การจัดการโรค ของ แอนาฟิแล็กซิส

แอนาฟิแล็กซิสเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่อาจต้องใช้แบบมาตรฐานการกู้ชีพ เช่น การดูแลทางหายใจ การให้ออกซิเจน การให้ของเหลวทางหลอดเลือดในปริมาณมาก และการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด[3] การรักษาที่เป็นทางเลือกคือการให้อีพิเนปพริน ร่วมกับสารต้านฮีสตามีน และสเตียรอยด์ที่มักจะใช้เป็นการรักษาเสริม[5] ระยะเวลาสำหรับการเฝ้าสังเกตในโรงพยาบาลที่แนะนำคือระหว่าง 2 ถึง 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่เมื่อได้หายกลับเป็นปกติ ทั้งนี้เนื่องจากข้อกังวลจากแอนาฟิแล็กซิสแบบสองช่วง[10][23][27][4]

อีพิเนฟริน

รูปแบบเก่าของอุปกรณ์ฉีดยาอัตโนมัติ EpiPen

อีพิเนฟริน (อะดรีนาลีน) คือการรักษาหลักสำหรับแอนาฟิแล็กซิสที่ไม่มี ข้อห้ามเด็ดขาด ในการใช้[3] โดยมีข้อแนะนำว่าการให้สารละลายอีพิเนฟรินควรต้องเป็นการฉีดเข้า ทางกล้ามเนื้อ ช่วงกึ่งกลางต้นขาบริเวณ anterolaterial ทันทีที่วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรค โดยอาจมีการฉีดยาซ้ำทุก ๆ 5 ถึง 15 นาที หากไม่มีการตอบสนองที่ดีพอ[5] ความต้องการยาครั้งที่สองนี้คิดเป็น 16 ถึง 35% ของกรณีที่เกิดขึ้น[10] แต่ความต้องการยาเกินกว่าสองครั้งนั้นมีไม่มากนัก[5] การให้ยาฉีดที่เส้นกล้ามเนื้อนั้นเป็นวิธีที่แนะนำว่าดีกว่าการฉีดยาใต้ผิวหนัง เนื่องจากวิธีการอย่างหลังอาจมีความล่าช้าในการดูดซึม[28] อาการข้างเคียงเล็กน้อยจากอีพิเนฟริน ได้แก่ การสั่น ตื่นตระหนก ปวดศีรษะ และใจสั่น[5]

ผู้ที่กำลังได้รับรักษาด้วย เบต้า-บล็อกเกอร์ อาจดื้อต่ออีพิเนฟริน[10] ในกรณีนี้ หากการให้อีพิเนฟรินโดยการให้สารละลายทางหลอดเลือดไร้ประสิทธิผล อาจสามารถให้ กูลคากอน ซึ่งมีกลไกในการออกฤทธิ์ที่เป็นอิสระจาก เบต้า-รีเซปเตอร์[10]

หากจำเป็น ก็สามารถให้ โดยการให้สารละลายทางหลอดเลือด ด้วยการใช้สารละลายเจือจางของอีพิเนฟริน อย่างไรก็ตามการให้สารละลายของอีพิเนฟรินทางหลอดเลือดนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ การเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด[29] อุปกรณ์ฉีดยาอัตโนมัติสำหรับอีพิเนฟรินที่ใช้สำหรับการฉีดด้วยตนเอง โดยทั่วไปมีตัวยาสองขนาด ขนาดแรกสำหรับผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กก. และอีกขนาดหนึ่งสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก 10 ถึง 25 กก.[30]

การรักษาเสริม

ยาต้านฮีสตามีน (ทั้ง H1 และ H2) ซึ่งเป็นยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายและสันนิษฐานว่ามีประสิทธิภาพตามเหตุผลทางทฤษฎีนั้นมีหลักฐานสนับสนุนที่อ่อนด้อย จาก การทบทวนของ Cochrane ในปี 2550 นั้นไม่พบการศึกษาที่มีคุณภาพตามพื้นฐานคำแนะนำเหล่านี้[31] และพวกเขาไม่เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อการบวมของทางเดินหายใจหรือการกระตุกของกล้ามเนื้อ[10] คอร์ติโคสเตอรอยด์ นั้นไม่น่าจะสร้างความแตกต่างในการสำแดงของแอนาฟิแล็กซิสในปัจจุบัน แต่อาจจะใช้โดยหวังว่าจะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดแอนาฟิแล็กซิสแบบสองช่วงได้ ทั้งนี้ประสิทธิผลในการป้องกันโรคของยาเหล่านี้ในสถานการณ์ต่าง ๆ นั้นไม่เป็นที่แน่นอน[23] ยา ซาบูทามอล แบบละอองพ่น อาจจะมีประสิทธิภาพสำหรับ การบีบเกร็งของหลอดลม ที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยอีพิเนปพริน[10] ได้มีการใช้เมทิลีนบลูในกลุ่มผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อมาตรการรักษาอื่น ๆ ตามผลจากการสันนิษฐานที่เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบ[10]

การเตรียมพร้อม

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดแอนาฟิแล็กซิสคือควรต้องมี "แผนปฏิบัติการโรคภูมิแพ้" และคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองคือควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบว่าบุตรของตนเป็นโรคภูมิแพ้ และสิ่งที่ต้องทำในกรณีฉุกเฉินของแอนาฟีแลกติก ช็อก[32] โดยทั่วไปแผนปฏิบัติการ ได้แก่ การใช้ อุปกรณ์ฉีดยาอัตโนมัติสำหรับอีพิเนฟริน แนะนำให้สวมใส่ สร้อยการแจ้งเตือนทางการแพทย์ และมีการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น[32] ภูมิคุ้มกันบำบัด สามารถใช้ได้สำหรับสิ่งกระตุ้นบางอย่างเพื่อการสำแดงของแอนาฟิแล็กซิสในอนาคต การใช้ยาการขจัดภูมิไวใต้ผิวหนังเป็นเวลาหลายปีก็พบว่ามีประสิทธิภาพสำหรับแมลงกัดต่อย และยาสำหรับการขจัดภูมิไวชนิดรับประทานนั้นมีประสิทธิภาพสำหรับการแพ้อาหารหลายชนิด[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอนาฟิแล็กซิส http://www.csaci.ca/include/files/WAO_Anaphylaxis_... http://books.google.ca/books?id=31yUl-V90XoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=bEvnfm7V-LIC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=lLVfDC2dh54C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=pWZLkZB7EW8C&pg=PA... http://smschile.cl/documentos/cursos2010/MedicalCl... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29153.htm http://www.emedicine.com/med/topic128.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=995.... http://emedicine.medscape.com/article/135065-overv...