นิยาม ของ โมเมนต์ความเฉื่อย

โมเมนต์ความเฉื่อย I {\displaystyle I} สามารถเขียนได้ในรูปของอัตราส่วนระหว่างผลรวมของโมเมนตัมเชิงมุมระบบกับความเร็วเชิงมุมรอบแกนหมุนหลักของระบบได้ ดังนี้

I = L ω . {\displaystyle I={\frac {L}{\omega }}.}

ถ้าโมเมนตัมเชิงมุมของระบบมีค่าคงตัว แล้วโมเมนต์ความเฉื่อยจะมีค่าน้อยลง ในขณะที่ความเร็วเชิงมุมจะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อรูปร่างของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลง แล้วโมเมนต์ความเฉื่อยของระบบจะสามารถพิจารณาในเรื่องกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันได้ นั่นคือโมเมนต์ความเฉื่อยจะอยู่ในรูปของอัตราส่วนระหว่างทอร์กที่มากระทำต่อระบบกับความเร่งเชิงมุมรอบแกนหมุนหลัก คือ

τ = I α . {\displaystyle \tau =I\alpha .}

สำหรับระบบเพนดูลัมอย่างง่าย สามารถนิยามโมเมนต์ความเฉื่อย I {\displaystyle I} ได้ในรูปของผลคูณระหว่างมวลของวัตถุ m {\displaystyle m} กับกำลังสองของระยะห่าง r {\displaystyle r} จากจุดหมุนถึงวัตถุ

I = m r 2 . {\displaystyle I=mr^{2}.}

เพราะฉะนั้น โมเมนต์ความเฉื่อยของระบบจึงขึ้นกับมวล และรูปร่างของวัตถุ รวมถึงระยะห่างจากจุดหมุนถึงมวลด้วย

ใกล้เคียง

โมเมนตัม โมเมนต์ความเฉื่อย โมเมนต์ โมเมนส์ (เพลงอายูมิ ฮามาซากิ) โมเมนตัมเชิงมุม โมเมนต์ออฟกลอรี โมเมนต์แผ่นดินไหว โมเมนต์แมกนิจูด โมเมนตัมเชิงมุมของออร์บิทัล โมเฮนโจ-ดาโร