แบบจำลองของโปร์
แบบจำลองของโปร์

แบบจำลองของโปร์

ในการศึกษาฟิสิกส์อะตอม แบบจำลองของโปร์ (อังกฤษ: Bohr model) ที่นิลส์ โปร์นำเสนอเมื่อปี ค.ศ. 1913 อธิบายถึงภาพของอะตอมว่าคือนิวเคลียสขนาดเล็กมาก ๆ ที่มีประจุบวก ล้อมรอบไปด้วยอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เป็นวงโคจรกลมรอบนิวเคลียสนั้นในลักษณะที่คล้ายคลึงกับโครงสร้างของระบบสุริยะ แต่อาศัยแรงไฟฟ้าสถิตในการดึงดูดกันแทนที่จะเป็นแรงโน้มถ่วง ถือเป็นการพัฒนาแบบจำลองอะตอมยุคก่อนหน้านี้คือ แบบจำลองคิวบิก (1902) แบบจำลองขนมปังลูกเกด (1904) แบบจำลองดาวเสาร์ (1904) และแบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด (1911) แบบจำลองของโปร์เป็นการปรับแต่งเชิงควอนตัมฟิสิกส์จากแบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด ดังนั้นแหล่งข้อมูลหลายแห่งอาจเรียกแบบจำลองทั้งสองนี้รวม ๆ กันว่า "แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด–โปร์"

ใกล้เคียง

แบบจำลองโอเอสไอ แบบจำลองมาตรฐาน แบบจำลองอะตอมของทอมสัน แบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์ แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม แบบจำลองพื้นฐานของกายวิภาคศาสตร์ แบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์ แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองการสะท้อนแบบฟ็อง แบบจำลอง