ภูมิหลัง ของ เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน

อัตราการถือครองปืนในประเทศไทยถือว่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค และที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุกราดยิงหมู่ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิต 30 รายจากเหตุกราดยิงในห้างในจังหวัดนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2565 มีผู้เสียชีวิต 37 รายจากการกราดยิงและใช้มีดโจมตีศูนย์เลี้ยงเด็กในจังหวัดหนองบัวลำภู มีการประมาณจำนวนอัตราการถือครองปืนในพลเมืองไทยอยู่ที่มากกว่า 10.34[6] ล้านกระบอก ในจำนวนนี้มีเพียง 6.22 [7]ล้านกระบอกที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย ประเทศไทยยังมีอัตราการก่อเหตุฆาตกรรมด้วยปืนสูงที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[8]

สยามพารากอนเป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นที่นิยมอย่างมากในบรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวเมืองกรุงเทพ ภายในประกอบด้วยร้านค้าจำหน่ายสินค้าหรูหรา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหนึ่งแห่ง และโรงภาพยนตร์[9]

ใกล้เคียง

เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 เหตุการณ์ทุจริตการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2544 เหตุการณ์โกก้าง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_78979... https://www.thansettakij.com/news/general-news/577... https://www.thairath.co.th/news/politic/2730061 https://thematter.co/brief/214297/214297 https://www.thairath.co.th/news/politic/2730131 https://www.matichon.co.th/politics/news_4213241 https://mgronline.com/uptodate/detail/966000008913... https://www.thairath.co.th/news/crime/2730076 https://www.matichon.co.th/local/news_4213031 https://mgronline.com/entertainment/detail/9660000...