อาการ ของ โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม

การเห็นปกติ ภาพเดียวกันที่เห็นเมื่อจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (National Eye Institute)

อาการของจุดภาพชัดเสื่อมรวมทั้ง

อาการทางตา
  • เห็นบิดเบี้ยวในรูปแบบของ metamorphopsia ที่ตะแกรงเส้นตรงจะปรากฏเป็นรูปคลื่น และบางส่วนของตะแกรงอาจดูเหมือนเปล่า ๆ คนไข้อาจเริ่มสังเกตเห็นเมื่อมองสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งม่านตะแกรงหรือเสาเมื่อกำลังขับรถ และก็อาจมีดวงมืด (scotoma) ตรงกลางตาด้วย คือเห็นเป็นเงาหรือมองไม่เห็นเป็นบางส่วน
  • ฟื้นเห็นภาพได้ช้ากว่าเมื่อมองแสงสว่าง (photostress test)
  • มองเห็นภาพชัดลดลงอย่างชะงัด (2 ระดับหรือมากกว่านั้น) เช่น จาก 20/20 เหลือแค่ 20/80
  • เห็นมัวลงหรือไม่ชัด - ผู้ที่มีจุดภาพชัดเสื่อมแบบไม่ไหลซึม (nonexudative)/แบบแห้ง อาจไม่มีอาการหรือเสียการเห็นตรงกลางอย่างค่อยเป็นค่อยไป เทียบกับผู้ที่มีจุดภาพชัดเสื่อมแบบไหลซึม (exudative)/แบบเปียก ผู้จะเสียการเห็นอย่างรวดเร็ว (ซึ่งบ่อยครั้งมีเหตุจากการรั่วของเส้นเลือดที่ผิดปกติ)
  • มีปัญหาแยกแยะสี โดยเฉพาะสีเข้มจากสีเข้ม และสีอ่อนจากสีอ่อน
  • เสียความไวต่อความเปรียบต่าง

จุดภาพชัดเสื่อมโดยตัวเองจะไม่ทำให้ตาบอดหมดและจริง ๆ แล้ว คนที่บกพร่องทางการเห็นน้อยคนมากที่บอดทั้งหมดในกรณีเกือบทั้งหมด จะยังมองเห็นเป็นบางส่วน โดยหลักก็คือรอบ ๆ ส่วนกลางอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ก่ออาการรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือการบาดเจ็บอย่างรุนแรง ต้อหินที่ไม่รักษาเป็นต้น แต่คนไข้จุดภาพชัดเสื่อมน้อยคนจะเสียการเห็นทั้งหมด[10]

พื้นที่ของจุดภาพชัดจะเป็นส่วนเพียงแค่ 2.1% ของจอตา และที่เหลือ 97.9% (คือลานส่วนรอบ) จะไม่มีผลเนื่องจากโรคถึงกระนั้น แม้จุดภาพชัดจะเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ ของลานสายตา แต่เปลือกสมองส่วนการเห็นเกือบครึ่งก็อุทิศให้เพื่อประมวลข้อมูลที่มาจากจุดภาพชัด[11]ซึ่งแสดงความสำคัญของจอตาส่วนนี้

การเสียการเห็นตรงกลางสายตาจะมีผลอย่างลึกซึ้งต่อกิจกรรมชีวิตที่ใช้ตาเช่น การอ่านหนังสือโดยไม่เห็นตรงกลางจะยากมากดังนั้น รูปที่แสดงการเสียการเห็นตรงกลางเนื่องจากจุดภาพชัดเสื่อมด้วยจุดดำจุดหนึ่ง ความจริงไม่สามารถแสดงความเสียหายอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นซึ่งสามารถเข้าใจได้โดยเขียนอักษรสูงหกนิ้วบนกระดาษ แล้วพยายามระบุตัวอักษรโดยมองตรงไปข้างหน้าแต่ถือกระดาษเยื้องไปทางข้าง ๆ ซึ่งคนโดยมากบอกว่ายาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม http://www.diseasesdatabase.com/ddb11948.htm http://www.emedicine.com/article/topic1223154.htm http://www.hindawi.com/journals/jop/aip/465169/ http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=362.... http://www.medcompare.com/spotlight.asp?spotlighti... http://www.medpagetoday.com/Ophthalmology/GeneralO... http://www.pall.com/main/fuels-and-chemicals/green... http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/PressAnnoun... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10783137 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11097601