หน้าที่และความสำคัญทางคลินิก ของ แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซิน

แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินถูกสร้างได้ในตับ จัดเป็นโปรตีนระยะเฉียบพลัน (acute phase protein) ที่ถูกกระตุ้นได้ด้วยกระบวนการอักเสบ โดยจะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานเอนไซม์ในกลุ่มโปรตีเอส อาทิ คาเทบซิน จีที่พบในนิวโตรฟิล และไคเมสที่อยู่ในแมสต์เซลล์ ด้วยการเข้าทำปฏิกิริยากับเอนไซม์เหล่านั้นจนทำให้มีรูปร่างหรือโครงรูปที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยปกป้องเนื้อเยื่อต่างๆ จากความเสียหายได้ ตัวอย่างเช่น ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนล่างจากเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนในร่างกาย[4]

ภาวะพร่องแอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินมักมีความสัมพันธ์กับโรคตับ โดยตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน SERPINA3 ในผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง[5] นอกจากนี้ แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคอัลไซเมอร์ด้วยการกระตุ้นการสร้างเส้นใยแอมีลอยด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดการเสื่อมของระบบประสาทในผู้ป่วยโรคดังกล่าว[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซิน //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10048303 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12023832 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14668352 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8930118 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1553221 //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=... http://biogps.org/gene/12/ //doi.org/10.1002%2F(SICI)1521-1878(199812)20:12%3... //doi.org/10.1016%2F1357-2725(96)00032-5 //doi.org/10.1042%2FBST0300093