สถานะการอนุรักษ์ ของ เหยี่ยวออสเปร

เหยี่ยวออสเปรมีการกระจายพันธุ์กว้างกินพื้นที่ถึง 9,670,000 กม.2 แค่ในแอฟริกาและอเมริกา คาดกันว่าทั่วโลกมีประชากรเหยี่ยวออสเปรถึง 460,000 ตัว ถึงแม้ว่าจำนวนประชากรทั่วโลกจะไม่มีการระบุบแน่ชัด แต่ก็เชื่อว่ายังไม่เข้าเกณฑ์การลดลงของจำนวนประชากรของบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (การลดลงของจำนวนประชากรต้องมากกว่า 30% ใน 10 ปีหรือ 3 รุ่น) และด้วยเหตุนี้เหยี่ยวออสเปรจึงถูกจัดสถานะเป็นความเสี่ยงต่ำ[1] มีหลักฐานการลดจำนวนลงในระดับภูมิภาคในรัฐเซาท์ออสเตรเลียซึ่งเป็นถิ่นอาศัยดั้งเดิมในอ่าวสเพนเซอร์ (Spencer Gulf) และตามแม่น้ำมูร์เรย์ (Murray River) ช่วงล่างซึ่งไม่พบเหยี่ยวมาหลายทศวรรษแล้ว[24]

ในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 การคุกคามต่อประชากรเหยี่ยวออสเปรหลักๆคือการเก็บกินไข่และการล่านกที่โตเต็มวัยโดยนกนักล่าชนิดอื่น[32][43] แต่การลดลงอย่างรุนแรงของจำนวนประชากรในหลายพื้นที่ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และ 1960 บางส่วนนั้นเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในระบบสืบพันธุ์จากยาฆ่าแมลง เช่น DDT[44] ยาฆ่าแมลงส่งผลต่อกระบวนการเผาผลาญแคลเซียมของนกเป็นผลให้เปลือกไข่บาง แตกง่าย หรือ ไข่ฝ่อไม่เป็นตัว[21] เพราะการห้ามใช้ DDT ในหลายประเทศในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และการรบกวนที่ลดลง ทำให้เหยี่ยวออสเปรและนกล่าเหยื่อชนิดอื่นที่ได้รับผลกระทบเพิ่มจำนวนขึ้น[28] ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย สถานที่ทำรังบนคาบสมุทรไอร์ (Eyre Peninsula) และเกาะจิงโจ้กำลังเสี่ยงต่อการคุกคามจากสันทนาการชายหาดที่ไม่มีการจัดการและการพัฒนาเมืองที่รุกล้ำเข้ามา[24]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหยี่ยวออสเปร http://www.etymonline.com/index.php?term=osprey http://www.flickr.com/groups/birdguide/pool/tags/P... http://ibc.lynxeds.com/species/osprey-pandion-hali... http://www.marthas-vineyard-vacation-tips.com/ospr... http://www.microwavetelemetry.com/newsletters/wint... http://www.scricciolo.com/classificazione/sequence... http://archimedes.fas.harvard.edu/cgi-bin/dict?nam... http://www.flmnh.ufl.edu/wwwsounds/birds/hardy4sh.... http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/account... http://www.uncw.edu/facts/traditions.html