โรคตื่นตระหนก
โรคตื่นตระหนก

โรคตื่นตระหนก

โรคตื่นตระหนก (อังกฤษ: panic disorder) เป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะเกิดอาการตื่นตระหนกกระทันหัน (panic attack) เป็นซ้ำ ทำให้เกิดช่วงวิตกกังวลสุดขีดเข้มข้นเป็นชุดระหว่างอาการตื่นตระหนกกะทันหัน อาจรวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างสำคัญกินเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนและความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความนัยหรือความกังวลว่าจะมีอาการครั้งต่อ ๆ ไปโรคตื่นตระหนกมิใช่อย่างเดียวกับโรคกลัวที่โล่ง (agoraphobia) แม้ผู้ป่วยโรคตื่นตระหนกจำนวนมากยังเป็นโรคกลัวที่โล่งด้วย อาการตื่นตระหนกกระทันหันไม่สามารถทำนายได้ ฉะนั้นบุคคลจึงอาจเครียด วิตกกังวลหรือกังวลสงสัยว่าจะเกิดอาการครั้งถัดไปเมื่อไร โรคตื่นตระหนกอาจแยกได้เป็นภาวะทางการแพทย์ หรือภาวะเสียดุลเคมี DSM-IV-TR อธิบายโรคตื่นตระหนกและความวิตกกังวลไว้แยกกัน ขณะที่ความวิตกกังวลจะมีสิ่งกระตุ้นความเครียด (stressor) เรื้อรังนำมา ซึ่งสร้างปฏิกิริยาปานกลางซึ่งกินเวลาได้หลายวัน สัปดาห์หรือเดือน แต่อาการตื่นตระหนกเป็นเหตุการณ์เฉียบพลันซึ่งเกิดจากสาเหตุกระทันหันและไม่ได้คาดหมาย ระยะเวลาสั้นและอาการรุนแรงกว่ามาก อาการตื่นตระหนกกระทันหันเกิดในเด็กได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ อาการตื่นตระหนกในเยาวชนอาจเป็นทุกข์เป็นพิเศษ เพราะเด็กมีแนวโน้มเข้าใจน้อยกว่าว่าเกิดอะไรขึ้น และบิดามารดายังมีแนวโน้มประสบความทุกข์เมื่อเกิดอาการ

โรคตื่นตระหนก

อาการ รู้สึกกลัว, ใจสั่น, เหงื่อแตก, สั่น, หอบ, อาการชาชั่วครู่[1][2]
สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์, จิตวิทยาคลินิก
ความชุก 2.5% ต่อคน[4]
สาเหตุ ไม่ทราบ[3]
วิธีวินิจฉัย ขึ้นอยู่กับอาการ[2][3]
ยา ยาแก้ซึมเศร้า, เบ็นโซไดอาเซพีน, เบตาบล็อกเกอร์[1][3]
ปัจจัยเสี่ยง ประวัติควอบครัว, การสูบบุหรี่, ความเครียด (จิตวิทยา), มีประวัติการกระทำทารุณต่อเด็ก[2]
การรักษา จิตบำบัด, ยา[3]
การตั้งต้น ทันทีและกำเริบ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคหัวใจ, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน, การใช้ยา[2][3]

ใกล้เคียง

โรคตื่นตระหนก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคมือ เท้า และปาก โรคหืด โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส โรคติดเชื้อลิชมาเนีย โรคติดเชื้อ โรคตับแข็ง โรคติดเชื้อบรูเซลลา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคตื่นตระหนก http://www.diseasesdatabase.com/ddb30913.htm http://www.emedicine.com/article/topic287913.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=300.... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=300.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27349358 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... //doi.org/10.1016%2FS0140-6736(16)30381-6 https://www.nimh.nih.gov/health/publications/panic... https://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-dis... https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field...