ไดโจไดจิง
ไดโจไดจิง

ไดโจไดจิง

ไดโจไดจิง หรือ ดาโจไดจิง (ญี่ปุ่น: 太政大臣 Daijō-daijin/Dajō-daijin;[1] "อัครมหาเสนาบดี") เป็นตำแหน่งราชการในญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะเสนาบดีซึ่งเรียก "ไดโจกัง" ปรากฏในยุคนาระและยุคหลังจากนั้น แล้วสิ้นอำนาจไปช่วงหนึ่ง ก่อนจะรื้อฟื้นขึ้นมาในช่วงสั้น ๆ ตามรัฐธรรมนูญเมจิ แล้วยุบเลิกไปโดยสถาปนาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นมาแทนเจ้าชายโอโตโมะ (ค.ศ. 648–672) โอรสองค์โปรดของจักรพรรดิเท็นจิ (ค.ศ. 626–672) เป็นบุคคลแรกที่ได้รับตำแหน่งไดโจไดจิง โดยดำรงตำแหน่งนี้ในช่วงที่จักรพรรดิเท็นจิครองราชย์ (ค.ศ. 661–672)[2] ตำแหน่งนี้ปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประมวลกฎหมายอาซูกะคิโยมิฮาระ ฉบับ ค.ศ. 689 ซึ่งให้มีหน่วยงานกลางที่เรียก "ไดโจกัง" ประกอบด้วยเสนาบดีสามคน คือ ไดโจไดจิง (อัครมหาเสนาบดี), ซาไดจิง (มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย), และอูไดจิง (มหาเสนาบดีฝ่ายขวา) ต่อมา ตำแหน่งเหล่านี้นำไปรวมอยู่ในประมวลกฎหมายไทโฮ ฉบับ ค.ศ. 702[3]ไดโจไดจิงเป็นประธานไดโจกัง และมีอำนาจควบคุมดูแลข้าราชการทั้งปวง ครั้นตระกูลฟูจิวาระได้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ อำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในระบบไดโจกังก็ถดถอยลงตามลำดับ ปรากฏว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไดโจไดจิงไม่มีอำนาจจะออกความเห็นในที่ประชุมราชการอีกแล้ว เว้นแต่ไดโจไดจิงกับผู้สำเร็จราชการเป็นบุคคลเดียวกัน หรือเว้นแต่เพื่อสนับสนุนตระกูลฟูจิวาระ จนคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตำแหน่งนี้ก็สิ้นอำนาจโดยสิ้นเชิง และมักปล่อยให้ว่างไว้นาน ๆ[4]รัฐธรรมนูญเมจิรื้อฟื้นตำแหน่งนี้ขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดการแต่งตั้งซันโจ ซาเนโตมิ เป็นไดโจไดจิงเมื่อ ค.ศ. 1871 แต่ใน ค.ศ. 1885 ก็ยุบเลิกตำแหน่งไดโจไดจิงไปใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

ไดโจไดจิง

มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย ซาไดจิง
กรมกลาโหม เฮียวบุโช
กรมอาลักษณ์ จิบุโช
กรมมหาดไทย มิมบุโช
อำมาตย์กลาง ชูนะงง
อำมาตย์ใหญ่ ไดนะงง
กรมยุติธรรม เกียวบุโช
อัครมหาเสนาบดี  / ประธานสภา ไดโจไดจิง
มหาเสนาบดีกลาง ไนไดจิง
กรมคลัง โอคุระโช
มหาเสนาบดีฝ่ายขวา อูไดจิง
กรมพิธีการ ชิคิบุโช
กรมวัง คุไนโช
อำมาตย์น้อย โชนะงง
กรมบริหารกลาง นะกะสึกะซะโช