การวิจัย ของ แอนาฟิแล็กซิส

ความมุ่งมั่นในการพัฒนาอีพิเนปพรินชนิดอมใต้ลิ้นสำหรับรักษาแอนาฟิแล็กซิสยังคงดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง[10] โดยกำลังทำการศึกษายาฉีดใต้ผิวหนัง ของ omalizumab ซึ่งเป็นแอนติบอดีสำหรับแอนติ-IgE เพื่อใช้เป็นวิธีการป้องกันการเกิดโรคซ้ำ แต่ยังไม่ได้รับการแนะนำให้ใช้ [5][38]

แอนาฟิแล็กซิส (อังกฤษ: anaphylaxis)หรือปฏิกิริยาการแพ้รุนแรง เป็นภาวะภูมิแพ้อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนใหญ่ทำให้มีอาการผื่นคัน ปากคอบวม ความดันเลือดต่ำ สาเหตุที่ทำให้แพ้ที่พบบ่อยเช่น แมลงกัดต่อย อาหาร และยา

ในระดับพยาธิสรีรวิทยานั้นแอนาฟิแล็กซิสเกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวบางชนิดปล่อยสารตัวกลางออกมาเป็นปริมาณมากจากการถูกกระตุ้นด้วยกระบวนการทางภูมิคุ้มกันหรือกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่กระบวนการของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัยอาการและอาการแสดง การรักษาหลักคือการใช้อีพิเนฟริน ร่วมกับวิธีการอื่นร่วมด้วย

ประมาณเอาไว้ว่า 0.05-2% ของประชากรทั่วโลกจะเกิดแอนาฟิแล็กซิสขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิต และตัวเลขอุบัติการณ์นี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอนาฟิแล็กซิส http://www.csaci.ca/include/files/WAO_Anaphylaxis_... http://books.google.ca/books?id=31yUl-V90XoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=bEvnfm7V-LIC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=lLVfDC2dh54C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=pWZLkZB7EW8C&pg=PA... http://smschile.cl/documentos/cursos2010/MedicalCl... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29153.htm http://www.emedicine.com/med/topic128.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=995.... http://emedicine.medscape.com/article/135065-overv...