ความแตกต่างระหว่างเหตุผลวิบัติรูปนัยและอรูปนัย ของ เหตุผลวิบัติอรูปนัย

เหตุผลวิบัติรูปนัยเป็นการให้เหตุผลเชิงนิรนัย (deductive reasoning) ที่เกิดความผิดพลาดในทางตรรกะที่ควรจะให้ผลที่เป็นจริงเมื่อมีเหตุที่เป็นจริงซึ่งทำให้เหตุผลนั้นเป็นโมฆะ

ส่วนเหตุผลโดยอุปนัยซึ่งเป็นวิธีการให้เหตุผลแบบอรูปนัย ไม่ได้ตัดสินตามหลักของตรรกะเช่นนั้นคือ ความสมควรของเหตุผลนั้นตัดสินโดยความน่าเชื่อถือทางความคิดหรือตามกำลังของหรือตามวิธีการทางอุปนัย (ยกตัวอย่างเช่น การอนุมานโดยใช้สถิติ)ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลวิบัติโดยการวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป (hasty generalization) สามารถกล่าวได้ดังนี้

  1. "ก" เป็น "ข"
  2. และ "ก" ก็เป็น "ค" ด้วย
  3. ดังนั้น "ข" ทั้งหมดก็จะเป็น "ค" ด้วย

แม้ว่า โดยนิรนัยแล้ว นี้ไม่มีทางสมเหตุผล แต่ว่า ถ้าสามารถทำการอนุมานได้โดยใช้สถิติที่สมควร การให้เหตุผลโดยวิธีนี้อาจจะเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้

ใกล้เคียง

เหตุผลวิบัติ เหตุผลวิบัติของนักการพนัน เหตุผลวิบัติในการวางแผน เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน เหตุผล เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเท็กซัส เหตุผลวิบัติเพราะการคืนสภาพ เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ เหตุผลวิบัติโดยอุดมคติเพ้อฝัน เหตุผลวิบัติไฟไหม้ฟาง