โลมาหัวบาตรหลังเรียบ
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ

โลมาหัวบาตรหลังเรียบ

โลมาหัวบาตรหลังเรียบ หรือ โลมาหัวบาตรไร้ครีบหลัง (อังกฤษ: Finless porpoise, อักษรจีน: 江猪, พินอิน: Jiāng zhū-หมูแม่น้ำ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Neophocaena phocaenoides) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใน อันดับฐานวาฬและโลมา (Cetacea) ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์พอร์พอยส์ (Phocoenidae)จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Neophocaena แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[2] เป็นสัตว์ที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันแล้วประมาณ 20 ล้านปีมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Orcaella brevirostris) คือ มีส่วนหัวกลมหลิมเหมือนบาตรพระไม่มีจะงอยปาก แต่ส่วนหลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลม และลักษณะฟันในปากจะเป็นตุ่ม ไม่แหลมคม อันเป็นลักษณะเฉพาะของโลมาในวงศ์พอร์พอย์ ซึ่งทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิด ในประเทศไทยพบเพียงชนิดนี้ชนิดเดียว [3]มีขนาดโตเต็มที่ยาว 1.9 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 70–80 เซนติเมตรในน่านน้ำไทยสามารถได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล โดยพบมากที่สุดในฝั่งอ่าวไทย คือ ทะเลแถบจังหวัดตราด[4] และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เหมือนกับวาฬและโลมาชนิดอื่น ๆ [5]ในประเทศจีน โลมาหัวบาตรหลังเรียบ เป็นโลมาเพียง 1 ใน 2 ชนิด นอกจากโลมาแม่น้ำแยงซีเกียง (Lipotes vexillifer) หรือไป๋จี๋ ที่สามารถพบได้ในแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีชื่อเล่นจากชาวจีนว่า "หมูแม่น้ำ" หรือ"แพนด้าแม่น้ำ" เป็นสัตว์ที่อยู่ในฐานะหวั่นวิตกว่าจะสูญพันธุ์ เนื่องจากมลภาวะสภาพแวดล้อม จากการประเมินพบว่าปัจจุบันหลงเหลือเพียงพันกว่าตัวเท่านั้น ซึ่งทุกปีจะมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 5–10 ต่อปี[6]