ประวัติ ของ แอร์โครยอ

การก่อตั้ง

แอร์โครยอ ก่อตั้งครั้งแรกภายใต้ชื่อ โซเกา (การบินโซเวียต-เกาหลีเหนือ) ในปี ค.ศ. 1950 เพื่อเชื่อมต่อระหว่างกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ กับกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย[5] แต่การบริการได้หยุดชะงักลงช่วงหนึ่งระหว่างสงครามเกาหลี จนต่อมาในปี ค.ศ. 1953 สายการบินได้กลับมาเปิดใหม่อีกครั้งในชื่อ ยูแคมปส์[5] (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK) ในคริสต์ทศวรรษ 1970) เริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1955 และถูกแทนที่ภายใต้การควบคุมของกรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK)[3] ได้ให้บริการเครื่องบิน ลิซูโนฟ ลิ-2, อานโตนอฟ อาน-2 และอิลยูชิน อิล-12 ส่วนเครื่องบินเทอร์โบ อิลยูชิน อิล-14 และอิลยูชิน อิล-18 ก็ได้ถูกนำเข้ามาเพิ่มในคริสต์ทศวรรษ 1960

การให้บริการเครื่องบินไอพ่น

การให้บริการเครื่องบินไอพ่น เริ่มในปี ค.ศ. 1975 เมื่อเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-154 ลำแรกได้ให้บริการเที่ยวบินจากกรุงเปียงยาง ไปยังปราก, เบอร์ลินตะวันออก (ในขณะนั้น) และมอสโก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องบินตู-154 มีจำนวนไม่เพียงพอ เครื่องบินจึงจำเป็นต้องจอดรับผู้โดยสารระหว่างทางที่อีร์คุตสค์และโนโวซีบีสค์เพิ่มด้วย ต่อมาเครื่องบิน ตู-154, ตู-134 และ อาน-24 ก็เริ่มให้บริการเที่ยวบินในประเทศ

เครื่องบิน ตู-154 มีจำนวนมากขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 และเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-62 ก็ได้ให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 (เป็นเครื่องบินของบุคคลสำคัญ)[6] ในฐานะเที่ยวบินระหว่างประเทศ เปียงยาง-มอสโก โดยไม่หยุดรับผู้โดยสารระหว่างทาง ในช่วงนี้ โซเฟียและเบลเกรด ก็ได้เป็นจุดหมายปลายทางเพิ่มด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการควบคุมการบินในยุโรป ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง แอร์โครยอจึงถูกสั่งห้ามไม่ให้ลงจอดที่ท่าอากาศยานใด ๆ ในทวีปยุโรปอีกเลย

สกายแทร็กซ์ ได้ประเมินสายการบินแอร์โครยอให้เป็นสายการบินที่แย่ที่สุดในโลก (ในด้านการบริการและความปลอดภัย) และยังเป็นสายการบินเดียวในโลกที่ได้รับการประเมิน 1 ดาว เนื่องจากการบริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ[7]

การจัดซื้อเครื่องบินใหม่และขยายเที่ยวบิน

หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น และการล่มสลายของรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่งผลให้มีเที่ยวบินระหว่างประเทศน้อยลง กรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น แอร์โครยอ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1992 ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 แอร์โครยอได้สั่งซื้อเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-76 จำนวน 3 ลำ เพื่อใช้ขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและรัสเซีย และยังซื้อเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-300 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 และมีนาคม ค.ศ. 2010[8] เพื่อนำมาใช้ในเที่ยวบินระหว่างประเทศแทนเครื่องเก่า[9] หลังจากนั้น แอร์โครยอก็เริ่มปรับปรุงเครื่องบินให้ดีขึ้น และมีแผนเที่ยวบินไปยุโรป พร้อมกับเครื่องบินใหม่ ตู-204

เครื่องบินขนส่งสินค้า อิลยูชิน อิล-76 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว กรุงมอสโก ในปี ค.ศ. 1994

ในเดือนกันยายน 2009 แอร์โครยอได้สั่งซื้อตัวอย่างเครื่องบิน ตู-204-300 และตู-204-100 และยังเจรจาในการสั่งซื้อเครื่องบินซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 เพื่อใช้แทนที่เครื่องบิน ตู-134 และอาน-24

ต่อมา แอร์โครยอได้รับเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-100B จำนวน 210 ที่นั่ง และใช้เป็นเที่ยวบินไปยังเมืองต้าเหลียน ประเทศจีน และในปี ค.ศ. 2010 ได้ทำพิธีเปิดเที่ยวบินเปียงยาง-เซี่ยงไฮ้ผู่ตง (เครื่องบิน ตู-134) โดยให้บริการ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์[10][11][12] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 แอร์โครยอได้ทำการเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังปักกิ่ง, วลาดีวอสตอค และเสิ่นหยาง[13]

การให้บริการในเส้นทางใหม่

ในปี ค.ศ. 2011 แอร์โครยอได้เปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังกัวลาลัมเปอร์และคูเวตซิตี โดยเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 เปิดให้บริการช่วงฤดูการท่องเที่ยว คือช่วงเดือนเมษายน ถึงตุลาคม[14]

ในปี ค.ศ. 2012 แอร์โครยอได้กลับมาเปิดเที่ยวบินกัวลาลัมเปอร์อีกครั้ง พร้อมกับการขยายเที่ยวบินไปยังเมืองฮาร์บิน ประเทศจีน[15][16] และในปีเดียวกัน บริษัทชูเช ซึ่งเป็นบริษัทนำเที่ยว ก็ได้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือโดยเครื่องบินส่วนตัว เครื่องบินที่ให้บริการได้แก่ อิล-76, มิล-17, อาน-24, ตู-134 และตู-154 ส่วนเที่ยวบินระหว่างประเทศ ใช้เครื่องบิน ตู-204 หรือไม่ก็ อิล-62

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอร์โครยอ http://www.ch-aviation.ch/portal/airline.php?cha=J... http://www.dayout.com.cn/read-htm-tid-45725-page-e... http://www.accessmylibrary.com/coms2/summary_0286-... http://www.airlinequality.com/Airlines/JS.htm http://almalekint.com/airkorya.html http://www.angelfire.com/pokemon2/aerokimchi/kt/pf... http://www.businessweek.com/news/2010-03-30/eu-ban... http://bbs.feeyo.com/piclist/20100417/201004170512... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1961/1... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/2003/2...