ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก เป็นบุคคลแรกที่วัดความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเป็นประจำบ่อยครั้ง โดยอ่านค่าที่ขั้วโลกใต้และในรัฐฮาวายมาตั้งแต่ปี 2501[2]ก่อนหน้าคีลิง ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศคาดกันว่าถูกกระทบจากความผันแปรคงที่ คีลิงพัฒนาเทคนิคการวัดให้สมบูรณ์และสังเกต "พฤติกรรมประจำวันอย่างเข้ม ด้วยค่าคงที่ราว 310 พีพีเอ็ม ในช่วงบ่าย" ณ ที่สามแห่ง คือ บิกซูร์ใกล้กับมอนเทอร์เรย์ ป่าฝนแห่งคาบสมุทรโอลิมปิกและป่าภูเขาสูงในรัฐแอริโซนา[3] โดยการวัดอัตราส่วนของคาร์บอนสองไอโซโทป คีลิงให้เหตุผลว่าการเปลี่ยนแปลงประจำวันมาจากการหายใจจากพืชท้องถิ่นและดิน โดยค่าช่วงบ่ายเป็นตัวแทนของ "บรรยากาศอิสระ" เมื่อปี 2503 คีลิงและคณะระบุว่าบันทึกการวัดจากรัฐแคลิฟอร์เนีย แอนตาร์กติกาและรัฐฮาวายยาวพอที่จะเห็นการเพิ่มขึ้นปีต่อปีซึ่งสอดคล้องหยาบ ๆ กับปริมาณเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่สันดาปในแต่ละปี ไม่เพียงแต่ความผันแปรประจำวันและฤดูกาล ในบทความอันทำให้เขามีชื่อเสียง คีลิงสังเกตว่า "ที่ขั้วโลกใต้ อัตราการเพิ่มขึ้นที่สังเกตได้นั้นใกล้เคียงกับที่คาดจากการสันดาปเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์" เขายังสังเกตว่า คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศไม่ลดลงเนื่องจากการดูดซับจากมหาสมุทรอย่างชัดเจนด้วย[4]

ใกล้เคียง

เส้นโค้งเชิงวงรี เส้นโครงแผนที่ เส้นโค้งเบซีเย เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ เส้นโค้งปิดเสมือนเวลา เส้นโค้ง เส้นโค้งคีลิง เส้นโลก เส้นโค้งฮิลเบิร์ท เส้นโค้งกลอทอยด์