ไซโฟซูรา
ไซโฟซูรา

ไซโฟซูรา

ไซโฟซูรา เป็นอันดับของสัตว์ทะเลขาปล้องในชั้นเมอโรสโทมาทา (Merostomata) ที่นอกเหนือไปจากแมงป่องทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphosuraลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายจานหรือถ้วยคว่ำ หรือครึ่งวงกลมแบบเกือกม้า ด้านบนมีตาข้าง 1 คู่เป็นตาประกอบ มีแอมมาทิเดียหลายร้อยหน่วยที่ไม่สามารถรับภาพได้ แต่สามารถจับการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ได้ มีตากลาง ขนาดเล็กหลายอันทำหน้าที่รับแสง มีส่วนหางยาวเป็นแท่งใช้สำหรับจิ้มกับพื้นทรายให้พลิกตัวกลับมา เมื่อยามหงายท้องขึ้น เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน แต่สูญพันธุ์ไปเกือบหมด คงเหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในโลก คือ แมงดาทะเล จึงจัดเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง พบในทะเลและน้ำกร่อยของบริเวณภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น สำหรับชนิดที่พบในไทยจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือ แมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) เป็นแมงดาขนาดใหญ่ หางเป็นสันแหลม รูปหน้าตัดของหางเป็นสามเหลี่ยม คาราแพดค่อนข้างเรียบและแทบจะไม่พบขนแข็ง ๆ บนคาราแพด สามารถกินได้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แมงดาถ้วย หรือ แมงดาหางกลม หรือ เหรา (Carcinoscorpius rotundicauda) มีขนาดเล็กกว่าแมงดาหางเหลี่ยม หางโค้งมน รูปหน้าตัดของหางจะค่อนข้างกลม คาราแพดมีขนแข็งจำนวนมากและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม มีรายงานอยู่เสมอว่าผู้ที่กินไข่ของแมงดาชนิดนี้มักเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากว่าแมงดาชนิดนี้ในบางฤดูกาลจะกินสาหร่ายและแพลงค์ตอนที่สร้างสารพิษได้ จึงมีพิษสะสมอยู่ในตัวแมงดาทะเล พิษที่ว่าจะมีผลต่อระบบประสาทต่อผู้ที่กินเข้าไปแมงดาทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนพื้นหาดทรายชายทะเลพร้อม ๆ กัน โดยตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 200–3,300 ฟอง โดยมีตัวผู้เกาะเกี่ยวอยู่ที่หลัง โดยใช้ปล้องสุดท้ายของเพลดิพาลติเกาะกับโพรโซมาของตัวเมียเอาไว้และคลานตามกันไป โดยอาจมีตัวผู้ตัวอื่นมาเกาะท้ายร่วมด้วยเป็นขบวนยาวก็ได้ ตัวเมียจะขุดหลุมปล่อยไข่ออกมาแล้วตัวผู้ก็จะปล่อยสเปิร์มออกมาผสมกับไข่ หลังจากนั้นก็จะกลบไข่โดยไม่มีการดูแลไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่าไตรโลไบต์ ลาวา ลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีหางสั้นมาก [2]แมงดาทะเลในยุคปัจจุบันมีความยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร (24 นิ้ว) iแต่ในยุคเพลลีโอโซอิก จะมีขนาดเล็กกว่านี้ โดยมีความยาวเพียง 1–3 เซนติเมตร (0.39–1.2 นิ้ว) เท่านั้น[3]