การพัฒนา ของ เอฟ-16_ไฟทิงฟอลคอน

ต้นกำเนิด

ด้วยประสบการณ์จากสงครามเวียดนามที่บ่งบอกถึงความสามารถของเครื่องบินขับไล่ที่อเมริกาจะต้องการในเร็วๆ นี้ และความต้องการที่จะต้องให้นักบินได้รับการฝึกการต่อสู้ในอากาศให้มากขึ้น[8] ความต้องการเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศแบบใหม่นั้นทำให้กองทัพอากาศสหรัฐเริ่มศึกษาการพัฒนาจากสองความคิดในปีพ.ศ. 2508 คือ โครงการทดลองเครื่องบินขับไล่หรือเอฟเอกซ์ (Fighter Experimental, FX) ที่เป็นเครื่องบินปีกพับได้ขนาด 27,200 กิโลกรัมพร้อมเครื่องยนต์สองเครื่อง และ โครงการเครื่องบินขับไล่กลางวันแบบพัฒนาหรือเอดีเอฟ (Advanced Day Fighter, ADF) ที่เป็นเครื่องบินน้ำหนักเบาขนาด 11,300 กิโลกรัมซึ่งมากกว่ามิก-21 25% อย่างไรก็ดีการปรากฏตัวของมิก-25 ที่ทำความเร็วได้ถึงมัก 3 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 นั้น ทำให้โครงการเอดีเอฟตกเป็นรองจากโครงการเอฟเอกซ์ ซึ่งได้ผลิตเอฟ-15 ขนาด 18,100 กิโลกรัมออกมา[9]

ด้วยการใช้ประสบการจากการเป็นนักบินในสงครามเกาหลีและครูสอนยุทธวิธีในต้นทศวรรษที่ 1960 ผู้พันจอห์น บอยด์และนักคณิตศาสตร์โธมัส คริสตี้ได้พัฒนาทฤษฎีพลังงาน-ความคล่องตัวหรืออี-เอ็ม (Energy-Maneuverability theory, E-M) ขึ้นมาเพื่อเป็นแบบในการต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่ การเคลื่อนที่หรือกระบวนท่าเป็นกุญแจสู่สิ่งที่บอยด์เรียกว่า"การตีลังการแบบโอโอดีเอ (OODA Loop, Observation-Orientation-Decision-Action) งานของบอยด์ต้องการเครื่องบินที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักที่เบาพร้อมกับอัตราแรงผลักต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น[10][11] การศึกษาของกองทัพอากาศในปีพ.ศ. 2508 แนะว่าให้เพิ่มเครื่องบินขับไล่ที่มีราคาสูงและต่ำผสมกันในฝูงบินเพื่อเป็นการประหยัด[12]

โครงการเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา

ในปลายทศวรรษที่ 1960 บอยด์ได้รวบรวมกลุ่มผู้คิดค้นที่กลายมาเป็นกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ"มาเฟียเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา" ในปีพ.ศ. 2512 กลุ่มสามารถหาทุนในการศึกษาและประเมินผลทฤษฎีอี-เอ็มของพวกเขา เจเนรัล ไดนามิกส์ได้รับเงินจำนวน 149,000 ดอลลาร์สหรัฐ และนอร์ทธรอปได้รับ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการพัฒนาแบบความคิดที่จะใช้เป็นตัวทฤษฎีอี-เอ็มของบอยด์ งานของพวกเขานำไปสู่วายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ[13][14]

แม้ว่าเหล่าผู้สนับสนุนโครงการเอฟเอ็กซ์ของกองทัพอากาศยังคงไม่ชอบความคิดนี้เพราะพวกเขาเข้าใจว่ามันเป็นภัยต่อโครงการเอฟ-15 ความคิดโครงการเอดีเอฟได้รับการสนับสนุนจากพลเมืองภายใต้ผู้รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเดวิด แพ็คคาร์ด ผู้ท่ชอบความคิดในการแข่งขันหาต้นแบบ ผลที่ได้คือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2514 กลุ่มศึกษาต้นแบบของกองทัพอากาศถูกตั้งขึ้นมาโดยมีบอยด์เป็นคนสำคัญ และแบบเสนอสองแบบจากหกก็ได้รับทุน แบบหนึ่งคือเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบาหรือแอลดับบลิวเอฟ (Lightweight Fighter, LWF) การร้องข้อเสนอเกิดขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2515 ต้องการเครื่องบินขับไล่กลางวันขนาด 9,100 กิโลกรัมพร้อมกับอัตราการเลี้ยวที่ดี การเร่งและพิสัย และสามารถทำการต่อสู้ที่ความเร็ว 0.6-1.6 มักได้และทำการได้ในระดับความสูง 30,000-40,000 ฟุต นี้คือขอบเขตซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐคาดว่าการต่อสู้กลางอากาศในอนาคตส่วนมากจะเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานมาจากสงครามเวียดนาม สงครามหกวัน และสงครามอินโด-ปากีสถาน ราคาที่คาดกันในการผลิตเครื่องบินคือ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แผนการผลิตนี้เป็นเพียงการคาดเดาตามที่กองทัพอากาศนั้นไม่มีข้อผูกมัด และอันที่จริง ไม่มีแผนที่จะหาผู้ชนะ ซึ่งจะต้องประกาศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518[15][16]

บริษัทห้าบริษัทตอบสนองและในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 มีการประกาศผู้ชนะในการพัฒนาต้นแบบและทำการทดสอบคือโมเดล 908-909 ของโบอิง และ โมเดล 401 ของเจเนรัล ไดนามิกส์ อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นหน่วยเอสเอสเอ (Source Selection Authority, SSA) ได้ลดโบอิงไปอยู่ที่สามตามหลังพี-600 ของนอร์ทธรอป เจเนรัล ไดนามิกส์และนอร์ทธรอฟได้รางวัลในการทำสัญญามูลค่า 37.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 39.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างวายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ โดยทำการบินครั้งแรกของทั้งสองแบบนั้นวางแผนเอาไว้ในต้นปีพ.ศ. 2517 เพื่อเอาชนะคนใหญ่คนโตในกองทัพอากาศ กลุ่มมาเฟียเครื่องบินขับไล่และผู้สนับสนุนแอลดับบลิวเอฟได้สนับสนุนความคิดการใช้เครื่องบินราคาสูงและต่ำผสมกัน ความคิดนี้จะระบุความสัมพันธ์ของเอฟ-15 และเอฟ-16 และต่อมาก็คือเอฟ-22 แร็พเตอร์และเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2[17][18]

เริ่มบิน

มุมมองจากด้านขวาของวายเอฟ-16 และนอร์ทธรอฟ วายเอฟ-17 แต่ละลำติดขีปนาวุธเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์

วายเอฟ-16 ปรากฏตัวครั้งแรกในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และการบินครั้งแรกของมันใช้เวลา 90 นาทีที่ศูนย์ทดสอบการบินกองทัพอากาศที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด แคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 20 มกราคม ในขณะที่เร่งความเร็ว การควบคุมที่ไม่นิ่งทำให้ปลายปีกและหางครูดกับพื้น และเครื่องบินเริ่มหันออกนอกทางวิ่งไป นักบินทดสอบของเจเนรัล ไดนามิกส์ ฟิล โอเอสทริชเชอร์ตัดสินใจที่จะยกเครื่องขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เครื่องเสียหาย และลงจอดอย่างปลอดภัยในอีกหกนาทีต่อมา ความเสียหายเล็กน้อยได้รับการซ่อมแซมอย่างรวดเร็วและมันก็ถูกบันทึกเป็นการบินครั้งแรกอย่างเป็นทางการ การบินเหนือเสียงครั้งแรกของวายเอฟ-16 เกิดขึ้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 และต้นแบบที่สองของวายเอฟ-16 ได้บินในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 สิ่งนี้ตามมาด้วยการการบินครั้งแรกของวายเอฟ-17 ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายนและ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ตามลำดับ ทั้งหมดแล้ววายเอฟ-16 ทำการบิน 330 ครั้งเป็นชั่วโมงทั้งสิ้น 417 ชั่วโมง วายเอฟ-17 ทำการบินไป 268 ครั้ง[19]

การแข่งขันในการต่อสู้ทางอากาศ

ปัจจัยทั้งสามค่อยๆ รวมกันเพื่อเปลี่ยนแอลดับบลิวเอฟให้กลายเป็นโครงการพัฒนาที่จริงจัง ขั้นแรกนาโต้ที่เป็นพันธมิตรทั้งสี่กับสหรัฐฯอย่าง เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ กำลังมองหาสิ่งที่จะมาแทนที่เอฟ-104จีที่เป็นแบบหนึ่งของเอฟ-104 สตาร์ไฟเตอร์ นอกจากนั้น พวกเขายังมองหาเครื่องบินที่อุตสหกรรมของพวกเขาสามารถผลิตได้ภายใต้ใบอนุญาต ในต้นปีพ.ศ. 2517 พวกเขาได้รับข้อตกลงกับสหรัฐฯ ว่าหากกองทัพอากาศสหรัฐสั่งซื้อแอลดับบลิวเอฟที่ชนะ พวกเขาก็ต้องสั่งซื้อมันเช่นกัน ขั้นที่สองในขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐไม่ได้สนใจเฉพาะเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศเท่านั้น พวกเขาเริ่มต้องการแทนที่เอฟ-105 ธันเดอร์ชิฟ ขั้นที่สามสภาคองเกรสของสหรัฐฯ อยากที่จะได้เครื่องบินขับไล่ที่ใช้ได้ทั้งกองทัพอากาศและกองทัพเรือ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517 สภาคองเกรสเปลี่ยนการให้ทุนสำหรับโครงการวีเอฟเอเอ็กซ์ของกองทัพเรือไปให้กับโครงการเอ็นเอซีเอฟแทน ซึ่งเน้นการดัดแปลงเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดทางน้ำแบบแอลดับบลิวเอฟ ความต้องการเหล่านี้สัมพันธ์กัน แต่การตั้งเวลาในการจัดซื้อนั้นจำกัดโดยพันธมิตรทั้งสี่ประเทศ ผู้ที่ก่อตั้ง"กลุ่มโครงการเครื่องบินขับไล่นานาชาติ"หรือ"เอ็มเอฟพีจี" (Multinational Fighter Program Group, MFPG) และรีบเร่งสำหรับการตัดสินใจของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 กองทัพอากาศสหรัฐได้ประกาศแอลดับบลิวเอฟที่ชนะในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 แต่การตัดสินใจยืดออกไปจนถึงปีใหม่ และการทดสอบก็ถูกเร่ง เพื่อสะท้อนสิ่งใหม่นี้ความตั้งใจในการจัดซื้อเครื่องบินใหม่จึงจริงจังมากขึ้น พร้อมกับการกำหนดเป้าหมายใหม่ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด โครงการแอลดับบลิวเอฟกลายเป็นการแข่งขันในการต่อสู้ทางอากาศหรือเอซีเอฟ (Air Combat Fighter, ACF) ที่ประกาศโดยรัญมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เจมส์ อาร์. เชลซิงเกอร์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2517 เชลซิงเกอร์ยังเปิดเผยว่าเอซีเอฟลำใดๆ ก็ตามจะทำเพื่อเครื่องบินที่นอกเหนือจากเอฟ-15 ซึ่งเป็นการยุติฝ่ายค้านของแอลดับบลิวเอฟ[20][21][22]

เอซีเอฟยักได้เพิ่มเสาหลักให้กับเจเนรัล ไดนามิกส์และนอทร์ทธรอฟเพราะว่ามันเป็นผู้เข้าแข่งขันที่มีความตั้งใจในการทำกำไรงาม สิ่งเหล่านี้คือมิราจ เอฟ1เอ็ม-53ของดัซโซลท์ เอวิเอชั่น เซเปแคท จากัวร์ และซ้าบ วิกเก้นที่พัฒนาเป็นซ้าบ 37อี ยูโรไฟเตอร์ (ซึ่งไม่ใช่แบบเดียวกับยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน) นอร์ทธรอฟยังได้เสนออีกแบบหนึ่งคือพี-530 คอบรา ซึ่งคล้ายคลึงกับวายเอฟ-17 อย่างมาก จากัวร์และคอบราถูกยกเลิกโดยเอ็มเอฟพีจี ทำให้แบบของยุโรปสองแบบและแอลดับบลิวเอฟของสหรัฐฯ อีกสองแบบเป็นผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2517 กองทัพอากาศสหรัฐได้ยืนยันแผนที่จะสั่งซื้อเอซีเอฟที่ชนะเพื่อเพิ่มมันเข้าไปในฝูงบินยุทธวิธีห้าฝูงบิน เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีกองทัพอากาศจอห์น แอล. แมคลูคัสได้ประกาศว่าวายเอฟ-16 ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะในการแข่งขันเอซีเอฟ[23]

เหตุผลหลักที่รัฐมนตรีให้ต่อการตัดสินใจนี้คือราคาใช้งานที่ถูกกว่า พิสัยที่มากกว่า และการทำงานที่ดีกว่าของวายเอฟ-16 เหนือวายเอฟ-17 โดยเฉพาะความเร็วเหนือเสียง โครงการทดสอบการบินได้เผยว่าวายเอฟ-16 มีการเร่ง อัตราไต่ระดับ ความทนทาน และอัตราเลี้ยวที่เหนือกว่า อีกข้อได้เปรียบหนึ่งคือวายเอฟ-16 ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ100 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ใช้กับเอฟ-15 ทำให้มันลดค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการเครื่องยนต์[22][24]

ไม่นานหลังจากการเลือกวายเอฟ-16 รัฐมนตรีแมคลูคัสได้เผยว่ากองทัพอากาศสหรัฐได้วางแผนที่จะสั่งซื้ออย่างน้อย 650 ถึง 1,400 ลำ กองทัพอากาศเริ่มสั่งซื้อเครื่องบินที่มี"การพัฒนาแบบเต็มที่"หรือ"เอฟเอสดี" (Full-Scale Development, FSD) 15 ลำ (11 ลำเป็นแบบหนึ่งที่นั่งและอีก 4 ลำเป็นแบบสองที่นั่ง) สำหรับโครงการทดสอบการบิน แต่ต่อมาได้ลดเหลือ 8 ลำ (เอฟ-16เอ 6 ลำและเอฟ-16 บี 2 ลำ) อย่างไรก็ตามกองทัพเรือได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ว่าได้มีการตัดสินใจที่จะไม่ซื้อเอฟ-16 แบบสำหรับกองทัพเรือ พวกเขาเลือกที่จะใช้เครื่องบินที่พัฒนามาจากวายเอฟ-17 ซึ่งนั่นก็คือเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทของแมคดอนเนลล์ ดักลาสนั่นเอง[25]

เข้าสู่การผลิต

บริษัทผู้ผลิตเอฟ-16 คือเจเนรัล ไดนามิกส์ในฟอร์ทเวอร์ธรัฐเท็กซัสในปลายปีพ.ศ. 2518 พร้อมตัวอย่างแรกคือเอฟ-16เอ ที่วางแผนจะผลิตในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามมาด้วยการบินครั้งแรกของมันในวันที่ 8 ธันวาคม แบบสองที่นั่งเริ่มทำการบินครั้งแรกในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 การผลิตเริ่มแรกของเอฟ-16เอเริ่มในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2521 และส่งให้กับกองทัพอากาศสหรัฐในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เอฟ-16 ได้ชื่อเล่นในตอนแรกว่า"ไฟทิงฟอลคอน"ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2523 และมันได้เข้าประจำการในฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 388 ที่ฐานทัพอากาศฮิลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523[26]

เอฟ-16ซีของกองทัพอากาศสหรัฐในกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศของโคโลราโด ที่เพิ่งบินผละออกจากการเติมเชื้อเพลิงเหนือแคนาดา (จะเห็นช่องเชื้อเพลิงที่ยังเปิดอยู่)

ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2518 หุ้นส่วนยุโรปสี่ประเทศได้ทำสัญญาสำหรับเครื่องบินจำนวน 348 ลำที่งานแสดงในปารีส สำหรับเบลเยียม 116 ลำ เดนมาร์ก 58 ลำ เนเธอร์แลนด์ 102 ลำ และ นอร์เวย์ 72 ลำ พวกมันจะถูกผลิตบนสายการผลิตสองสายของยุโรป หนึ่งคือในเนเธอร์แลนด์ที่โรงงานของฟอกเกอร์และอีกที่หนึ่งในโรงงารแซบก้า (Société Anonyme Belge de Constructions Aéronautiques, SABCA) ของเบลเยียม การผลิตจะถูกแบ่งเป็น 184 ลำและ 164 ลำตามลำดับ บริษัทคองสเบิร์กของนอร์เวย์และเทอร์ม่า เอ/เอสของเดนมาร์กผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบิน การผลิตร่วมของยุโรปเริ่มอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ที่โรงงานฟอกเกอร์ ในกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ชิ้นส่วนที่ผลิตโดยฟอกเกอร์ถูกส่งไปที่ฟอร์ทเวิร์ธเพื่อทำการประกอบลำตัว ซึ่งจะถูกส่งกลับไปที่ยุโรป การประกอบขั้นสุดท้ายจะเริ่มที่โรงงานของเบลเยียมในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 พร้อมส่งให้กับกองทัพอากาศเบลเยียมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 สายผลิตของเดนมาร์กเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2521 และได้ทำการส่งครั้งแรกให้กับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2522 ในปีพ.ศ. 2523 เครื่องบินลำแรกถูกส่งให้กับกองทัพอากาศนอร์เวย์โดยแซบก้าและกองทัพอากาศเดนมาร์กโดยฟอกเกอร์[22][27][28]

ตั้งแต่นั้นสายการผลิตเพิ่มเติมถูกสร้างขึ้นในแอนคาร่าในตุรกี ที่ซึ่งอุตสาหกรรมอากาศยานของตุรกีหรือทีเอไอ (Turkish Aerospace Industries, TAI) ได้ผลิตเอฟ-16 บล็อก 30/40/50 จำนวน 232 ลำภายใต้ใบอนญาตให้กับกองทัพอากาศตุรกีในปลายทศวรรษที่ 1980 และ 1990 และได้จะไดรับบล็อก 50 แอดวานซ์เซดจำนวน 30 ลำในปีพ.ศ. 2553 ทีเอไอยังได้สร้างบล็อก 40 จำนวน 46 ลำให้กับอียิปต์ในปลายทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมอากาศยานของเกาหลีได้เปิดสายการผลิตสำหรับโครงการเคเอฟ-16 โดยผลิตบล็อก 52 จำนวน 140 ลำตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990-2000 สำหรับอินเดียพวกเขาเลือกเอฟ-16ไอเอ็นโดยจะมีสายการผลิตเอฟ-16 สายที่หกที่จะผลิตเครื่องบิน 108 ลำ[29]

การพัฒนา

หลังจากที่ถูกเลือก วายเอฟ-16 ก็ถูกเปลี่ยนเป็นเอฟ-16 โครงสร้างลำตัวถูกทำให้ยาวขึ้น 10.6 นิ้ว ส่วนจมูกที่ใหญ่ขึ้นถูกติดตั้งด้วยเรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-66 พื้นที่ปีถูกเพิ่มจาก 26 ตารางเมตรเป็น 28 ตารางเมตร ปีกหางถูกลดความสูงเล็กน้อย ปีกบริเวณท้องถูกทำให้ใหญ่ขึ้น มีการเพิ่มที่เก็บของ และฝาเปิดล้อหน้าถูกเปลี่ยนจากแบบสองฝามาเป็นฝาเดียว การดัดแปลงเหล่านี้เพิ่มน้ำหนักของเอฟ-16 ประมาณ 25% จากต้นแบบ[30][31][32]

ความต้องการหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่นับคือการเพิ่มการควบคุมสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดทำงานของเครื่องยนต์ในตอนที่ทำมุมปะทะสูง แบบทดสอบของวายเอฟ-16 ถูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยในแลงลีย์ มีการพบปัญหาสำคัญแต่ไม่มีแล็บที่ใดพบเหมือนกัน การบินทดสอบของวายเอฟ-16 ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะแก้ไขปัญหา แต่การบินครั้งสำคัญนั้นคือสิ่งที่ต้องสนใจจริงๆ ผลที่ได้ของพื้นที่หางแนวนอนที่เพิ่มขึ้นอีก 25% ถูกใช้กับบล็อก 15 ในปีพ.ศ. 2524 และต่อมาก็ใช้กับเครื่องบินสำแรกๆ อีกอย่างคือการลดความเสี่ยงอย่างมากของการที่เครื่องยนต์หยุดทำงาน หางแนวนอนที่ใหญ่ขึ้นยังเพิ่มความเสถียรและให้การวิ่งขึ้นที่รวดเร็วขึ้น[33][34][35]

ในทศวรรษที่ 1980 โครงการการพัฒนานานาชาติหรือเอ็มเอสไอพี (Multinational Staged Improvement Program, MSIP) ถูกจัดขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถใหม่ให้กับเอฟ-16 การลดความเสี่ยงในขณะทำการพัฒนาเทคโนโลยี และเพื่อมั่นใจว่ามันจะคงทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โครงการทำการพัฒนาเอฟ-16 สามขั้นตอน ด้วยประการทั้งปวงเอ็มเอสไอพีทำการเสนอความสามารถใหม่ของเอฟ-16 ในราคาต่ำ และลดความเสี่ยงเมื่อเทียบกับระบบแบบเดิม [36] เอฟ-16 ทำการพัฒนาอื่นๆ อีกที่รวมทั้งการยืดอายุการใช้งานในปีพ.ศ. 2543[37]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอฟ-16_ไฟทิงฟอลคอน http://www.airforce-magazine.com/MagazineArchive/P... http://www.airforce-technology.com/projects/f16/ http://www.airforcetimes.com/news/2009/03/airforce... http://www.aviationweek.com/aw/blogs/defense/index... http://www.avitop.com/interact/radar.htm http://www.boeing.com/defense-space/military/jhmcs... http://www.boeing.com/news/releases/2007/q4/071101... http://www.cbsnews.com/stories/2006/06/08/iraq/mai... http://www.codeonemagazine.com/archives/1991/artic... http://www.codeonemagazine.com/archives/1997/artic...