เทคนิค ของ เอ็นแอลพี

ช้าร์ตแสดงตาเมื่อกำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังที่พบในหนังสือต่าง ๆ ของแบนด์เลอร์กับกรินเดอร์รวมทั้ง จากกบไปสู่เจ้าชาย (1979)ทิศทางทั้ง 6 ทิศแสดง "จินตนาการภาพ" (visual construct) "การระลึกถึงภาพ" (visual recall) "จินตนาการเสียง" (auditory construct) "การระลึกถึงเสียง" (auditory recall) "การเคลื่อนไหวร่างกาย" (kinesthetic) และ "เสียงพูดภายใน" (auditory internal dialogue)

ตามงานศึกษาในวารสารแพทย์ปี 1984 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบกิจด้วยวิธีนี้กับผู้รับฝึกมีหลายขั้นเริ่มตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางใจและเป้าหมายที่ต้องการ การใช้อุปกรณ์และเทคนิคโดยเฉพาะ ๆ เพื่อแก้ปัญหา แล้วรวมการเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าในชีวิตของผู้รับฝึก[58]ทุก ๆ ขั้นจะใช้การตอบสนองของผู้รับฝึกที่ไม่ใช้คำพูดเป็นแนวทาง[58]ขั้นแรกเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบกิจกับผู้รับฝึกผ่านการเลียนแบบและแนะแนวพฤติกรรมของผู้รับฝึกทั้งที่เป็นคำพูด (เช่นข้อมูลทางประสาทสัมผัส [sensory predicate] และคำสำคัญ [keyword])และที่ไม่ใช่คำพูด (เช่น เลียนและสะท้อนพฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด หรือตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวตา)[59]

เมื่อตั้งความสัมพันธ์แล้ว ผู้ประกอบกิจอาจเก็บข้อมูล (เช่น ใช้คำถามจากเมตะโมเดล) เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของผู้รักฝึกและช่วยให้ผู้รักฝึกระบุสภาวะหรือเป้าหมายที่ต้องการผู้ประกอบกิจจะใส่ใจเป็นพิเศษต่อการตอบสนองทั้งที่เป็นคำพูดและไม่ใช่คำพูดเมื่อผู้รับฝึกกำลังระบุสภาพปัจจุบันและสภาพที่ต้องการ และสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ได้สภาพนั้น ๆ[58]ผู้ประกอบกิจจะสนับสนุนให้ผู้รับฝึกพิจารณาผลลัพธ์เนื่องกับสภาวะที่ต้องการ ว่าจะมีผลต่อชีวิตส่วนตัว การงาน และความสัมพันธ์กับคนอื่นเช่นไร โดยกล่าวถึงความตั้งใจดีที่มีในปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิด (เป็น ecological check)[58]ในขั้นที่ 4 ผู้ประกอบกิจจะช่วยผู้รับฝึกให้ได้ผลที่ต้องการโดยใช้วิธีและเทคนิคโดยเฉพาะ ๆ เพื่อเปลี่ยนแบบจำลองทางอัตวิสัยและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ในโลก[60][61]ท้ายสุด สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็จะเลียนให้เกิดในอนาคต (future paced) โดยช่วยผู้รับฝึกให้จินตนาการถึงสิ่งที่ต้องเปลี่ยน (mentally rehearse) แล้วนำข้อเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไปใช้ในชีวิต[58]ยกตัวอย่างเช่น อาจให้ผู้ฝึก "ก้าวเข้าไปสู่อนาคต" โดยให้จินตนาการเห็น ได้ยิน และรู้สึกเมื่อได้ถึงจุดหมายที่ต้องการแล้ว

ตามสโตลส์นาว (2010) เอ็นแอลพียังมีการวิเคราะห์การพูดที่ไม่ได้รับการยอมรับ มีแนวทาง "การปฏิบัติ" ให้สื่อสาร "ได้ดียิ่งขึ้น"เช่น หนังสือเล่มหนึ่งอ้างว่า "เมื่อคุณใช้คำว่า 'แต่' คนจะจำสิ่งที่คุณพูดต่อจากคำนั้น ถ้าใช้คำว่า 'และ' คนจะจำสิ่งที่พูดทั้งก่อนและหลังคำนั้น"[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็นแอลพี http://63.197.255.150/openaccesspublic/civil/caser... http://63.197.255.150/openaccesspublic/civil/caser... http://www.inspiritive.com.au/grinterv.htm http://users.telenet.be/merlevede/lawsuit.htm http://users.telenet.be/merlevede/nlpfaq35.htm http://altcommtechniques.com/publications/why_they... http://www.american-buddha.com/bandler.method.html... http://ebmh.bmj.com/content/early/2013/05/29/eb-20... http://www.chris-nlp-hall.com/galleries/docs/Summa... http://www.mheap.com/nlp1.pdf