ประวัติและรายละเอียด ของ แผนที่รูปทีและโอ

แผนที่รูปทีและโอถูกกล่าวครั้งแรกในหนังสือ Etymologiae (chapter 14, de terra et partibus) ของอิซิโดโรแห่งเซบิยาในศตวรรษที่ 7 ไว้ว่า:

ละติน: Orbis a rotunditate circuli dictus, quia sicut rota est [...] Undique enim Oceanus circumfluens eius in circulo ambit fines. Divisus est autem trifarie: e quibus una pars Asia, altera Europa, tertia Africa nuncupatur.

อังกฤษ: The [inhabited] mass of solid land is called round after the roundness of a circle, because it is like a wheel [...] Because of this, the Ocean flowing around it is contained in a circular limit, and it is divided in three parts, one part being called Asia, the second Europe, and the third Africa. [1]

แปลไทย: ผืนดิน[ที่อยู่อาศัย]ถูกกล่าวเป็นรูปกลมตามความกลมของรูปวงกลม เพราะมันดูเหมือนล้อ [...] เพราะอย่างนี้ มหาสมุทรที่อยู่รอบมันจะอยู่ในขอบวงกลม และถูกแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งคือเอเชีย ส่วนที่สองคือยุโรป และส่วนที่สามคือแอฟริกา

ถึงแม้ว่าอิซิโดโรกล่าวใน Etymologiae ว่าโลก "กลม" ในความหมายของเขานั้นยังคลุมเครือ และนักเขียนบางคนกล่าวว่าเขาหมายถึงโลกรูปจาน (disc-shaped Earth). แต่อย่างไรก็ตาม นักเขียนบางคนกล่าวว่าเขาหมายถึงโลกที่กลมเหมือนลูกโลก (globular)[2]

แผนที่โลกเฮริฟอร์ด, ประมาณ ค.ศ. 1300, แสดงอยู่ภายในอาสนวิหารเฮริฟอร์ด, อังกฤษ. แผนที่รูปทีและโอ แสดงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของแผนที่, ซีกโลกตะวันออกอยู่ด้านบน, ยุโรป อยู่ด้านล่างซ้ายและแอฟริกาทางด้านล่างขวา แผนที่ทีโอในแบบแผนที่ปัจจุบัน

แผนที่รูปทีและโอแสดงแค่ครึ่งหนึ่งของโลกทรงกลมทั้งหมด[3] จึงมีความเชื่อว่าไม่มีใครสามารถข้ามไปอีกเส้นขอบหนึ่งได้.[3][4]

ตัว T คือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, แม่น้ำไนล์ และแม่น้ำดอน (อดีตอ้างถึงเมืองตาไนส Tanais) ที่แบ่งสามทวีป คือทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ส่วนตัว O คือมหาสมุทร โดยมีกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของแผนที่ ทวีปเอเชียมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของทวีปที่เหลือรวมกัน เพราะดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก, สวรรค์ (สวนอีเดน) มักถูกตั้งในเอเชีย และทวีปเอเชียถูกตั้งไว้ด้านบนสุดของแผนที่