วัฒนธรรม ของ ไถหนาน

การลอดซุ้มในพิธีฉลองอายุสิบหกปีเกี๊ยวกุ้งเนื้อทอดกรอบราดน้ำจิ้มเปรี้ยวหวานขนมหีบศพวัดเวฬุธาร

ไถหนานถือเป็นเมืองหลวงด้านวัฒนธรรมของไต้หวัน เพราะเป็นแหล่งโบราณสถาน ศาสนสถาน และภูมิปัญญาซึ่งเก่าแก่ที่สุดบนเกาะไต้หวัน นอกจากนี้ ไถหนานยังรักษาของกินอันเป็นเอกลักษณ์เอาไว้มาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ประเพณีชาวบ้าน

พลเมืองไถหนานจำนวนมากผูกพันใกล้ชิดกับวัดและเทพยดาจีน เช่น บิดามารดามักพาบุตรไปไหว้นางฟ้าเจ็ดดาว (七娘媽 Qīniángmā ?) ซึ่งเป็นเทวีพิทักษ์เด็ก และตามประเพณีแล้ว ชาวจีนถือว่า เด็กเป็นผู้ใหญ่เมื่ออายุได้สิบหกปี ชาวไถหนานซึ่งได้รับอิทธิพลจากคตินี้ก็จัดพิธีกรรมใหญ่โตให้แก่บุคคลทั้งหลายที่อายุสิบหกปี พิธีกรรมดังกล่าวมีขึ้นในวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติ เรียกว่า "วันกำเนิดนางฟ้าเจ็ดดาว" (七娘媽的生日 Qīniángmā De Shēngrì ?) อนึ่ง ในอดีต ครอบครัวชาวไถหนานที่บุตรหลานทำงาน ณ ท่าเรือจะอาศัยวันดังกล่าวเรียกให้เริ่มเพิ่มค่าจ้างเด็กเสมอค่าจ้างผู้ใหญ่ด้วย

นักเรียนนักศึกษาเมื่อจะสอบก็มักไปขอพรจากราชาเหวินชัง (文昌帝君 Wénchāng Dìjūn ?) เทพแห่งการเล่าเรียน วัดเหวินชังซึ่งนิยมไปกันนั้นตั้งอยู่ ณ บริเวณซึ่งเดิมเป็นป้อมโปรวินเทีย นักเรียนที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยยังมักพากันไปไหว้เหวินชังในเดือนมิถุนายนอันเป็นเดือนก่อนสอบ และผู้ต้องการโชคด้านความรักหรือชีวิตสมรสมักไหว้อาวุโสใต้จันทร์ (月下老人 Yuèxià Lǎorén ?) ซึ่งเป็นกามเทพจีน ชาวไถหนานยังไหว้เจ้าเข้าวัดด้วยสาเหตุอีกหลายประการ เป็นต้นว่า ไปวิงวอนขอโชคลาภ ไปทำบุญวันเกิด หรือไปทำนายโชคชะตาราศี[14]

ส่วนพิธีมงคลสมรสในไถหนานนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อเพราะขั้นตอนพิถีพิถัน ขบวนแห่อึงมี่ และหน้าที่ของบ่าวสาวในการเตรียมข้าวของสิบสองประการซึ่งสื่อความหมายต่าง ๆ ให้เป็นของหมั้นแก่กัน ผู้คนเชื่อว่า ความสลับซับซ้อนนี้เป็นเครื่องสำแดงความเป็นอารยชาติ[14]

ชาวอำเภออันผิงยังมักติดรูปสิงห์คาบดาบ (劍獅 jiàn shī ?) ไว้หน้าบ้านเพื่อไล่ผี ประเพณีนี้มีที่มาจากสมัยอาณาจักรตงหนิง เมื่อไพร่พลรบทัพจับศึกกลับมา มักนำโล่รูปหัวสิงห์แขวนไว้หน้าประตูบ้าน แล้วสอดดาบไว้ในปากสิงห์ ชาวบ้านทั่วไปเห็นก็จดจำมาทำบ้างด้วยเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัย ส่วนที่นิยมปฏิบัติกันในท้องถิ่นนี้เพราะครั้งนั้นอันผิงเป็นฐานทัพเรือหลัก[15]

อาหารการกิน

อาหารไต้หวันชื่อดังหลายตำรับกำเนิดที่ไถหนาน และเนื่องจากไถหนานเป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำตาลมาแต่โบราณกาล อาหารไถหนานจึงมักมีรสหวานกว่าอาหารในภูมิภาคอื่นของประเทศ ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ

  • เกี๊ยวกุ้งเนื้อ (蝦仁肉丸 Xiārén Ròuwán ?; Shrimp and Meat Dumpling)
    เป็นเกี๊ยวทำจากแป้งเหนียวหนึบ ใส่ไส้กุ้งและเนื้อโคหมักเปรี้ยว นึ่งสุกหรือทอดกรอบ รับประทานกับน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน
  • ขนมหีบศพ (棺材板 Guāncái Bǎn ?; Coffin Bread)
    เป็นขนมรูปสี่เหลี่ยมคล้ายหีบศพ ทำจากแป้งชุบไข่ทอดกรอบ ตรงกลางเจาะเป็นช่องใส่ไส้ เช่น เนื้อโคพริกไทยดำ หรือไก่ผัดผงกะหรี่
  • ข้าวมัน (油飯 Yóu Fàn ?; Oily Rice)
    เป็นข้าวเหนียวผัดกับน้ำมันส้ม น้ำมันงา ซีอิ๊ว หมูฝอย เห็ด และกุ้งแห้ง
  • บะหมี่ปลาไหล (鳝鱼面 Shànyú Miàn ?; Eel Noodles)
    เป็นบะหมี่ผัดกับปลาไหลนาทอดและหอมใหญ่ ปรุงรสเปรี้ยวหวาน
  • บะหมี่หาบ (擔仔麵 Dānzǐ Miàn ?; Tan-tsu Noodles)
    เป็นบะหมี่น้ำ น้ำที่ใช้เป็นน้ำต้มกุ้ง บะหมี่ราดเต้าเจี้ยว น้ำส้มดำ และซีอิ๊ว โรยกระเทียมเจียวและผักชี แล้วใส่กุ้งและไข่พะโล้

อาหารที่โด่งดังในไถหนานหลายรายการทำจากปลานวลจันทร์ทะเล หรือที่ชาวไถหนานเรียก "ปลาราชสกุล" (國姓魚 Guóxìng Yú ?; Koxing's Fish) เพราะเชื่อว่า ชื่อปลานี้อย่างเป็นทางการในภาษาจีน คือ "ชือมู่-ยฺหวี" (虱目魚 Shīmù Yú ?) อันแปลว่า "ปลาตาเล็น" นั้น เจิ้ง เฉิงกง หรือบรรดาศักดิ์ว่า "เจ้าราชสกุล" (國姓爺 Guóxìngye ?; Koxinga) ตั้งให้[14]

อนึ่ง ภัตตาคารร้านรวงจำนวนมากในไถหนานยังมีความเป็นมาย้อนไปถึงสมัยที่ไถหนานเป็นเมืองขึ้นราชวงศ์ชิงและเมืองขึ้นญี่ปุ่นด้วย[14]

วัดวาอาราม

ไถหนานขึ้นชื่อเรื่องมีวัดมาก และบางแห่งเป็นชนิดซึ่งไม่ปรากฏที่ใดในเกาะไต้หวันอีก ศาสนสถานเลื่องชื่อนั้นเรียกรวมกันว่า "เจ็ดวัดแปดอาราม" (七寺八廟 qī sì bā miào ?; seven temples and eight shrines)[4] วัดเจ็ดแห่งนั้นเป็นพุทธสถาน ส่วนอารามแปดแห่งเป็นศาสนสถานเต๋า

วัดทั้งเจ็ด

ที่ชื่อความหมายปี/สมัย
ที่สร้าง
ไทยจีนพินอิน
1ไค-ยฺเหวียนซื่อ開元寺Kāiyuán Sìวัดไค-ยฺเหวียน1690
2จู๋ซีซื่อ竹溪寺Zhúxī Sìวัดเวฬุธารอาณาจักรตงหนิง
3ฉงชิ่งซื่อ重慶寺Chóngqìng Sìวัดสหมงคลราชวงศ์ชิง
4ฝ่า-หฺวาซื่อ法華寺Fǎhuá Sìวัดสัทธรรมปุณฑริกอาณาจักรตงหนิง
5หมีถัวซื่อ弥陀寺Mítuó Sìวัดอมิตาภอาณาจักรตงหนิง
6หลงชันซื่อ龍山寺Lóngshān Sìวัดมังกรคีรีราชวงศ์ชิง
7หฺวังปั้วซื่อ黃檗寺Huángbò Sìวัดหฺวังปั้วราชวงศ์ชิง

อารามทั้งแปด

ที่ชื่อความหมายเทวดาประจำปี/สมัย
ที่สร้าง
ไทยจีนพินอินไทยจีนพินอิน
1ฉุ่ยเซียนกง水仙宮Shuǐxiān Gōngเก๋งเทพวารีเทพวารี水仙Shuǐxiānราชวงศ์ชิง
2ซื่อเตี่ยนอู่เมี่ยว祀典武廟Sìdiǎn Wǔmiàoวิหารเทพสงครามกวัน ยฺหวี่關羽Guān Yǔ1665
3ตง-ยฺเว่เตี้ยน東嶽殿Dōngyuè Diànตำหนักผาบูรพามัจจุราช閻羅王Yánluówáng1673
4ต้าเทียนโฮ่วกง大天后宮Dàtiānhòu Gōngเก๋งเจ้าแม่สวรรค์เจ้าแม่ทับทิม媽祖Māzǔอาณาจักรตงหนิง
5ฝู่เฉิงหฺวังเมี่ยว府城隍廟Fǔchénghuáng Miàoอารามเสื้อเมืองเสื้อเมืองไถหนาน府城隍Fǔchénghuáng1669
6เฟิงเฉินเมี่ยว風神廟Fēngshén Miàoอารามเทพวายุเทพวายุ風神Fēngshén1739
7เย่าหวังเมี่ยว藥王廟Yàowáng Miàoอารามเทพโอสถมหาเทพหวง黃大仙Huáng Dàxiān1685
8หลงหวังเมี่ยว龍王廟Lóngwáng Miàoอารามนาคราชนาคราชทะเลตะวันออก東海龍王Dōnghǎi Lóngwáng1716

พิพิธภัณฑ์และอุทยาน

ไถหนานมีพิพิธภัณฑ์และอุทยานมากมายเพราะยังดำรงรักษาวัฒนธรรมหลายแขนงไว้เป็นอย่างดี ในบรรดาสถานที่เหล่านี้ ที่โด่งดังได้แก่

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไถหนาน http://web.archive.org/web/20080501181411/http://c... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.uni-lions.com.tw/traffic-park.asp http://www.ncku.edu.tw/ver2006/en/ncku/history.htm http://confucius.cca.gov.tw/english/navigator/map0... http://foreigner.tainan.gov.tw/en/ http://tour.tainan.gov.tw/ http://www.tainan.gov.tw/tainan/default.asp http://www.tainan.gov.tw/tainan/defaulte.asp http://www.tnc.gov.tw/book/fron/index.html