การคมนาคม ของ โอซีเยก

ทางหลวงสาย E73/A5 ซึ่งเป็นเส้นทางถนนสายหลักเชื่อมการเดินทางจากโอซีเยกไปยังเมืองหลักเมืองอื่นในโครเอเชียและฮังการี (เส้นสีเขียว)

โอซีเยกอยู่ห่างจากเมืองหลวงของโครเอเชียคือซาเกร็บราวๆ 280 กิโลเมตร แม้ว่าจะไม่ได้อยู่บนทางหลวงสายหลัก E70 ซึ่งเชื่อมต่อซาเกร็บกับเบลเกรด อดีตเมืองหลวงของยูโกสลาเวีย แต่ไม่ห่างจากตัวเมืองโอซีเยกมากนักทางทิศตะวันตกนั้น มีทางหลวงสาย แพน-ยูโรเปี้ยนคอร์ริดอร์ European route E73 / A5 ซึ่งเชื่อมจากบูดาเปสต์ผ่านชายแดนฮังการีและโครเอเชียในแนวเหนือ-ใต้ โดยทางหลวงสาย E73 จะไปตัดกับทางหลวง E70 ซึ่งทอดตัวแนวตะวันตก-ตะวันออก ที่เมือง เวลิก้า โคปานิทซ่า ในแขวงโบรด-โปซาวิน่าซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของแขวงโอซีเยก-บารานยา ส่วนการเดินทางด้วยรถโดยสาร โอซีเยกมีเส้นทางของรถโดยสารจากซาเกร็บ หรือแม้กระทั่งรถโดยสารจากประเทศอื่นเช่น เซอร์เบีย

สถานีรถไฟของโอซีเยก

นอกจากการเดินทางทางถนนแล้ว โอซีเยกยังมีเครือข่ายทางรถไฟต่อเชื่อมกับสายรถไฟเส้นหลักไปยังเมืองอื่นๆของโครเอเชียรวมถึงสามารถเดินทางต่อยังไปฮังการีได้ด้วย โดยสถานีรถไฟของโอซีเยกอยู่ไม่ห่างจากใจกลางเมืองและมีสถานีรถโดยสารหลักของเมืองอยู่เยื้องใกล้ๆกัน

ขณะเดียวกันนั้น การเดินทางไปยังโอซีเยกสามารถใช้บริการจากสนามบินโอซีเยก[17] (อังกฤษ: Osijek Airport; โครเอเชีย: Zračna luka Osijek) ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 20 กิโลเมตรในอาณาเขตรอยต่อระหว่างแขวงโอซีเยก-บารานยา กับ แขวงวูคอวาร์-ซีร์เมีย โดยใกล้ๆสนามบินมีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมเมืองโอซีเยกกับเมืองวูคอวาร์ตัดผ่าน ปัจจุบันนี้ มีสายการบินเพียงสองสายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินไปยังเมืองโอซีเยก คือ Ryanair บินจากสนามบิน London Stansted Airport[18][19] และสายการบินภายในประเทศโครเอเชีย Trade Air บินจากสนามบินซาเกร็บ[20][21]

แผนที่เส้นทางรถรางทั้งสองสาย

การคมนาคมภายในเมือง

จุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของโอซีเยกคือเป็นเพียงเมืองเดียวในโครเอเชียที่ยังมีระบบเดินรถรางภายในเมืองนอกเหนือจากกรุงซาเกร็บ โดยประวัติระบบรถรางของโอซีเยกนั้นเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1884 ในชั้นแรกเป็นรถรางม้าลากใช้ขนส่งผู้คนจากสถานีรถไฟของโอซีเยกมายังจตุรัสกลางเมืองและเป็นระบบเดินรถรางแห่งแรกของโครเอเชีย[22] ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรถรางขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าในปี ค.ศ. 1926 ทุกวันนี้ระบบเดินรถรางของโอซีเยกประกอบไปด้วยเส้นทางรถรางสองสาย

  • สาย 2 วิ่งจากจตุรัสอันเต สตาร์เซวิช ไปตามถนนซูพานีสกา จาคอฟซตินา ก่อนเลี้ยวไปทางทิศตะวันออกผ่านสนามกีฬาประจำเมือง กราดสกี้ เวิร์ท วิ่งไปตามย่านที่อยู่อาศัยก่อนไปกลับรถที่จุดวงเวียนแล้ววิ่งกลับย้อนมาตามเส้นทางเดิมจนถึงจาคอฟซตินาอีกครั้ง รถรางขาขึ้นจะเลี้ยวขวาเข้าไปผ่านสถานีรถโดยสารและสถานีรถไฟก่อนมุ่งกลับไปที่ถนนยูโรเปียน อเวนิวในเส้นทางเดียวกับรถรางสาย 1 เป็นระยะทางสั้นๆก่อนกลับมาตั้งต้นที่จตุรัสอันเต สตาร์เซวิชอีกครั้ง
รถรางในโอซีเยก

เส้นทางรถรางสาย 1 นั้น จะเป็นสองรางคู่ขนานกันบนคนละฝั่งของถนน ทว่าเส้นทางรถรางสาย 2 ตั้งแต่กัทซกาเป็นต้นไป จะมีเพียงรางเดียว เมื่อรถรางจะวิ่งสวนกันก็ต้องมีคันหนึ่งหลบเข้ารางเสริมซึ่งมีเป็นระยะตามสถานีเพื่อหยุดรอให้คันที่สวนมาบนรางเดียวกันนั้นวิ่งผ่านไปก่อนจึงค่อยกลับมาวิ่งบนรางหลัก[23]

ในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ 2014 ได้มีการเปิดใช้เส้นทางขยายเพิ่มเติมของรถรางสาย 1 โดยเป็นเส้นทางใหม่วิ่งไปทางตะวันตกของย่านวิชเนวัทส์ซึ่งเดิมเป็นสถานีปลายทางของรถรางสาย1 โดยมีการเปิดจุดจอดรถรางเพิ่มขึ้นอีก 5 จุด[24]

นอกจากรถรางแล้ว ระบบขนส่งมวลชนของโอซีเยกส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางรถโดยสารในย่านที่รถรางวิ่งไปไม่ถึงหรือสำหรับเดินทางไปยังชุมชนอื่นภายนอก

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอซีเยก http://www.balkaninsight.com/en/article/croatian-a... http://www.balkaninsight.com/en/article/turkish-tv... http://exyuaviation.blogspot.com/2013/09/trade-air... http://exyuaviation.blogspot.com/2013/11/ryanair-l... http://www.croatiantimes.com/?id=10015 http://www.croatiaweek.com/croatias-greenest-city-... http://www.croatiaweek.com/first-croatian-tram-130... http://www.croatiaweek.com/first-ever-gay-pride-pa... http://www.croatiaweek.com/osijek-zagreb-flight-re... http://www.croatiaweek.com/ryanair-adds-london-osi...