อาการแสดงและอาการของโรค ของ แอนาฟิแล็กซิส

อาการและอาการแสดงของแอนาฟิแล็กซิส

โดยทั่วไปปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงจะแสดงอาการในหลายรูปแบบภายในเวลาไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง[2][3] ทั้งนี้โดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้นภายในเวลา 5 ถึง 30 นาที หากเป็นการได้รับทางหลอดเลือด และ 2 ชั่วโมงสำหรับอาหาร[4] บริเวณที่ได้รับผลกระทบซึ่งพบบ่อยคือ: ผิวหนัง (80–90%) ทางเดินหายใจ (70%) ทางเดินอาหาร (30–45%) หัวใจและหลอดเลือด (10–45%) และระบบประสาทส่วนกลาง (10–15%)[3] ซึ่งมักพบว่าจะเกิดอาการตั้งแต่สองรูปแบบอย่างขึ้นไป[5]

ผิวหนัง

อาการโรคลมพิษ และผิวหนังแดงเพราะเลือดสูบฉีดที่บริเวณหลังของผู้ที่มีปฏิกิริยาการแพ้รุนแรง

อาการโดยทั่วไป ได้แก่ อาการลมพิษทั่วไป อาการคัน ผิวหนังแดงเพราะเลือดสูบฉีด หรือริมฝีปากบวม[6] ผู้ที่มีอาการบวมหรือ ลมพิษแองจิโออีดีมา อาจระบุถึงอาการว่าเป็นความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนผิวที่มิใช่อาการคัน[4] การบวมของลิ้นหรือลำคอเกิดขึ้นสูงสุดประมาณ 20% ของกรณีเหล่านี้[7] รูปแบบอื่น ๆ นั้นได้แก่ น้ำมูกไหลและการบวมของ เยื่อตา[8] นอกจากนี้ผิวหนังยังอาจจะมี รอยเขียวคล้ำ เนื่องจาก ขาดออกซิเจน[8]

ระบบทางเดินหายใจ

อาจมีอาการแสดงและอาการทางระบบทางเดินหายใจ ที่ได้แก่ หายใจถี่ หายใจมีเสียงหวีด หรือ เสียงพร่า[6] โดยทั่วไปการหายใจมีเสียงหวีดนี้เนื่องมาจากการหดเกร็งกล้ามเนื้อของ หลอดลม[9] ขณะที่เสียงพร่านั้นเกี่ยวข้องกับการกีดขวางในท่ออากาศส่วนบนที่เกิดจากการบวม[8] นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการเสียงแหบ เจ็บปวดเมื่อกลืน หรืออาการไอได้[4]

หัวใจ

อาจเกิด การกระตุกของหลอดเลือดหัวใจโคโรนา ตามด้วย กล้ามเนื้อหัวใจตาย การเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น[3][5] ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคพื้นเดิมนั้นจะมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดอาการทางหลอดใจหัวใจจากแอนาฟิแล็กซิส[9] การกระตุกของหลอดเลือดหัวใจโคโรนานั้นเกี่ยวข้องกับการปรากฏของเซลล์การปล่อยฮีสตามีนในหัวใจ[9] ขณะที่ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ อันเป็นผลมาจากความดันเลือดต่ำนั้นก็เป็นสิ่งที่พบบ่อย[8] ทั้งนี้มีการพบ Bezold–Jarisch รีแฟลกซ์ จำนวน 10% ของกรณีทั้งหมด ขณะที่ อัตราการเต้นของหัวใจช้าผิดปกติ นั้นเกี่ยวข้องกับ ความดันเลือดต่ำ[10] การลดลงของ ความดันเลือด หรือ อาการช็อก (ทั้ง ดิสทริบิวทีฟช็อก หรือ ภาวะช็อกที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ) อาจก่อผลที่เป็นความรู้สึกของอาการมึนเวียนศีรษะ หรือ หมดสติ[9] ภาวะความดันเลือดต่ำมากที่อาจจะเป็นอาการของแอนาฟิแล็กซิสเพียงอย่างเดียวนั้นพบได้น้อยมาก[7]

อื่น ๆ

อาการแสดงที่ระบบทางเดินอาหารซึ่งอาจรวมถึงอาการบีบเกร็ง ปวดช่องท้อง ท้องร่วง และอาเจียน[6] ตลอดจนอาจเกิดความสับสน สูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือการปวดกระดูกเชิงกรานที่คล้ายกับอาการบีบเกร็งของ มดลูก[6][8] การขยายตัวของหลอดเลือดสมองอาจเป็นสาเหตุของการ ปวดศีรษะ[4] และมีการรายงานถึงความรู้สึกวิตกกังวล หรือ "สิ่งเลวร้ายกำลังจะเกิดขึ้นกับตน"[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอนาฟิแล็กซิส http://www.csaci.ca/include/files/WAO_Anaphylaxis_... http://books.google.ca/books?id=31yUl-V90XoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=bEvnfm7V-LIC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=lLVfDC2dh54C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=pWZLkZB7EW8C&pg=PA... http://smschile.cl/documentos/cursos2010/MedicalCl... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29153.htm http://www.emedicine.com/med/topic128.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=995.... http://emedicine.medscape.com/article/135065-overv...