ต้นกำเนิด ของ แกนแห่งความชั่วร้าย

เดวิด ฟรัม

ถ้อยคำนี้น่าจะมาจากผู้ร่างสุนทรพจน์ของบุช เดวิด ฟรัม (David Frum) โดยมีที่มาจากคำว่า แกนแห่งความเกลียดชัง (axis of hatred) และ ชั่วร้าย (evil) ฟรัมอธิบายเหตุผลของการสร้างถ้อยคำ แกนแห่งความชั่วร้าย ไว้ในหนังสือของเขา The Right Man: The Surprise Presidency of George W. Bush เรื่องเริ่มขึ้นในตอนปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 เมื่อหัวหน้านักร่างสุนทรพจน์ ไมค์ เกอร์สัน (Mike Gerson) ให้ฟรัมร่างคำพูดสักสองสามประโยคสำหรับขับไล่รัฐบาลของซัดดัม ฮุสเซนในอิรักในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีสหรัฐ ฟรัมกล่าวว่าเขาเริ่มอ่านสุนทรพจน์ "วันซึ่งที่จะมีชีวิต​อยู่ในความอัปยศ​-date which will live in infamy" ของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ที่กล่าวไว้ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากประเทศญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ในขณะที่ชาวอเมริกันไม่ต้องการจะเชื่อว่าต้องสงครามกับประเทศญี่ปุ่น โรสเวลต์เห็นว่าภัยคุกคามร้ายแรงต่อสหรัฐอเมริกากำลังมาจากนาซีเยอรมนี และการตัดสินของเขาทำให้เกิดการต่อสู้ในสงครามสองมหาสมุทร

จุดที่ฟรัมชี้ให้เห็นในหนังสือของเขาคือประโยคที่โดนมองข้ามบ่อยๆในสุนทรพจน์ของโรสเวลต์ในส่วน "...เราจะไม่เพียงแต่ปกป้องตัวเองอย่างสุดกำลังแต่เราจะทำให้แน่ใจว่าภัยคุกคามนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อเราอีกครั้ง" ฟรัมแปลความหมายของคำปราศรัยของโรสเวลต์ดังนี้: "สำหรับโรสเวลต์ เหตุการณ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ไม่ใช่เป็นเพียงการโจมตีเท่านั้น มันยังเป็นการเตือนต่ออนาคตถึงการโจมตีที่รุนแรงจากประเทศอื่น หรือแม้แต่ศัตรูที่เป็นอันตราย" ประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่มีปริมาตรอุตสาหกรรมแค่หนึ่งในสิบของอเมริกา ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหาร และกำลังทำสงครามกับประเทศจีน ได้เสี่ยงเข้าโจมตีสหรัฐอเมริกา ความเสี่ยง "ที่ทำให้ฝ่ายอักษะคุกคามต่อสันติภาพของโลก" ฟรัมกล่าว สงครามสองสงครามกับประเทศอิหร่านและคูเวตของซัดดัม ฮุสเซนเป็นความเสียง ฟรัมเชื่อและแสดงว่าจะเป็นภัยคุกคามสันติภาพของโลกเช่นกัน

ในหนังสือ ฟรัมเปรียบเทียบความสัมพันธ์ที่คล้ายกันมากระหว่างฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 และ"รัฐก่อการร้าย" เขาเขียนว่า "ฝ่ายอักษะเกลียดและไม่วางใจซึ่งกันและกัน" "ถ้าอักษะชนะสงครามด้วยวิธีใดก็ตาม สมาชิกจะหันมาเผชิญหน้ากันเองอย่างรวดเร็ว" แม้ว่า อิหร่าน อิรัก อัลกออิดะฮ์ และฮิซบุลลอฮ์ จะทะเลาะเบาะแว้งกันเอง แต่ "ทั้งหมดก็ไม่พอใจในอำนาจของชาติตะวันตกและประเทศอิสราเอลและยังดูแคลนในคุณค่าของประชาธิปไตย" นอกจากนั้นฟรัมยังเห็นความเชื่อมโยงร่วมกันระหว่าง "รัฐก่อการร้ายและองค์กรการก่อการร้ายที่ก่อให้เกิดแกนของความเกลียดชังต่อสหรัฐอเมริกา"

ฟรัมกล่าวว่าเขาได้ส่งบันทึกที่มีข้อความข้างต้นและยังอ้างถึงการกระทำที่โหดร้ายบางเรื่องของรัฐบาลอิรักอีกด้วย เขาคาดว่าคำพูดของเขาจะโดนสับแยกและเปลี่ยนแปลงไปจนเกินยอมรับเช่นเดียวกับชะตากรรมร่างสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีส่วนมาก แต่คำพูดของเขาถูกคงไว้ตามเดิมเกือบทุกคำ แม้ว่าบุชจะเปลี่ยนคำว่า "แกนแห่งความเกลียดชัง" เป็น "แกนของความชั่วร้าย" เกาหลีเหนือถูกเพิ่มเข้ามาในรายชื่อ เขาพูดว่าเพราะเกาหลีเหนือได้พยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ มีประวัติแข็งกร้าวที่สุ่มเสี่ยง และ "ต้องการรู้สึกถึงมือที่แข็งแกร่ง"[1]

หลังจากนั้น ภรรยาของฟรัมก็นำบทประพันธ์ของเขาเปิดเผยต่อสาธารณชน[2]

โยส์เซฟ โบเดนสคี

10 ปีก่อนการกล่าวสุนทรพจน์ประจำปี ค.ศ. 2002 ของประธานาธิบดีสหรัฐ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์การเมืองการปกครอง โยส์เซฟ โบเดนสคี (Yossef Bodansky) เขียนบทความเรื่อง "Tehran, Baghdad & Damascus: The New Axis Pact (เตหะราน แบกแดด และ ดามัสกัส: สนธิสัญญาอักษะใหม่)" [3] ขณะยังเป็นผู้อำนวยการของคณะกรรมการเฉพาะกิจแห่งรัฐสภาในเรื่องการก่อการร้ายและสงครามนอกแบบของสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเขาจะไม่ได้ใช้คำว่า ชั่วร้าย อย่างโจ่งแจ้งในคำว่าอักษะใหม่ของเขา แกนของโบเดนสคีก็ยังทำให้ระลึกถึงแกนของฟรัม โบเดนสคีรู้สึกว่าแกนใหม่นี้เป็นการพัฒนาที่อันตรายมาก ใจความสำคัญในเหตุผลของโบเดนสคีคือ ประเทศอิรัก อิหร่าน และ ซีเรีย ได้จัดตั้ง"พันธมิตรไตรภาคี" เป็นผลมาจากสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก และพันธมิตรนี้มีทีท่าใกล้เป็นภัยคุกคาม ทางเดียวที่จะรับมือคือการบุกอิรักครั้งที่ 2 และการโค่นล้มซัดดัม ฮุสเซน

แหล่งที่มา

WikiPedia: แกนแห่งความชั่วร้าย http://www.axisofevilcomedy.com/ http://www.axisofevilweather.com http://headwideopen.blogspot.com/2006/06/global-ax... http://english.farsnews.com/newstext.php?nn=881219... http://www.internationalistreview.com/dossier.php?... http://www.salon.com/news/col/scheer/2002/10/24/ax... http://www.slate.com/id/2076552/ http://www.sundayherald.com/38834 http://www.washingtonpost.com/ac2/wp-dyn/A62937-20... http://georgewbush-whitehouse.archives.gov/news/re...