คำจำกัดความอย่างเป็นทางการของแรงเคลื่อนไฟฟ้​​า ของ แรงเคลื่อนไฟฟ้า

ภายในแหล่งจ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้าแบบวงจรเปิด สนามไฟฟ้าสถิตแบบอนุรักษ์นิยมที่สร้างขึ้นโดยการแยกของประจุจะหักล้างแรงทั้งหลายที่สร้างแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้น ดังนั้นแรงเคลื่อนไฟฟ้ามีค่าเท่ากัน แต่มีเครื่องหมายตรงข้ามเมื่อผลรวม (อังกฤษ: integral) ของสนามไฟฟ้าอยู่ในแนวเดียวกันกับเส้นทางภายในระหว่างสองขั้ว A และ B ของแหล่งจ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้าในสภาพวงจรเปิด (เส้นทางจะนำจากขั้วลบไปยังขั้วบวกเพื่อที่จะให้ EMF ออกมาเป็นบวก ซึ่งจะแสดงให้เห็นงานที่กระทำบนอิเล็กตรอนที่กำลังเคลื่อนที่ในวงจร)[12] สูตรทางคณิตศาสตร์จะเป็นดังนี้:

E = − ∫ A B E c s ⋅ d ℓ   , {\displaystyle {\mathcal {E}}=-\int _{A}^{B}{\boldsymbol {E}}_{\mathrm {cs} }\cdot \mathrm {d} {\boldsymbol {\ell }}\ ,}

เมื่อ Ecs เป็นสนามไฟฟ้าสถิตแบบอนุรักษ์นิยมที่ถูกสร้างขึ้นโดยการแยกประจุที่เกี่ยวข้องกับแรงเคลื่อนไฟฟ้า, d เป็นองค์ประกอบของเส้นทางจากขั้ว A ไปยังขั้ว B, และ ‘·’ หมายถึงผลคูณจุด (อังกฤษ: dot product) (ค่าจริง (ค่าสเกลล่าร์) ที่เป็นผลคูณของค่าเวกเตอร์สองตัว)[13] สมการนี้​​้ใช้เฉพาะกับตำแหน่ง A และตำแหน่ง B เท่านั้นที่เป็นขั้วไฟฟ้า และไม่ได้นำไปใช้กับเส้นทางระหว่างจุด A และจุด B ที่มีบางส่วนด้านนอกของแหล่งที่มาของแรงเคลื่อนไฟฟ้า สมการนี้​​้เกี่ยวข้องกับสนามไฟฟ้าที่เป็นไฟฟ้าสถิตที่เกิดเนื่องจากการแยกประจุ Ecs และไม่เกี่ยวข้องกับ (ตัวอย่างเช่น) ส่วนประกอบใด ๆ ของสนามไฟฟ้าที่ไม่ใช่แบบอนุรักษ์นิยมอันเกิดเนื่องจากกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์

ในกรณีที่เส้นทางถูกปิดเนื่องจากสนามแม่เหล็กที่แปรตามเวลา อินทีกรัลของสนามไฟฟ้ารอบวงลูปปิดอาจไม่เป็นศูนย์; การใช้งานทั่วไปชนิดที่ใช้แนวคิดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เรียกว่า "แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ" คือแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำในวงลูปดังกล่าว[14] "แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ" รอบเส้นทางปิดอยู่กับที่ C จะเป็น:

E = ∮ C ⁡ E ⋅ d ℓ   , {\displaystyle {\mathcal {E}}=\oint _{C}{\boldsymbol {E}}\cdot \mathrm {d} {\boldsymbol {\ell }}\ ,}

เมื่อ E ในตอนนี้เป็นสนามไฟฟ้าโดยรวมทั้งหมดทั้งแบบอนุรักษ์และไม่อนุรักษ์ และอินทีกรัลจะอยู่รอบ ๆ โค้งปิด C ที่ไม่มีกฎเกณฑ์และอยู่กับที่โดยมีสนามแม่เหล็กที่แปรเปลี่ยนไหลผ่านโค้งปิด C นั้น สนามไฟฟ้าสถิตไม่ได้ช่วยอุดหนุนกับ EMF สุทธิที่ปรากฏรอบวงจรนั้นเพราะส่วนของไฟฟ้าสถิตของสนามไฟฟ้าเป็นแบบอนุรักษ์ (นั่นคืองานที่กระทำต้านกับสนามที่อยู่รอบ ๆ เส้นทางปิดมีค่าเป็นศูนย์)


นิยามนี้สามารถขยายไปยังแหล่งที่มาแบบไร้กฎเกณฑ์ของแรงเคลื่อนไฟฟ้าและเส้นทางการเคลื่อนที่ C:[15]

E = ∮ C ⁡ [ E + v × B ] ⋅ d ℓ   {\displaystyle {\mathcal {E}}=\oint _{C}\left[{\boldsymbol {E}}+{\boldsymbol {v}}\times {\boldsymbol {B}}\right]\cdot \mathrm {d} {\boldsymbol {\ell }}\ } + 1 q ∮ C ⁡ e f f e c t i v e   c h e m i c a l   f o r c e s   ⋅   d ℓ   {\displaystyle +{\frac {1}{q}}\oint _{C}\mathrm {\mathbf {effective\ chemical\ forces\ } \cdot } \ \mathrm {d} {\boldsymbol {\ell }}\ } + 1 q ∮ C ⁡ e f f e c t i v e   t h e r m a l   f o r c e s   ⋅   d ℓ   , {\displaystyle +{\frac {1}{q}}\oint _{C}\mathrm {\mathbf {effective\ thermal\ forces\ } \cdot } \ \mathrm {d} {\boldsymbol {\ell }}\ ,}

ซึ่งเป็นสมการแบบแนวคิดเป็นส่วนใหญ่ เพราะการกำหนด "แรงที่มีประสิทธิภาพ" มีความยากลำบาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: แรงเคลื่อนไฟฟ้า http://www.flipkart.com/basic-physics-kongbam-chan... http://books.google.com/?id=5sd9SAoRjgQC&pg=PA67 http://books.google.com/?id=6_yQ-dEGc5wC&pg=PA576 http://books.google.com/?id=82f-gIvtC7wC&pg=PA176 http://books.google.com/?id=9oEifMuMAVsC&pg=PA240 http://books.google.com/?id=9vzti90Q8i0C&pg=RA1-PA... http://books.google.com/?id=BMVR37-8Jh0C&pg=PA850 http://books.google.com/?id=Ht4T7C7AXZIC&pg=RA1-PA... http://books.google.com/?id=ICASAAAAYAAJ&pg=PA219&... http://books.google.com/?id=L7AUi7ltCksC&pg=PA100