โมฆียกรรม

บทความนี้มีการอ้างถึงคำสั่งศาล คำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยของศาลในระบบซีวิลลอว์โมฆียกรรม (อังกฤษ: voidable act) หมายถึง นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้, ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้ กฎหมายเขียนเป็น "โมฆียะกรรม" ตามรูปแบบการเขียนโบราณสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งยังไม่มีการบังคับให้การเขียนสะกดคำต้องเป็นไปตามพจนานุกรมของทางราชการ[1]โมฆียกรรมที่มีความผิดปรกติแต่ไม่ร้ายแรง กฎหมายจึงยอมให้โมฆียกรรมมีผลชั่วคราวจนกว่าจะมีการบอกล้างอันจะมีผลให้โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆกรรม (อังกฤษ: invalid act) หรือให้สัตยาบันอันจะมีผลให้โมฆียกรรมกลายเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ขณะที่โมฆกรรมไม่ได้มีความผิดปรกติเบาบางขนาดนั้น กฎหมายจึงไม่อาจยอมให้มีผลในทางกฎหมายได้[2]คำว่า "โมฆียะ" เป็นคำวิเศษณ์ซึ่งมีความหมายในทางกฎหมายว่า "ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน"[1] มีความหมายตรงตัวว่า "อันน่าจะเป็นโมฆะ"