ภาษาและวัฒนธรรม ของ ไทยเชื้อสายจีน

กลุ่มภาษาไทย และกลุ่มภาษาจีนนั้นมีหลักภาษาที่ใกล้กันโดยกลุ่มภาษาไทยจะวางคำวิเศษณ์ไว้ข้างหลังและวางกริยาวิเศษณ์ไว้ข้างหลังกรรมในขณะที่กลุ่มภาษาจีนจะวางไว้ด้านหน้าทั้งคำนามและกริยา จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วกว่าภาษาอื่นๆ ภาษาไทยก็มีคำภาษาหมิ่นใต้จำนวนมาก ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาหมิ่นใต้ในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาหมิ่นใต้กับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาเหล่านี้กับลูกหลาน อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะหลายประการที่ภาษาไทยถิ่นกรุงเทพแท้เทียบกับภาษาไทยถิ่นสุพรรณบุรีแล้วมีหลักภาษาไม่ตรงกันเช่นหลายครั้งวางกริยาวิเศษณ์ใว้หน้ากริยาหรือรูปขยายความก็วางใว้หน้าบทประธานและบทกรรมซึ่งเป็นการลอกลักษณะทางภาษามาจากภาษาหมิ่นใต้โดยเฉพาะบางสำนวนคือนำคำในภาษาหมิ่นใต้มาเป็นคำไทยอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเรื่องสำเนียงก็เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาไทยถิ่นกรุงเทพจะต่างจากภาษาไทยสำเนียงอื่นชัดเจนรวมถึงการผันวรรณยุกต์เพราะเมื่อเทียบกับภาษาหนังสือแล้วจะไม่ตรงกันเท่าไหร่ ทำให้เกิดความลำบากกับต่างชาติในการเรียนภาษาไทย ปัจจุบันประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติตาม ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

ชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคเหนือเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนกลุ่มเดียวที่ใช้ภาษาจีน พบได้ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพุทธกับคริสต์และมีบางส่วนนับถืออิสลาม

ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนในระดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากไต้หวันมาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นภาษาจีนแบบไต้หวันหรือกว๋อยวี่ (國語) ก็ยังเป็นวงแคบ เพราะภาษาจีนถิ่นนี้ใช้ระบบจู้อินแทนพินอินและใช้อักษรตัวเต็ม ดังนั้นการเรียนภาษาจีนกลางหรือผู่ทงฮว่า (普通话) จึงเป็นที่นิยมกว่า ปัจจุบันประชากรชาวไทยประมาณร้อยละสองรู้ภาษาจีนในระดับกลาง

หนังสือพิมพ์ภาษาจีน

ในปัจจุบันมีหนังสือพิมพ์ภาษาหมิ่นใต้ในประเทศไทยอยู่ 6 ฉบับ ส่วนมากผู้อ่านจะเป็นผู้ที่อพยพมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานคนจีน และ ผู้ที่เรียนภาษาจีนจะอ่าน

โรงเรียนจีน

ในประเทศไทยมีโรงเรียนจีนหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนเผยอิงซึ่งตั้งอยู่ในย่านเยาวราช เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงในจังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6[12] และ โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว จังหวัดภูเก็ต เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกของไทย[13]

ที่มาของสำนวนว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน" ที่หมายถึง เรียบร้อย ราบคาบ นั้น มาจากการบุกตรวจค้นโรงเรียนจีนทั้งหลายว่าเป็นแหล่งซ่องสุมและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในสมัยอดีต[14]

ศาสนาและความเชื่อ

ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นแรกที่เข้ามาในไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน และศาสนาเต๋า ครั้นในเวลาต่อมาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้กลายเป็นหนึ่งในศาสนาบนความเชื่อคนชนเชื้อสายจีนในไทยจากการจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรม โดยมากชาวไทยเชื้อสายจีนจะประกอบพิธีกรรมดั้งเดิมแบบความเชื่อของจีนและเถรวาทไทยไปด้วยกัน[15] งานเทศกาลของจีนที่สำคัญอย่าง ตรุษจีน, วันไหว้พระจันทร์ หรือวันเชงเม้ง ก็ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองอื่น ๆ ที่มีชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ตั้งอยู่[16]

อย่างไรก็ตามชาวไทยเชื้อสายจีนจึงไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าตามประเพณี และเข้าวัดไทยเหมือนชาวไทยทั่วไป ส่วนเรื่องงานศพ ชาวไทยเชื้อสายจีนยึดถือแบบจีนดั้งเดิม เช่น การทำกงเต๊กและฝังศพน้อยลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และนิยมการเผาศพแบบไทยมากขึ้น

ขณะเดียวกันมีชาวจีนฮ่อบางส่วนในภาคเหนือที่นับถือศาสนาอิสลามตามบรรพบุรุษอยู่แล้ว พวกเขามีการรวมกลุ่มที่หนาแน่นกว่าชาวจีนฮ่อที่ไม่ใช่มุสลิม ในจังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดของชาวจีนมากถึงเจ็ดแห่ง[17] หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญของจีนฮ่อคือมัสยิดบ้านฮ่อ นอกจากชาวจีนฮ่อแล้วก็มีชาวจีนกลุ่มอื่นที่นับถือศาสนาอิสลาม อาทิ ชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านกรือเซะในจังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร[18][19] โดยมุสลิมเชื้อสายจีนที่บ้านกรือเซะนั้น บางส่วนนับถือเจ้าแม่ลิ้มกอเนียวด้วย บ้างก็ขอพรบ้างก็บนบาน เมื่อมีงานมงคลก็ต้องมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ด้วยเชื่อว่าหากไม่กระทำเช่นนั้นก็จะเกิดเภทภัย ในวันฮารีรายอก็จะมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ และเมื่อพิธีแห่เจ้าแม่เดือนสาม ชาวมุสลิมเชื้อสายจีนก็จะไปชมขบวนเพื่อระลึกถึงท่าน[20]

วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลในไทยนั้นจะต่างกับชาวจีนโพ้นทะเลในสิงคโปร์และมาเลเซียบางส่วน ซึ่งจะหันไปนับถือศาสนาคริสต์ และพูดภาษาจีนกลาง ชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนกลับไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนักและนิยมวัฒธรรมที่กลมกลืนไปกับคนไทย

ใกล้เคียง

ไทยเชื้อสายจีน ไทยเชื้อสายโปรตุเกส ไทยเชื้อสายมลายู ไทยเชื้อสายเปอร์เซีย ไทยเชื้อสายอินเดีย ไทยเชื้อสายญวน ไทยเชื้อสายจาม ไทยเชื้อสายชวา ไทยเชื้อสายเขมร ไทยเบฟเวอเรจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไทยเชื้อสายจีน http://thaiwebdirectories.meelink.com/company_prof... http://www.phukettoday.com/detail_high_eng.php?idc... http://www.praphansarn.com/new/c_lift/detail.asp?I... http://www.thai-blogs.com/index.php?blog=24&title=... http://www.oknation.net/blog/hidayatool/2008/04/10... //doi.org/10.1007%2Fs11205-019-02065-4 http://www.watpaknam.org/knowledge34--%E0%B9%80%E0... http://www.phuketthaihua.ac.th/index.php?option=co... http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/His/Puangroy_K.p... http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/0456/01%E0...