ปัจจัยเสี่ยง ของ โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม

  • อายุ - อายุมากเป็นตัวพยากรณ์ AMD ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเกิน 50 ปี[12]
  • ประวัติครอบครัว

สิ่งแวดล้อมและสไตล์ชีวิต

  • การสูบยา - การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงโรค 2-3 เท่าเทียบกับคนที่ไม่สูบ และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดซึ่งเปลี่ยนได้เพื่อป้องกันโรค งานทบทวนงานศึกษาต่าง ๆ ได้พบว่า มี "ความสัมพันธ์ที่มีกำลังระหว่างการสูบบุหรี่ในปัจจุบันกับ AMD... การสูบบุหรี่น่าจะมีผลเป็นพิษต่อจอตา"[13]
  • ความดันโลหิตสูง - ในงานศึกษา ALIENOR ปี 2013 AMD ระยะต้นและระยะปลายไม่สัมพันธ์กับความดันโลหิตทั้งบนและล่างอย่างสำคัญ หรือกับความดันโลหิตสูง หรือกับการใช้ยาลดความดัน แต่ความดันพัลส์ (pulse pressure คือความต่างระหว่างความดันบนและล่าง) ที่สูงขึ้น สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของ AMD ระยะปลาย อย่างสำคัญ[14]
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • คอเลสเตอรอลสูง - อาจเพิ่มความเสี่ยง[15]
  • โรคอ้วน - โดยเฉพาะที่ท้อง เป็นปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะสำหรับผู้ชาย[16]
  • การทานไขมัน - การบริโภคไขมันบางอย่างเป็นจำนวนมากรวมทั้งไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และกรดไขมันโอเมกา-6 น่าจะมีผลให้เกิด AMD ในขณะที่ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดียว (monounsaturated fat) อาจช่วยป้องกัน[17] โดยเฉพาะก็คือ กรดไขมันโอเมกา-3 อาจช่วยลดความเสี่ยง AMD[18]
  • การถูกแดด โดยเฉพาะแสงอาทิตย์ที่มีความยาวคลื่น 400-500 นาโนเมตร แต่หลักฐานก็ไม่ชัดเจนว่า การถูกแดดมีผลต่อการเกิดจุดภาพชัดเสื่อมจริง ๆ หรือไม่ งานปี 2006 ที่มีผู้เข้าร่วม 446 คนพบว่า มันไม่มีผล[19] แต่ก็มีงานวิจัยอื่นที่แสดงว่า แสงในพิสัยที่เห็นได้และมีพลังงานสูงอาจช่วยให้เกิด AMD[20][21]

กรรมพันธุ์

พี่น้องของคนไข้ AMD มีโอกาสเกิดโรคสูงถึง 3-6 เท่าเทียบกับกลุ่มประชากรทั่วไป[22]การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของพันธุกรรมได้ระบุยีนต่าง ๆ 5 เซตที่ตำแหน่ง 3 ตำแหน่งในโครโมโซมต่าง ๆ (1, 6 และ 10) ว่าอธิบายความเสี่ยงถึง 50%ยีนเหล่านีมีบทบาทในการควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการอักเสบ และภาวะธำรงดุลในจอตาเพราะความต่าง ๆ ของยีนเหล่านี้ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติแบบต่าง ๆ ในระยะยาว นี่มีผลเป็นการสะสมเศษเหลือของเมแทบอลิซึมทั้งภายในเซลล์และนอกเซลล์ซึ่งมีผลสร้างตำหนิที่จอตาหรือทำให้เส้นเลือดเสีย

มีการตรวจทางกรรมพันธุ์สำหรับยีนเช่นนี้บางอย่างแต่ว่า พยาธิกำเนิดของจุดภาพชัดเสื่อม เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิต ดังนั้น ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ไม่ดีจึงไม่สามารถพยากรณ์อย่างแน่นอนว่าจะมีโรคตำแหน่ง 3 โลคัสที่ได้ระบุในยีนต่าง ๆ รวมทั้ง

  • Complement Factor H (CFH) บนโครโมโซม 1 ที่ตำแหน่ง 1q31.3[23]
  • HTRA serine peptidase 1/Age Related Maculopathy Susceptibility 2 (HTRA1/ARMS2) บนโครโมโซม 10 ที่ตำแหน่ง 10q26
  • Complement Factor B/Complement Component 2 (CFB/CC2) บนโครโมโซม 6 ที่ตำแหน่ง 6p21.3

ยีนโดยเฉพาะ ๆ

  • ภาวะพหุสัณฐานของยีนสำหรับโปรตีนใน complement system[upper-alpha 1] คือโปรตีน factor H (CFH), factor B (CFB) และ factor 3 (C3) สัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิด AMD อย่างมีกำลัง โดย CFH มีบทบาทยับยั้งการตอบสนองแบบอักเสบ และการกลายพันธุ์ของ CFH (Y402H) จะลดสมรรถภาพการควบคุม complement system ที่ผิวร่างกายส่วนสำคัญ ๆ รวมทั้งจอตา ซึ่งทำให้การตอบสนองแบบอักเสบเพิ่มขึ้นที่จุดภาพชัด ส่วนการไม่มียีน complement factor H-related genes คือ R3 และ R1 จะช่วยป้องกัน AMD[25][26] งานวิจัยสองงานที่เป็นอิสระจากกันในปี 2007 แสดงว่า การกลายพันธุ์อย่างหนึ่งที่สามัญ คือ Arg80Gly ในยีน C3 ซึ่งเป็นโปรตีนหลักของ complement system สัมพันธ์อย่างมีกำลังกับการเกิด AMD[27][28] นักวิจัยของทั้งสองงานมีความเห็นว่า นี่แสดงอิทธิพลของวิถีการทำงานใน complement system ในพยาธิกำเนิดของโรคนี้
  • งานวิจัยปี 2006 อีกสองงาน ได้ระบุยีนอีกยีนหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค คือ HTRA1 ซึ่งเข้ารหัสเอนไซม์ที่ร่างกายหลั่งคือ serine protease[29][30]
  • การกลายพันธุ์ 6 แบบของยีน SERPING1[upper-alpha 2] สัมพันธ์กับ AMD การกลายพันธุ์ของยีนนี้ยังสามารถเป็นเหตุให้เกิดโรค hereditary angioedema (การบวมอย่างรุนแรงที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพราะกรรมพันธุ์)[31]
  • การกลายพันธุ์ของ Fibulin-5 (FBLN5) เป็นโรคที่มีน้อยซึ่งเกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรมของยีน fibulin-5 ในรูปแบบยีนออโตโซมแบบเด่น งานวิจัยปี 2004 ที่ตรวจคัดคนไข้ AMD 402 คนได้แสดงสหสัมพันธ์ที่สำคัญทางสถิติระหว่างการกลายพันธุ์ของยีน fibulin-5 และการเกิดโรค

ยีนเนื่องกับไมโทคอนเดรีย

ภาวะพหุสัณฐานของยีนเนื่องกับไมโทคอนเดรียเช่นในโมเลกุล MT-ND2 จะเป็นตัวพยากรณ์ AMD แบบเปียก[32][33]

ตามนุษย์ตัดขวาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม http://www.diseasesdatabase.com/ddb11948.htm http://www.emedicine.com/article/topic1223154.htm http://www.hindawi.com/journals/jop/aip/465169/ http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=362.... http://www.medcompare.com/spotlight.asp?spotlighti... http://www.medpagetoday.com/Ophthalmology/GeneralO... http://www.pall.com/main/fuels-and-chemicals/green... http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/PressAnnoun... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10783137 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11097601