พยาธิสรีรวิทยา ของ แอนาฟิแล็กซิส

แอนาฟิแล็กซิสเป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วที่ส่งผลต่อ ระบบร่างกาย หลายแห่ง[1][22] อันเนื่องมาจากการปล่อยสารตัวกลางที่เกี่ยวกับการอักเสบ และ ไซโตไคน์ จากแมสต์เซลล์และเม็ดเลือดขาว เบโซฟิล โดยทั่วไปเกิดขึ้นเนื่องจาก ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน แต่บางครั้งก็เป็นกลไกนอกระบบภูมิคุ้มกัน[22]

ระบบภูมิคุ้มกัน

ในกลไกระบบภูมิคุ้มกัน อิมมูโนโกลบูลิน-อี (IgE) จะเกาะจับ แอนติเจน (สิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้) เมื่อ IgE เกาะจับแอนติเจนแล้วก็จะสร้างตัวรับ FcεRI ในแมสต์เซลล์และเบโซฟิล สิ่งนี้มีผลทำให้เกิดการปล่อยสารตัวกลางที่เกี่ยวกับการอักเสบ เช่น ฮีสตามีน จากนั้นสารตัวกลางเหล่านี้ก็จะทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด เพื่อเพิ่มของเหลวในกระแสเลือดที่ขาดหายไปและเป็นสาเหตุของภาวะตกต่ำของกล้ามเนื้อหัวใจ[4][22] นอกจากนี้ก็ยังมีกลไกภูมิคุ้มกันที่ไม่พึ่งพา IgE แต่ยังไม่เป็นที่ทราบว่ากรณีนี้เกิดขึ้นในมนุษย์หรือไม่[22]

กลไกนอกระบบภูมิคุ้มกัน

กลไกนอกระบบภูมิคุ้มกันนั้นเกี่ยวข้องกับสารต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุโดยตรงของ การสลายเกร็ด ของแมสต์เซลล์และเบโซฟิล สารต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ สารทึบรังสี สารสกัดจากฝิ่น อุณหภูมิ (ทั้งร้อนและเย็น) และความสั่นสะเทือน[13][22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอนาฟิแล็กซิส http://www.csaci.ca/include/files/WAO_Anaphylaxis_... http://books.google.ca/books?id=31yUl-V90XoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=bEvnfm7V-LIC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=lLVfDC2dh54C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=pWZLkZB7EW8C&pg=PA... http://smschile.cl/documentos/cursos2010/MedicalCl... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29153.htm http://www.emedicine.com/med/topic128.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=995.... http://emedicine.medscape.com/article/135065-overv...